อันตอน ลามาซาเรส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อันตอน ลามาซาเรส (สเปน: Antón Lamazares; ค.ศ.1954 – ) เป็นจิตรกรชาวสเปน ในสมัยเดียวกันกับโคเซ่ มาเรีย สิซิเลีย มิเกล บาร์เซโล่ และวิคเตอร์ มิรา พวกเขาเป็นสมาชิกของ "generación de los 80" เขาได้สร้างผลงานบนพื้นผิวของไม้ และกระดาษแข็งเคลือบเงา และอื่นๆ และเขายังได้สร้างภาษากลาง และศิลปะส่วนบุคคล จากการที่เขาเป็นคนสนุกสนาน จึงถูกนำมาถ่ายทอดลักษณะที่แสดงออกทางนามธรรมอย่างตรงไปตรงมา และต่อมาไม่นาน ได้มีการจัดบทสนทนาระหว่างชีวิตส่วนตัว หน่วยความจำจากจิตวิญญาณที่ร้อยกรอง และจากความฝัน ทำให้เกิดผลงานขึ้น ผลงานของเขาได้รับการจัดแสดงทั่วโลก ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันที่สำคัญมากมาย รวมถึง National Museum Reina Sofía, the Galician Centre for Contemporary Art และ the Madrid Museum of Contemporary Art รวมถึงมูลนิธิที่สะสมของส่วนตัวมากมาย

ลามาซาเรสในกรุงเบอร์ลิน 2005

ประวัติ[แก้]

จุดเริ่มต้น : ภาพวาด และบทกวี[แก้]

( กาลิเซีย ค.ศ.1951-1977)

ผลงานบางส่วนจาก Sueño e colorao และ Titania e Brao

ลามาซาเรส เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ.1954 ในหมู่บ้านมาเซร่ ในเมืองละลิน (Pontevedra, Spain) ซึ่งเป็นชนบทที่ได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในความคิดของเขา รวมถึงกระบวนการความคิดสร้างรรค์ จากการที่เขาได้ศึกษามากมายในวิทยาลัย Franciscan seminary of Herbón (ค.ศ.1963-1969) ที่แห่งนี้เขาได้อุทิศตนเองในการศึกษาวรรณคดี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาษาละติน และกรีกคลาสิก ในช่วงอายุ 60 ปี ลามาซาเรส ได้เริ่มเขียนบทกวี และยังได้พัฒนาสัมพันธภาพกับนักเขียนอัลบาโร่ จิตรกรลาเซโร่ และมานูเอล เปสเคียร่า ผู้ซึ่งมีอิทธิพลต่อรูปแบบต่างๆ จากอาชีพที่สร้างสรรค์ของเขา เริ่มเปลี่ยนจากบทกวีสู่จิตรกร เขาเดินทางทั่วยุโป ซึ่งเป็นระยะเวลาอันยาวนาน (ค.ศ.1972) เพื่อศึกษางานส่วนบุคคล รวมถึงจากอาจารย์ที่เขาเคารพ อาทิเช่น แวนโก๊ะ คลี แรมบร็นด์ และมิโร และยังรวมถึงแอนโทนี่ ทาปิเอส มานูเอล มิยาเรส อัลเบิร์ตโต เกียโค เมที และฟรานซีส บาคอน มาเป็นศิลปะสมัยกลาง และศิลปะของโอเซียเนีย

หลังจากสิ้นสุดการเดินทาง เขาได้อาศัยอยู่ในบาร์เซโลนาเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่นี่เขาทำงานเป็นคนก่อสร้าง และเขาใช้เวลาว่างในการศึกษาข้อมูลในพิพิธภัณฑ์ โดยเฉพาะคอลเลคชั่นของศิลปะแบบโรมัน ที่พิพิธภัณฑ์มาเรส (Marés Museum) และพิพิธภัณฑ์แห่งชาติของ คาตาโลเนีย (The National Art Museum of Catalonia) หลังจากนั้นเขาได้ย้ายไปที่มาดริด ซึ่งเขาได้มาติดต่อกับศาสตราจารย์ลาเซโร ผู้ซึ่งเคยเป็นอาจารย์ของเขา หลังจากนั้นเขาได้รู้จักกับกวี คาร์โลส โอโรซ่า ซึ่งมิตรภาพมีความจำเป็นสำหรับเขามาก ในบทนทนาระหว่างภาพวาด และ บทกวี เป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าในทุกงานของเขา ในปี ค.ศ.1973 เมื่อเขามีอายุเพียง 19 ปี ลามาซาเรสได้เริ่มต้นงานแสดงศิลปะ และภาพวาด ซึ่งมีทั้งการจัดแสดงแบบเดี่ยว และเป็นกลุ่ม ในปี ค.ศ.1975 เขาเข้ารับราชการทหารในกองบังคับการทหารเรือใน “El Ferrol” วันที่ 27 กันยายน ในปีเดียวกัน เขาได้ทราบข่าวซึ่งสร้างความตกใจ จากการยึดอำนาจโดยระบอบปกครองของฟรานโก้ หนึ่งในผู้ถูกดำเนินคดีจากเหตุการณ์เดังกล่าว ซึ่งเป็นเพื่อนของเขาคือ ฮัมเบิร์ตโต บาเอนา อายุ 24 ปี เป็นชาวปอนเตเบดร่า จากข่าวที่เกิดขึ้นทำให้ ลามาซาเรส ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า จนทำให้เขาเข้ารับการรักษาในสถาบันจิตเวช และเป็นช่วงเวลาที่เขากำลังสร้างผลงานจากการสะสมบทกวี ในชื่อ Adibal


จากผลงาน Arte Povera ไปสู่ภาพวาด bifacial[แก้]

( มาดริด – นิวยอร์ก, ค.ศ.1978-1989)

Mauro, Gracias vagabundas ในหอศิลป์แห่งชาติของจอร์แดน

ในปี ค.ศ.1978 ลามาซาเรส ได้ย้ายไปที่มาดริด เพื่อที่เขาจะได้ใกล้ชิดกับจิตรกรอลอนโซ่ไฟรเล่ เช่นเดียวกับนักวิจารณ์ศิลปะควนน่า มอร์โด จิตรกรซานติอาโก้ อะมอน และนักประสาทวิทยา อัลเบิร์ตโต้ ปอร์เตร่า พวกเขารวมตัวกันเป็นกลุ่มศิลปินขนาดใหญ่ มีทั้งเหล่านักเขียน นักดนตรี และจิตรกร ทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ พวกเขามักนัดเจอกันที่หมู่บ้านมาตาบอติโคส ซึ่งที่นี่ ลามาซาเรสได้จัดแสดงผลงานกลางแจ้งในปี 1979 ในช่วงปี ค.ศ.1980-1990 ถือว่าเป็นช่วงเวลาของการสร้างสรรค์ผลงานมากมาย และผลงานของเขาได้ถูกเผยแพร่อย่างกว้างขวาง เมื่อเขามีอายุได้ 30 ปี ลามาซาเรส ได้สร้างผลงานการแกะสลักภาพหลายมิติจากศิลปะของสเปน รวมทั้งศิลปะนานาชาติ ผลงานของเขาเป็นเหมือนช่วงเวลาแห่งความสนุกสนาน และเป็นเหมือนความฝัน ซึ่งถูกจัดแสดงไว้ในโหมด “ความอ่อนไหว และความแข็งแรง” ซึ่งผลงานชุดนี้ถูกจัดแสดงขึ้น แกเลอะริ ควนน่า มอร์โด (Juana Mordó’s gallery)[1] ในมาดริด ที่อลิสเบธ แฟรงค์ (Elisabeth Frank) ในเบอร์ลิน และที่ซาลา กาสปาร์ (Sala Gaspar)[2]

ในบาร์เซโลนา และต่อมาไม่นาน เขาย้ายไปที่นิวยอร์ก ซึ่งที่นี่เขาได้ทุนเรียน “ฟูลไบรท์” (Fulbright Scholarship) เป็นเวลา 2 ปี ผลงานของเขายังถูกจัดแสดงในแกเลอะริ บรูโน ฟาเชทติ (Bruno Fachetti Gallery)[3] ซึ่งผลงานงานที่เขาได้พัฒนาการใช้วัสดุบริสุทธิ์อีกครั้ง เขาต้องแบ่งเวลาเป็น 2 ช่วง ทั้งในนิวยอร์ก และซซาลามังกา ในปี ค.ศ.1988 เขาเดินทางผ่านอะนาโตเลีย (Anatolia) เพื่อเยี่ยมชมวัดของ Didyma และเป็นอภินันทนาการไปยัง Hölderlin's Hyperion และอิสตันบูล ณ ที่แห่งนี้ สิ่งที่สร้างความซาบซึ้งใจให้กับเขาเป็นอย่างยิ่งคือ โบสถ์บิซานติน (Byzantine churches) ภาพสะท้อนจากประสบการณ์ของเขา ถูกจัดไว้ในรูปแบบของภาพวาด ซึ่งสามารถพบได้ในงานแสดงที่ แกเลอะริมิเกล มาร์โกส (Galería Miguel Marcos)[4] ในปี ค.ศ. 1990 เขาเริ่มเตรียมผลงานชุดใหม่ เป็นการออกแบบที่มองเห็นได้ทั้ง 2 ด้าน ที่เขารียกว่า bifacials


รูปแบบจิตรกรรม ปฏิมากรรม และรูปแบบขนาดใหญ่[แก้]

( ปารีส – มาดริด ค.ศ.1990-2003)

อันตอน ลามาซาเรส ในสตูดิโอของเขา

ในปี ค.ศ.1990-1991 ลามาซาเรส เดินทางไปยังปารีส ตามคำเชิญของ “the Cité des Arts” และในปี ค.ศ.1991 เขาเปิดสตูดิโอขนาดใหญ่ในมาดริด เขาเริ่มทำงานในชุด Gracias vagabundas (Wandering Graces) และ Desazón de vagabundos (The Anxiety of Vagabonds)[5] ในปี ค.ศ.1993 เขาได้พบกับ ตาปิส (Tapies ) การสัมภาษณ์ของเขาได้ถูกเผยแพร่หลังจากที่ ตาปิส ได้รับรางวัล “สิงโตทองคำ” (Golden Lion) ที่ เวนิส เบียนนาเล่ เขาได้รับเชิญจาก “Galician Centre for Contemporary Art” และเขาพำนักอยู่ที่นี่ เพื่อทำภาพวาด ในหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน ของปี ค.ศ.1996 ในกาลิเซีย เขาสร้างผลงานในชุด Gracias do lugar: Eidos de Rosalía, Eidos de Bama (The place's charm: Rosalía's fields, Bama’s fields)[6] ในเดือนมิถุนายน ถึงเดือนพฤศจิกายนของปี ค.ศ.1997 เขาเริ่มทำงานกลางแจ้งในชื่อ Santa Baia de Matalobos on Bés de Santa Baia ในปี ค.ศ.1998 ในมาดริด เขาได้ผลงานชุด Titania e Brao ซึ่งเป็นอภินันทนาการจากมลฑล Castilia และผลงานต่อมาชื่อ Pol en Adelán[7]

ในช่วงนั้นเขาสร้างผลงานกราฟิกจำนวนมากมาย รวมถึงชุดของแม่พิมพ์ 5 รูปแบบ โดย กุสตาโบ มาร์ติน การ์โซ ลงในหนังสือศิลปิน El Canto de la Cabeza และการพิมพ์หินโดย อิเกเรีย งานที่ถูกเสนอชื่อในหนังสือประจำปีเป็นของ Le Monde Diplomatique ในปี ค.ศ.2001 เขาได้ร่วมงานแสดงสินค้า ที่ท่าเรือของ คอรูย่า (The Seaport of A Coruña) ภายใต้งานชื่อ Un saco de pan duro (A Bag of Hard Bread)[8] งานของเขาได้รับเลือกเพื่อการส่งเสริมระหว่างประเทศ ร่วมกับศิลปินชาวสเปนท่านอื่นๆ อาทิ เช่น แอนโทนิโอ้ เซาร่า มาติน ชิริโน ควน เฮอนันเดส ปิควน มิยาเรส ปาโบล่ เซราโน จอร์จ โอเตซา และตาปิส จัดขึ้นโดยกระทรวงต่างประเทศ ภายใต้ชื่อโครงการ “ศิลปะสเปนสู่ชาวโลก” ในช่วงนี้ ลามาซาเรส เดินทางไปยังฟลอเรนซ์ และอัสซิซิ เพื่อตรวจสอบงานศิลปะของ Renaissance art รวมทั้งได้รับการต้อนรับจาก the milieu of Saint Francis ผู้ซึ่งเขาได้อุทิศผลงานชุดใหม่ให้ ในชื่อ Follente Bemil[9]


จากนามธรรมสู่ความเป็นกวี[แก้]

(เบอร์ลิน ตั้งแต่ปี ค.ศ.2004)

นิทรรศการโดย ลามาซาเรส ในนครนิวยอร์ก ค.ศ.2009

ในปี ค.ศ.2004 ลามาซาเรส ย้ายไปยังเบอร์ลิน ซึ่งเป็นเมืองที่เขาเคยอาศัยอยู่ หลังจากที่บิดาของเขาเสียชีวิต เขาได้สร้างผลงานชุด E fai frío no lume ( ไฟแห่งความเย็น) เป็นเรื่องราวการจัดนิทรรศการขนาดใหญ่ในสโลวาเกีย และคริสตจักร คิสเซลลิ ในบุดดาเลส ประเทศฮังการี เขาได้อุทิศตนเองเพื่อสร้างผลงานที่ชื่อ Domus Omnia ต่อมามีการรวบรวมหนังสือสองศิลปินเพิ่มเติมโดย โอโรซา ในชุด Deseo sin trámite และในชุด Un sentimiento ingrávido recorre el ambiente'[10]' ที่เขาให้การสนับสนุนรูปแบบหิน 5 รูปแบบ ในปี

ค.ศ.2008 ผลงานของเขาได้ถูกแสดงในชุด Horizonte sin dueño (Unowned Horizon) ในหอศิลปะแห่งชาติในประเทศจอร์แดน (Ammán) และจากบทกวีนิพนธ์บางส่วน ที่เขาคัดเลือกมาจากหนังสือหลายเล่มของงานกราฟิกใน “สถาบันเซอร์บานเตส ของดามาสคุส” (The Cervantes Institute of Damascus) ประเทศซีเรีย ที่ซึ่งมีการสะสมผลงานของ ทาเออร์ ริยาด ในชุด Cantos de Lamazares รวมถึงผลงานของเขาเอง ในปี ค.ศ.2009 เขาได้จัดแสดงผลงานที่ “สถาบันราชินีโซเฟียของสเปน” รวมทั้งใน “ลอเรนซ์”( สเปน ) ณ ศูนย์วัฒนธรรมของคณะผู้แทน และเขายังเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการ “การเดินทางของกวี วิเซนต์ อเล็กซานเดร” ทำให้เขาได้รับรางวัล “Laxeiro Prize” ซึ่งเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับทั้งตนเอง และประเทศชาติ ในปี ค.ศ.2010 ผลงานของเขาได้ถูกจัดแสดงอีกครั้งในคริสตจักรของมหาวิทยาลัยใน ซานเตียโกเดกอมโปสเตลา, และใน Tui เป็นที่ที่เขาจัดทำสารคดี Horizonte sin dueño[11] ได้รับเลือกในเทศการภาพยนตร์นานาชาติ โดยผู้กำกับภาพยนตร์ สองพี่น้อง นายร่า และคาร์เบียร์ ซานซ์ ซึ่งเป็นเรื่องราวการนำเสนอการเดินทางผ่านจักรวาลของจิตรกรรมบทกวี และธรรมชาติจากมุมมองของ อันตอน ลามาซาเรส

สื่อที่สำคัญ[แก้]


อ้างอิง[แก้]

  1. "Juana Mordó, una vida por el arte español". El País (ภาษาสเปน).
  2. "Antón Lamazares: "Cuando pinto trato de expresarme con cosas mínimas, y tocar el alma"" (pdf). La Vanguardia (ภาษาสเปน).
  3. "Chirino y Lamazares exponen en Nueva York". El País (ภาษาสเปน).
  4. "Fieles a su propia sangre" (pdf). ABC (ภาษาสเปน).
  5. "«Utilizo la pintura a bofetadas»". El País (ภาษาสเปน).
  6. "Lamazares presenta un montaje "poseído por el hábitat" de Galicia". El País (ภาษาสเปน).
  7. "Antón Lamazares: "A mi pintura hay que acercarse a gatas, con mirada de niño"; Territorios de la emoción" (pdf). ABC (ภาษาสเปน).
  8. "Apoteosis del exceso". El País (ภาษาสเปน).
  9. "Canto de la carne". El País (ภาษาสเปน). "La carne no es triste" (pdf). ABC (ภาษาสเปน). "El Kama-sutra de Lamazares". El Cultural (El Mundo) (ภาษาสเปน).
  10. "Carlos Oroza reaparece con un libro ilustrado por Antón Lamazares". El País (ภาษาสเปน). "Un sentimiento ingrávido entre Lamazares y Oroza". Faro de Vigo (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-19. สืบค้นเมื่อ 2010-07-05.
  11. "Un documental sobre el pintor Antón Lamazares levanta el telón de la sexta edición del festival de cine de Tui". La Voz de Galicia (ภาษาสเปน).

บรรณานุกรม[แก้]

  • AMÓN, Santiago, "La pintura de Lamazares y la luz crepuscular", Lamazares 1978-1986, La Coruña, Durán, 1986.
  • CALVO SERRALLER, Francisco, "La musa en cueros", Madrid, Montenegro, 1986; "Casa de la pintura", Domus Omnia, Madrid, Álvaro Alcázar, 2007.
  • CASTRO, Fernando, "Fragmentos de un texto que no pude escribir", Antón Lamazares. Un saco de pan duro, La Coruña, Ayto. de La Coruña, 2001.
  • CASTRO, Luisa, "Alma en lunes o la noche de las estrellas que brillan poco", Antón Lamazares. Alma en lunes, Orense, Museo Municipal, 2002.
  • FUENTES FEO, Javier, "Inventar y divulgar nuevos secretos. En torno a la pintura de Antón Lamazares", Lamazares, Madrid, SEACEX, 2005.
  • GABILONDO, Ángel, "Del verde llover", Antón Lamazares. Gracias do lugar, Santiago de Compostela, CGAC, 1997; "Una conversación entre Ángel Gabilondo y Antón Lamazares" (entrevista), Lamazares, Madrid, SEACEX, 2005.
  • LOGROÑO, Miguel, "Todos los ojos del mundo", Reconocimientos. Colección Miguel Logroño, Santander, Museo de Bellas Artes, 2007.
  • MARTÍN GARZO, Gustavo, "Jonás y la calabacera", Antón Lamazares. Iles Quén, Madrid, La Caja Negra, 2000.
  • MIKUŽ, Jure, "La imagen original bajo las capas del palimpsesto de la conciencia", Lamazares, Madrid, SEACEX, 2005.
  • MOURE, Gloria, "Antón Lamazares", Artforum, Nueva York, mayo de 1987.
  • MURADO, Miguel-Anxo, "Hermana carne", Follente Bemil, Madrid, Metta, 2003.
  • RIVAS, Manuel, "La leyenda de Antón Lamazares", Antón Lamazares, Murcia, Palacio Almudí, 1995.
  • SANDOVAL, Michael, "Antón Lamazares. The Vagabond Shaman", Antón Lamazares, Nueva York, Queen Sofía Spanish Institute, 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]