หอดูดาวอูลุฆ เบก
หอดูดาวอูลุฆ เบก (อังกฤษ: Ulugh Beg Observatory) เป็นหอดูดาวในซามาร์กันต์ ประเทศอุซเบกิสถาน สร้างขึ้นในทศวรรษ 1420 โดยนักดาราศาสตร์สมัยตีมูริด อูลุฆ เบก[1] หอดูดาวนี้เป็นที่ทำงานและสำรวจดวงดาวของนักดาราศาสตร์อิสลามมากมาย เช่น Al-Kashi, Ali Qushji และตัวอูลุฆ เบก เอง หอดูดาวสร้างเสร็จในปี 1449 และถูกค้นพบใหม่อีกครั้งในปี 1908
ในจดหมายของ Jamashīd al-Kāshī ที่ส่งให้กับบิดาของอูลุฆ เบก มีการเขียนเล่าถึงการเดินทางไปยังหอดูดาวที่มาราเฆห์ ซึ่งเชื่อกันว่ามีอิทธิพลต่อความสนใจของอูลุฆ เบก[2] ซึ่งเป็นผลให้เกิดการสร้างหอดูดาวนี้ และมีผลต่อการออกแบบเมืองซามาร์กันต์ในเวลาต่อมา[2]
สถาปัตยกรรมของหอดูดาวอูลุฆ เบก แตกต่างจากอาคารแบบเดียวกันที่สค้างในเวลานั้น อูลุฆ เบก ได้ว่างจ้างให้ Qazizada-I Rumi มาช่วยหาสถาปนิกออกแบบหอดูดาวนี้ ที่ซึ่งเขาได้แนะนำ Kashani สถาปนิกและนักคณิตศาสตร์อิสลาม หอดูดาวสร้างขึ้นโดยถอดแบบมาจากหอดูดาวมาราเฆห์ ซึ่งสร้างขึ้นโดยดำริของฮูลากู ฆาน และมี Nasir al-Din al-Tusi เป็นผู้นำในการก่อสร้างหอดูดาว[3] หอดูดาวสร้างขึ้นบนเขาที่สูง 21 เมตรจากพื้น มีลักษณะเป็นอาคารทรงกระบอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 46 เมตร ความสูง 30 ถึง 33 เมตร ตรงกลางของกระบอกนี้มีอุปกรณ์วัดระยะดาว (sextant) อยู่ อาคารสร้างขึ้นจากอิฐ ซึ่งถึงแม้จะหาได้ง่ายแต่ก็ไม่มั่นคง อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยรัศมีของอุปกรณ์วัดระยะดาวนี้ ความสูงของหอดูดาวจะต้องสูงมากจนถึงจุดที่อาจจะล้มลงมาได้ จึงแก้ปัญหานี้โดยการสร้างอุปกรณ์วัดระยะอีกครึ่งหนึ่งอยู่ใต้ดินแทน ช่วยให้หอดูดาวไม่ต้องสูงเกินไปจนอาจล้มได้[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Yazdi, Hamid-Reza Giahi (2015). "Chronology of the Events of the Samarquand "Observatory and School" Based on some Old Persian Texts: a Revision". Suhayl: 145–65.
- ↑ 2.0 2.1 Fazliogglu, İhsan. "The Samarqand Mathematical-Astronomical School: A Basis for Ottoman Philosophy and Science" (PDF).
- ↑ Safiai, Mohd Hafiz; Ibrahim, Ibnor Azli (2016), "Tracing the History of Astrolabe Inventions Across Civilisations", Islamic Perspectives on Science and Technology, Springer Singapore, pp. 373–82, doi:10.1007/978-981-287-778-9_26, ISBN 978-981-287-777-2
- ↑ Taheri, Jafar (2009), "Mathematical Knowledge of Architecture in the Works of Kâshânî", Nexus Network Journal, Birkhäuser Basel, pp. 77–88, doi:10.1007/978-3-7643-8974-1_7, ISBN 978-3-7643-8973-4, S2CID 120471241