อัลมันศูเราะฮ์

พิกัด: 31°03′00″N 31°23′00″E / 31.05000°N 31.38333°E / 31.05000; 31.38333
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัลมันศูเราะฮ์

المنصورة
ตามเข็มนาฬิกาจากบน:
ดวงอาทิตยตกที่อัลมันศูเราะฮ์, ศิลปะที่อัลมันศูเราะฮ์, สะพานรางรถไฟเก่า
สมญา: 
เจ้าสาวแห่งแม่น้ำไนล์
สามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์
สามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์
อัลมันศูเราะฮ์ตั้งอยู่ในประเทศอียิปต์
อัลมันศูเราะฮ์
ที่ตั้งในประเทศอียิปต์
พิกัด: 31°2′25″N 31°22′58″E / 31.04028°N 31.38278°E / 31.04028; 31.38278
ประเทศอียิปต์
เขตผู้ว่าการอัดดาคิลียะฮ์
ก่อตั้ง1219
การปกครอง
 • ผู้ว่าAyman AbdelMenem Mohtar Hasnan
พื้นที่
 • ทั้งหมด371 ตร.กม. (143 ตร.ไมล์)
ความสูง12 เมตร (39 ฟุต)
ประชากร
 (2012)
 • ทั้งหมด960,423 คน
 • ความหนาแน่น2,600 คน/ตร.กม. (6,700 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+2 (เวลายุโรปตะวันออก)
รหัสพื้นที่+(20) 50
เว็บไซต์www.dakahliya.gov.eg

อัลมันศูเราะฮ์ (อาหรับ: المنصورة, IPA: [el.mɑnˈsˤuːɾɑ],สำเนียงท้องถิ่น: [el.mænˈsˤuːɾe]) เป็นเมืองในประเทศอียิปต์ที่มีประชากร 960,423 คน[1] และเป็นเมืองหลักของเขตผู้ว่าการอัดดาคิลียะฮ์

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

ในภาษาอาหรับ มันศูเราะฮ์ แปลว่า "ชัยชนะ" ซึ่งมีที่มาจากชัยชนะของชาวอียิปต์ในยุทธการที่อัลมันศูเราะฮ์เหนือพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสในช่วงสงครามครูเสดครั้งที่ 7

ประวัติ[แก้]

อัลกามิลแห่งราชวงศ์อัยยูบิดทรงก่อตั้งเมืองนี้ขั้นใน ค.ศ. 1219 ที่ริมสาขาแม่น้ำไนล์บนหมู่บ้านเก่าอย่าง อัลบิชเฏาะมีร (อาหรับ: البشطمير) และกัฟรุลบะดะมาศ (อาหรับ: كفر البدماص)[2] หลังจากชาวอียิปต์เอาชนะพวกครูเสดในสงครามครูเสดครั้งที่ 7 แล้ว ก็เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น อัลมันศูเราะฮ์ (แปลว่า "ชัยชนะ")

ในสงครามครูเสดครั้งที่ 7 ราชวงศ์กาเปเซียงประสบกับความพ่ายแพ้ โดยมีผู้เสียชีวิตระหว่างสู้รบ 15,000 ถึง 30,000 คน พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสทรงถูกจับกุมในยุทธการที่อัลมันศูเราะฮ์ และถูกคุมขังในบ้านของอิบรอฮีม อิบน์ ลุกมาน เลขานุการสุลต่าน และอยู่ภายใต้การคุ้มครองของขันทีศอเบียะห์ ปัจจุบันบ้านของอิบรอฮีมกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมีของใช้ที่เคยเป็นของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสหลายอย่าง ซึ่งรวมไปถึงโถส้วมส่วนพระองค์ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ด้วย.[3]

การรบทางอากาศที่อัลมันศูเราะฮ์[4][5]ในวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1973 เกิดขึ้นในช่วงสงครามยมคิปปูร์ กองทัพอากาศอิสราเอลโจมตีฐานทัพอากาศอียิปต์ที่สกัดกั้นโดยกองทัพอากาศอียิปต์ ในวันนั้น เครื่องบินขับไล่ไอพ่น 160 ลำ ส่วนใหญ่เป็นของอิสราเอล สู้รบที่อัลมันศูเราะฮ์เป็นเวลา 53 นาที กองทัพอียิปต์อ้างว่า ถึงแม้ว่าเครื่องบินรบอิสราเอลจะมีความเหนือกว่าในด้านตัวเลขและคุณภาพก็ตาม มีเครื่องบินถูกยิงตกลง 17 ลำ (ฝ่ายอิสราเอลบอกว่ามีแค่ 2 ลำ) ขณะที่ส่วนอื่นล่าถอยไป[6][7][8]

ภูมิประเทศ[แก้]

ภูมิอากาศ[แก้]

การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินจัดให้เมืองนี้อยู่ในภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (BWh)

ข้อมูลภูมิอากาศของอัลมันศูเราะฮ์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 19.0
(66.2)
19.8
(67.6)
22.4
(72.3)
26.3
(79.3)
32.1
(89.8)
33.0
(91.4)
32.6
(90.7)
33.3
(91.9)
32.0
(89.6)
28.6
(83.5)
25.0
(77)
20.7
(69.3)
27.07
(80.72)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 12.9
(55.2)
13.5
(56.3)
15.8
(60.4)
19.0
(66.2)
23.6
(74.5)
25.7
(78.3)
26.6
(79.9)
26.8
(80.2)
25.3
(77.5)
22.8
(73)
19.4
(66.9)
14.9
(58.8)
20.53
(68.95)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 6.8
(44.2)
7.3
(45.1)
9.2
(48.6)
11.8
(53.2)
15.2
(59.4)
18.4
(65.1)
20.6
(69.1)
20.4
(68.7)
18.7
(65.7)
17.0
(62.6)
13.9
(57)
9.1
(48.4)
14.03
(57.26)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 13
(0.51)
9
(0.35)
6
(0.24)
3
(0.12)
3
(0.12)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
4
(0.16)
7
(0.28)
11
(0.43)
56
(2.2)
แหล่งที่มา: Climate-Data.org[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. "citypopulation". www.citypopulation.de. สืบค้นเมื่อ 2017-10-03.
  2. Timm, Stefan (2007). Das christlich-koptische Agypten in arabischer Zeit. p. 366.
  3. "Al-Makrisi: Account of the Crusade of St. Louis". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-14. สืบค้นเมื่อ 6 February 2018.
  4. Photos of the battle เก็บถาวร 2014-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. "Mansourah air battle, Near true story". สืบค้นเมื่อ 6 February 2018.
  6. Al-Ahram weekly เก็บถาวร 2009-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. Al-Ahrm weekly เก็บถาวร 2009-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. (ในภาษาฮีบรู) Calcalistเก็บถาวร 2020-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. "Climate: Mansoura - Climate graph, Temperature graph, Climate table". Climate-Data.org. สืบค้นเมื่อ 13 August 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

31°03′00″N 31°23′00″E / 31.05000°N 31.38333°E / 31.05000; 31.38333