สาบแร้งสาบกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาบแร้งสาบกา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Asterales
วงศ์: Asteraceae
เผ่า: Eupatorieae
สกุล: Ageratum
สปีชีส์: A.  conyzoides
ชื่อทวินาม
Ageratum conyzoides
L. 1753
ชื่อพ้อง
ชื่อพ้อง
  • Ageratum album Hort.Berol. ex Hornem.
  • Ageratum arsenei B.L.Rob.
  • Ageratum brachystephanum Regel
  • Ageratum ciliare L.
  • Ageratum ciliare Lour.
  • Ageratum coeruleum Desf.
  • Ageratum cordifolium Roxb.
  • Ageratum hirsutum Lam.
  • Ageratum hirsutum Poir.
  • Ageratum humile Larran.
  • Ageratum humile Salisb.
  • Ageratum humile Larrañaga
  • Ageratum iltisii R.M.King & H.Rob.
  • Ageratum latifolium Cav.
  • Ageratum microcarpum (Benth. ex Benth.) Hemsl.
  • Ageratum muticum Griseb.
  • Ageratum obtusifolium Lam.
  • Ageratum odoratum Vilm.
  • Ageratum odoratum Bailly
  • Ageratum suffruticosum Regel
  • Cacalia mentrasto Vell. Conc.
  • Caelestina latifolia (Cav.) Benth. ex Oerst.
  • Caelestina microcarpa Benth. ex Oerst.
  • Caelestina suffruticosa Sweet
  • Carelia brachystephana (Regel) Kuntze
  • Carelia conyzoides (L.) Kuntze
  • Carelia mutica (Griseb.) Kuntze
  • Eupatorium conyzoides (L.) E. H. Krause
  • Eupatorium paleaceum Sessé & Moc.
  • Sparganophorus obtusifolius Lag.

สาบแร้งสาบกา (อังกฤษ: Billygoat-weed, Chick weed, ชื่อวิทยาศาสตร์: Ageratum conyzoides) เป็นพืชในวงศ์ทานตะวัน (Asteraceae) มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลางและแคริบเบียน[1] มักถูกจัดเป็นวัชพืช[2] เป็นไม้ล้มลุกปีเดียว สูง 1-2 ฟุต ทั้งต้นมีขนปกคลุม มีกลิ่นเฉพาะตัว ใบออกเป็นใบเดี่ยวรูปมนรี ปลายแหลม โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย เรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ แต่ส่วนยอดจะเรียงสลับกัน ยาวประมาณ 2-5 นิ้ว ดอกออกเป็นช่อตรงส่วนยอดของต้น ช่อหนึ่งจะมีดอกขนาดเล็กประมาณ 6 มิลลิเมตร มีสีม่วงน้ำเงินหรือขาว ผลเป็นรูปเส้นตรงสีดำ ส่วนบนจะมีขนสั้นอยู่ 5 เส้น[3]

สาบแร้งสาบกาเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลายอย่าง[4] น้ำต้มจากใบดื่มแก้ไข้ ขับระดู[5] รากแก้อาการปวดท้อง ใบตำพอกแผลสด[6] แต่ไม่ควรใช้มากเพราะในสาบแร้งสาบกามีสารแอลคาลอยด์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งตับ[7][8]

ระเบียงภาพ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Ageratum conyzoides: an Alien - Cabi
  2. Factsheet - Ageratum conyzoides (Billygoat Weed) - Keys
  3. E-Herbarium (eherb) - ข้อมูลของ สาบแร้งสาบกา
  4. Tropical Plant Database entry for: Ageratum conyzoides
  5. "สาบแร้งสาบกา - อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ - Faculty of Pharmacy, Mahidol University". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.
  6. 'สาบแร้งสาบกา' กลิ่นฉุน-เป็นยา - คมชัดลึก
  7. Edible Medicinal And Non-Medicinal Plants: Volume 7, Flowers by T. K. Lim
  8. "Pathological changes in liver due to the toxicity of Ageratum conyzoides (babadotan)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-04. สืบค้นเมื่อ 2015-06-09.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]