สวัสดิการ
สวัสดิการ (อังกฤษ: welfare) หรือ สวัสดิการสังคม (social welfare) คือการสนับสนุนจากรัฐบาลประเภทหนึ่งที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความมั่นใจว่าสมาชิกของสังคมจะสามารถได้รับความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เช่น อาหารและที่พักพิง[1] ส่วนคำว่า ประกันสังคม อาจมีความหมายเหมือนกันกับสวัสดิการ หรือหมายถึงโครงการประกันสังคม ที่ให้การสนับสนุนเฉพาะผู้ที่จ่ายเงินมาก่อนแล้วเท่านั้น (เช่น ระบบบำนาญ) ซึ่งตรงข้ามกับโครงการ ช่วยเหลือทางสังคม ที่ให้การสนับสนุนด้านความต้องการพื้นฐานเพียงอย่างเดียว (เช่น สิทธิประโยชน์ด้านทุพพลภาพ)[2][3] องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ให้คำนิยามประกันสังคมว่าครอบคลุมถึง การสนับสนุนผู้สูงวัย การสนับสนุนการดูแลเด็ก การรักษาพยาบาล การลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรและการลาป่วย สวัสดิการ การว่างงานและทุพพลภาพ และการสนับสนุนผู้ประสบอาการบาดเจ็บจากการทำงาน[4][5]
ในความหมายที่กว้างกว่านี้ สวัสดิการยังอาจรวมถึงความพยายามในการจัดให้มีระดับพื้นฐานด้านความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นผ่าน บริการทางสังคม ที่ได้รับเงินสนับสนุน เช่น การดูแลสุขภาพ การศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน การฝึกอาชีพ และการเคหะสาธารณะ[6][7] ในรัฐสวัสดิการ รัฐจะรับผิดชอบด้านสุขภาพ การศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน และสวัสดิการของสังคม โดยจัดให้มีบริการทางสังคมต่าง ๆ[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Social welfare program". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ David S. Weissbrodt; Connie de la Vega (2007). International Human Rights Law: An Introduction. University of Pennsylvania Press. p. 130. ISBN 978-0-8122-4032-0.
- ↑ Walker, Robert (1 November 2004). Social Security And Welfare: Concepts And Comparisons: Concepts and Comparisons. McGraw-Hill Education (UK). p. 4. ISBN 978-0-335-20934-7.
- ↑ "International Labour Standards on Social security". International Labour Organization (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Frans Pennings (1 January 2006). Between Soft and Hard Law: The Impact of International Social Security Standards on National Social Security Law. Kluwer Law International B.V. pp. 32–41. ISBN 978-90-411-2491-3.
- ↑ J. C. Vrooman (2009). Rules of Relief: Institutions of Social Security, and Their Impact (PDF). Netherlands Institute for Social Research, SCP. pp. 111–126.
- ↑ 7.0 7.1 The New Fontana Dictionary of Modern Thought Third Edition (1999), Allan Bullock and Stephen Trombley Eds., p. 919.