ข้ามไปเนื้อหา

สุนัขจิ้งจอกกับองุ่นเปรี้ยว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพประกอบของนิทานโดย François Chauveau ในหนังสือเล่มแรกของนิทาน La Fontaine ค.ศ. 1668

สุนัขจิ้งจอกกับองุ่นเปรี้ยว (อังกฤษ: The Fox and the Grapes) เป็นนิทานอีสป[1] เรื่องที่ 15 ตาม Perry Index[2] การบรรยายในต้นฉบับเป็นไปอย่างรวบรัดและเรื่องที่นำไปเล่าต่อกันก็มักเป็นเรื่องสั้นกระชับเช่นกัน เนื้อเรื่องกล่าวถึงสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งที่พยายามจะกินองุ่นจากเถาที่อยู่สูงเกินกว่าจะปีนถึง แทนที่จะยอมรับความพ่ายแพ้ สุนัขกลับกล่าวว่าองุ่นเหล่านั้นไม่เป็นที่พึงปรารถนา สำนวนที่ว่า องุ่นเปรี้ยว (อังกฤษ: sour grapes) จึงมีที่มาจากนิทานเรื่องนี้[3]

นิทาน

[แก้]

นิทานเรื่องสุนัขจิ้งจอกกับองุ่นเปรี้ยวเป็นนิทานที่มีสัตว์เพียงตัวเดียวเป็นตัวเอกของเรื่อง มีฉบับภาษากรีกหลายฉบับและฉบับภาษาละตินเพียงฉบับเดียวโดย Phaedrus (IV.3) ซึ่งสั้นและได้ใจความ

ด้วยความหิวโหย สุนัขจิ้งจอกพยายามจะไปให้ถึงพวกองุ่นที่อยู่บนเถาที่สูงแต่ไม่สามารถไปถึงได้ แม้จะกระโดดไปสุดกำลังแล้ว เมื่อสุนัขจิ้งจอกจากไป มันกล่าวว่า 'เจ้าพวงองุ่นเหล่านี้ยังไม่สุกเสียด้วยซ้ำ ข้าไม่ได้ต้องการองุ่นเปรี้ยวสักหน่อย' ผู้คนที่ดูแคลนสิ่งที่เขาไม่อาจเข้าถึงได้ควรจะนำเรื่องนี้ไปเป็นอุทาหรณ์[4]

ในฉบับของ La Fontaine's Fables นักวิจารณ์มาเรียนน์ มัวร์ [en]ได้เน้นการแดกดันในบรรทัดสุดท้าย "Better, I think, than an embittered whine".[5]

แม้ว่านิทานเรื่องนี้จะบรรยายพฤติการณ์อันเป็นอัตวิสัยทั้งสิ้น แต่สำนวนในภาษาอังกฤษ "องุ่นเปรี้ยว" ซึ่งมีที่มาจากเรื่องมักจะใช้สำหรับการดูถูกในเชิงอิจฉาริษยา สำนวนที่คล้ายกันในภาษาอื่นมีในยุโรปและเอเชีย[6][7] บางโดยบางครั้งกล่าวถึงผลไม้ชนิดอื่น ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 Peter Abelard กล่าวว่าฉบับที่สุนัขจิ้งจอกต้องการผลเชอร์รี่กลายเป็นสำนวน[8] ซึ่งได้รับการบันทึกไว้ในศตวรรษเดียวกันโดยนักประพันธ์ Aimeric de Peguilhan[9] ในฉบับของสแกนดิเนเวียสุนัขจิ้งจอกได้กล่าวถึง rowanberies เนื่องจากองุ่นไม่เป็นผลไม้ที่พบได้ในภูมิอากาศของประเทศทางเหนือของยุโรป[10] ในภาษารัสเซียมีสองสำนวนจากคำแปลต้นฉบับ La Fontaine โดย Ivan Krylov องุ่นเป็นสีเขียว "Green are the grapes" (Зелен виноград) เป็นการตอบสนองต่อการด้อยค่า[11] ส่วนคำแปลก่อนหน้าโดย Krylov ตาอาจมองเห็นแต่ฟันอาจไม่รู้รส "Eye may see but tooth not taste" (Хоть видит око, да зуб неймет) กลายเป็นสำนวน[12]

ความไม่ลงรอยกันทางประชาน

[แก้]

แทนที่จะยอมรับความล้มเหลวว่ากระโดดเอาพวงองุ่นไม่ได้ สุนัขจิ้งจอกกลับให้เหตุผลว่าองุ่นไม่อร่อย ผู้วิจารณ์ท่านหนึ่งจึงยกเรื่องนี้ว่า เป็นตัวอย่างของความไม่ลงรอยกันทางประชาน สุนัขจิ้งจอกพยายามดำรงแนวคิดที่เข้ากันไม่ได้สองเรื่อง คือความต้องการกับความผิดหวัง ไว้ในใจพร้อม ๆ กัน ในตอนท้ายของนิทาน สุนัขจิ้งจอกจึงกล่าวคำดูแคลนที่ด้อยค่าเพื่อลดความไม่ลงรอยดังกล่าว นักปรัชญาที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย จอน เอลส์เตอร์ จึงเรียกพฤติกรรมทางความคิดนี้ว่า "การเกิดความชอบแบบปรับตัวได้" (adaptive preference formation)[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Godwin, William (1824). Fables ancient and modern, adapted for the use of children by Edward Baldwin.
  2. Aesopica
  3. Laura Gibbs (1 January 2009). Aesop's Fables in Latin: Ancient Wit and Wisdom from the Animal Kingdom. Bolchazy1-Carducci Publishers. pp. 115–. ISBN 978-1-61041-027-4.
  4. "Mythfolklore.net". Mythfolklore.net. สืบค้นเมื่อ 2012-08-20.
  5. ข้อความนี้ปรากฏในหน้า 4 ของเอกสารใน cfaitc.org
  6. p. 17, 18. Peter Unseth, Daniel Kliemt, Laurel Morgan, Stephen Nelson, Elaine Marie Scherrer. Wellerism proverbs: Mapping their distribution. [GIALens 2017 Volume 11, No. 3. Web link].
  7. The Concise Dictionary or European Proverbs, London 1998, p.989, proverb 986
  8. Letters of Peter Abelard, Beyond the Personal, trans. Jan M. Ziolkowski, The Catholic University of America Press, 2008, Letter 13, p.179
  9. Anthology of Troubador Lyric Poetry, trans. Alan R. Press, Edinburgh University, 1985, pp.226-7
  10. See the Wiktionary definition of the Swedish proverb and the YouTube animation of its Finnish equivalent: "Quite sour, said the fox of rowan berries". YouTube. สืบค้นเมื่อ 2012-08-20.
  11. Academic.ru
  12. Academic.ru
  13. Elster, Jon (1983). Sour grapes : studies in the subversion of rationality. Cambridge [Cambridgeshire]. p. 123ff. ISBN 978-1-139-17169-4. OCLC 885338149.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]