สึจิโนโกะ
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาญี่ปุ่น (November 2020) คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
ภาพวาดจากชินาโนะคิโชโรกุ | |
กลุ่ม | โยไก |
---|---|
กลุ่มย่อย | สัตว์เลื้อยคลาน |
ชื่ออื่น | บาจิ-เฮบิ (ญี่ปุ่นเหนือ) |
ประเทศ | ประเทศญี่ปุ่น |
ในคติชนญี่ปุ่น สึจิโนโกะ (ญี่ปุ่น: ツチノコ; โรมาจิ: Tsuchinoko; คันจิ: 槌の子; หมายถึง ค้อนของไข่ปลา) เป็นสัตว์ประหลาดตามความเชื่อญี่ปุ่น มีสัณฐานอย่างงู โดยเป็นที่แพร่หลายในญี่ปุ่นตะวันตก รวมถึงคันไซและชิโกกุ ส่วนในญี่ปุ้นตะวันออกเฉียงเหนือรู้จักกันในชื่อ บาจิเฮบิ (ญี่ปุ่น: バチヘビ; โรมาจิ: bachi hebi)
ลักษณะ
[แก้]สึจิโนโกะได้รับการบรรยายว่ามีความยาวระหว่าง 30 และ 80 เซนติเมตร (12 และ 31 นิ้ว) มีรูปร่างยาวคล้ายงู แต่ลำตัวอ้วนป้อมกว่าหัวและหาง และมีเขี้ยวกับพิษคล้ายกับงูพิษ[1] บางรายงานระบุว่าสึจิโนโกะสามารถกระโดดไกลถึง 1 เมตร (3.3 ฟุต)[2][ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง]
ตามตำนานระบุว่า สึจิโนโกะบางตัวสามารถพูดได้และมีแนวโน้มที่จะโกหก นอกจากนี้ยังว่ากันว่าชอบดื่มแอลกอฮอล์ด้วย ตำนานยังบันทึกว่าบางครั้งมันกลืนหางตนเองเพื่อกลิ้งเหมือนล้อ คล้ายกับ "hoop snake" ในตำนานอเมริกัน[3]
การสังเกต
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ความพยายามในการค้นหาและค่าตัว
[แก้]นี่คือรายชื่อเทศบาลและบริษัทที่เสนอรางวัลสำหรับการจับสึจิโนโกะ รวมถึงผู้ยุติการให้รางวัลด้วย
- ชิกูซะ จังหวัดเฮียวโงะ - 2 ล้านเยน (สิ้นสุดหลังผนวกเข้ากับชิโซ)[4][5]
- โยชิอิ จังหวัดโอกายามะ - 20,000,000 เยน[6]
วัฒนธรรมร่วมสมัย
[แก้]สึจิโนโกะถูกอ้างอิงถึงในวัฒนธรรมร่วมสมัยของญี่ปุ่นหลายอย่าง เช่น มีการประกาศให้รางวัลตั้งแต่ 3 ล้าน ถึง 20 ล้านเยนแก่ผู้ที่สามารถจับสึจิโนโกะเป็น ๆ มาได้ หรือใน การ์ตูน เป็นต้น เช่น โดราเอมอน มีอยู่ตอนหนึ่งใช้ชื่อว่า "ค้นพบ สึจิโนโกะ" (หรือตอน "เจองูดิน!" ในเล่มที่ 9 ของเนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์) ในเนื้อเรื่องกล่าวถึง โนบิตะที่ต้องการจะเป็นผู้ที่มีชื่อจารึกไว้ในสารานุกรมบุคคลสำคัญของโลก จึงขึ้นเครื่องไทม์ แมชชีน ไปพร้อมกับโดราเอมอนเพื่อหาซื้อ สึจิโนโกะ ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมในโลกอนาคต มาอวดคนในยุคปัจจุบันว่า ตนเป็นผู้ค้นพบสึจิโนโกะ แต่ปรากฏว่าเมื่อนำกลับมาแล้ว สึจิโนโกะได้หนีหายไป ท้ายที่สุดปรากฏว่า ไจแอนท์เป็นผู้ค้นพบสึจิโนโกะไป[7][8][9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Moriguchi, Kenzo (2001-06-16). "Town touting mythical snake find; is 'rare' creature really a cash cow?". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 2010-05-10.
- ↑ Metropolis, "Fortean Japan", 27 June 2008, p. 12.
- ↑ Pruett, Chris (November 2010). "The Anthropology of Fear: Learning About Japan Through Horror Games" (PDF). Interface on the Internet. 10 (9). สืบค้นเมื่อ July 26, 2018.
- ↑ "世界と日本の「超常現象」 写真特集:時事ドットコム". 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2024-02-20.
- ↑ "かつて賞金2億円の夢に思い馳せ 幻の「ツチノコ」、木材アートのオブジェで登場 道の駅ちくさ". 神戸新聞NEXT (ภาษาJapanese). 2022-04-24. สืบค้นเมื่อ 2024-02-20.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ 岡山県観光連盟. "ツチノコ発見現場、今にも落ちそうな岩…。不思議がいっぱい赤磐市!". 岡山観光WEB (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2024-02-20.
- ↑ Metropolis, "Fortean Japan", 27 มิถุนายน 2008, p. 12.
- ↑ Moriguchi, Kenzo (16 มิถุนายน 2001). "Town touting mythical snake find; is 'rare' creature really a cash cow?". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2022.
- ↑ "สัตว์แปลก > ซูชิโนโกะ". 15 มิถุนายน 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2010.