ข้ามไปเนื้อหา

หอสมุดนักฮัมมาดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หอสมุดนักฮัมมาดี (อังกฤษ: Nag Hammadi Library) เป็นกลุ่มของหนังสือที่ค้นพบที่หมู่บ้านนักฮัมมาดีทางใต้ของกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เมื่อ พ.ศ. 2488 หนังสือที่พบเป็นลายมือเขียนบนหนังสือเย็บเล่มเป็นแผ่น มี 13 เล่ม ส่วนใหญ่เป็นข้อเขียนของลัทธิไญยนิยม ในบรรดาหนังสือที่พบนี้ มีบางส่วนเป็นหนังสือที่เคยมีมาในอดีต แต่สูญหายไปแล้ว เช่น พระวรสารนักบุญฟิลิป และพระวรสารนักบุญโทมัส

การค้นพบ

[แก้]

ผู้ค้นพบเอกสารนักฮัมมาดีเป็นกรรมกรรับจ้างทำไร่ชาวเบดูอิน 7 คน เข้าไปขุดปุ๋ยไนเตรตใกล้กับหน้าผาจามาล อัล-ทารีฟ ขณะที่ขุดพบไหฝังอยู่ใกล้กับหัวกะโหลกคน เมื่อทุบไหแตกเห็นหนังสือจึงนำไปเก็บไว้ ต่อมาได้นำหนังสือไปฝากกับนักบวชนิกายคอปติก ญาติของนักบวชผู้นี้ที่เป็นครูสอนประวัติศาสตร์นำหนังสือนี้ไปขายให้พิพิธภัณฑ์คอปติก ต่อมาพิพิธภัณฑ์ได้ตามซื้อหนังสือชุดนี้มาเก็บไว้จนครบ

เนื้อหา

[แก้]

ส่วนใหญ่เป็นเอกสารเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ที่เชื่อว่าเคยมีแต่สูญหายไปมีทั้งหมด 46 เรื่อง เขียนด้วยภาษาคอปติก คาดว่าน่าจะเริ่มเขียนในราวพุทธศตวรรษที่ 9-10 หนังสือเหล่านี้อาจจะมาจากโบสถ์คริสต์ของนักบุญพาโคมิอัสที่อยู่ห่างจากหน้าผาที่พบ 3 ไมล์ ซึ่งนำมาซ่อนไว้หลังจากมีการประกาศให้หนังสือที่อยู่นอกเหนือการรับรองของพระศาสนจักรเป็นหนังสือนอกรีตเมื่อราว พ.ศ. 900

อ้างอิง

[แก้]
  • บาร์ต ดี เออร์แมน. ความจริงและนิยายในรหสลับดาวินชี แปลโดย รสสุคนธ์ เมืองแมน ขันธ์นะภา และสุนีย์ ส.กริมา. กทม. คบไฟ. 2549 หน้า 38-42

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]