หมากรุกสากลสี่คน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมากรุกสากลสี่คน
กระดานหมากรุกสากลสี่คนและการวางหมากเริ่มเกมในแบบที่ได้รับความนิยม
คำที่มีความหมายเหมือนกันหมากรุกสากลสี่มือ
หมากรุกสากลสี่ผู้เล่น
หมากรุกสากลสี่ทาง
ประเภทของเกมเกมกลยุทธ์นามธรรม
สายพันธุ์หมากรุกสากล
จำนวนผู้เล่น4 คน
โอกาสสุ่มไม่มี
ทักษะที่จำเป็นกลยุทธ์, ยุทธวิธี

หมากรุกสากลสี่คน (อังกฤษ: Four-player chess) เป็นหนึ่งในตระกูลสายพันธุ์หมากรุกสากล ที่โดยปกติจะมีผู้เล่นสี่คน กับกระดานพิเศษที่ทำมาจากกระดานขนาดมาตรฐาน 8×8 ช่อง แต่จะมีการเพิ่มช่องอีก 3 แถวของ 8 ช่อง ออกไปในแต่ละด้าน รวมถึงตัวหมากรุกสี่ชุดสำหรับการเดิน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเล่นเกมนี้ หมากรุกสี่คนเล่นตามกติกาพิ้นฐานเดียวกับหมากรุกสากลปกติ ซึ่งมีกติกาหลากหลายรูปแบบ และหลากสายมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีการแบ่งช่องกระดานและจัดเรียงหมากที่มีลักษณะคล้ายกัน

ประวัติ[แก้]

ทฤษฎีค็อกซ์–ฟอร์บส ของต้นกำเนิดหมากรุกสากลอ้างว่าเวอร์ชันผู้เล่นสี่คนเป็นรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดของเกม คำอธิบายของเกมหมากรุกสี่ผู้เล่นจะพบในข้อความที่เขียนของอินเดียประมาณปี ค.ศ. 1500 นอกจากนี้ ฐิติทัตวะแห่งรหุนันทนาได้พรรณาถึงรูปแบบหนึ่ง ซึ่งยังคงที่จะเล่นกันในศตวรรษที่ 20 [1]

ส่วนตัวอย่างเอกสารแรกของหมากรุกสากลสี่ผู้เล่นสมัยใหม่ได้รับการเขียนโดยกัปตันจอร์จ โฮป เวอร์นีย์ ในประเทศอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1881 [2]

ทีม[แก้]

รูปแบบที่พบมากที่สุดเป็นการแข่งแบบสองต่อสองที่เป็นพันธมิตรต่อกันโดยไม่สามารถกินพวกเดียวกันเองได้ หากแต่สามารถช่วยพันธมิตรทั้งในเชิงป้องกันและเชิงรุก ผู้เล่นที่เป็นพันธมิตรต่อกันจะนั่งตรงข้ามกัน และหาทางที่จะรุกฆาตคนที่อยู่ทางซ้ายและขวาของพวกเขา เกมจะจบลงเมื่อขุนทั้งสองของฝ่ายตรงข้ามถูกรุกฆาต แต่ถ้าสามารถทำการรุกฆาตได้เพียงตัวเดียว เกมก็เป็นอันเสมอกัน

เดี่ยว[แก้]

การเล่นแบบเดี่ยวยากกว่าการเล่นแบบทีมเป็นอย่างมาก ในวิธีการนี้ ผู้เล่นแต่ละคนสามารถทำการรุกผู้เล่นสามคนที่เหลือ เมื่อผู้เล่นคนหนึ่งถูกรุกฆาต ผู้เล่นที่ถูกรุกฆาตสามารถนำตัวหมากของเขาออกจากกระดาน หรือผู้เล่นที่ถูกรุกฆาตสามารถใช้ตัวที่เหลืออยู่ในตาเดินของผู้เล่นก็ได้ โดยเกมจะยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่งเหลือผู้เล่นที่รอดอยู่เพียงคนเดียว

อ้างอิง[แก้]

  1. Partlett, David, The Oxford history of board games, Oxford University Press, 1999, p.281.
  2. "4 Player Chess". BoardGameGeek. สืบค้นเมื่อ 29 September 2012.

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]