สมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของญี่ปุ่น
สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในอาคาร Kyodo Tsushin Kaikan | |
ก่อตั้ง | 1942 |
---|---|
ประเภท | มาตรฐานทางเทคนิค ใบอนุญาต และค่าลิขสิทธิ์ |
สํานักงานใหญ่ | คิตะ อาโอยามะ เขตมินาโตะ โตเกียว |
ที่ตั้ง | |
สมาชิก | 19 สมาชิกหลัก, 15 สมาชิกสมทบ และ 24 สมาชิกสนับสนุน (ทั้งหมด ณ เดือนสิงหาคม 2009) |
บุคลากรหลัก | ฮิโรฮูมิ ชิเกมูระ (ประธานและ CEO) โยอิจิโระ ฮาตะ (กรรมการผู้จัดการอาวุโสและ COO) |
เว็บไซต์ | สมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของญี่ปุ่น |
สมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本レコード協会; โรมาจิ: Nihon Rekōdo Kyōkai; อังกฤษ: Recording Industry Association of Japan หรือ RIAJ) เป็นกลุ่มการค้าอุตสาหกรรมที่ประกอบด้วยบริษัทญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดนตรี ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1942 ในชื่อ Japan Phonogram Record Cultural Association และเริ่มใช้ชื่อปัจจุบันเมื่อปี ค.ศ. 1969
กิจกรรมของ RIAJ ได้แก่ การส่งเสริมการขายเพลง การบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ และการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดนตรีของญี่ปุ่น โดยจัดพิมพ์ RIAJ Year Book ประจำปี ซึ่งเป็นข้อมูลสรุปทางสถิติของยอดขายเพลงในแต่ละปี ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูลอื่น ๆ มากมาย
RIAJ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เขตมินาโตะ โตเกียว มีบริษัทสมาชิก 20 แห่ง และมีสมาชิกสมทบและสมาชิกสนับสนุน บริษัทสมาชิกบางแห่งเป็นสาขาของบริษัทข้ามชาติของญี่ปุ่น ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่อื่น
สมาคมมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับรองอัลบั้มและซิงเกิลระดับโกลด์และแพลตตินัมในญี่ปุ่น
การรับรอง RIAJ
[แก้]ในปี ค.ศ 1989 สมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของญี่ปุ่นเปิดตัวระบบการรับรองผลงานดนตรี โดยจะมอบให้ตามจำนวนการจัดส่งแผ่นซีดีหรือตลับเทปที่รายงานโดยค่ายเพลง โดยเกณฑ์นี้มีผลใช้อย่างจำกัดกับเนื้อหาที่วางจำหน่ายหลังวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1989
รางวัลการรับรอง
[แก้]ปัจจุบันยอดขายเพลงทั้งหมด ทั้งซิงเกิล อัลบั้ม ยอดดาวน์โหลดดิจิทัลซิงเกิล อยู่ในเกณฑ์เดียวกัน การรับรองสูงสุดนั้นต่างจากหลายประเทศที่เรียกว่า "Million"
เกณฑ์ต่อรางวัล | |||||
---|---|---|---|---|---|
โกลด์ | แพลตตินัม | 2× แพลตตินัม | 3× แพลตตินัม | มิลเลียน | มัลติมิลเลียน |
100,000 | 250,000 | 500,000 | 750,000 | 1,000,000 | 2,000,000+ |
- เกณฑ์เก่า (จนถึงมิถุนายน ค.ศ. 2003)
ก่อนการรวมเกณฑ์และการแนะนำหมวดหมู่มิวสิกวิดีโอในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2003 มีการใช้มาตราส่วนแยกต่างหากสำหรับรางวัลการรับรอง[1]
รูปแบบ | ประเภท | เกณฑ์ต่อรางวัล[1] | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
โกลด์ | แพลตตินัม | 2× แพลตตินัม | มิลเลียน | 3× แพลตตินัม | 4× แพลตตินัม | |||
อัลบั้ม | ภายในประเทศ | 200,000 | 400,000 | 800,000 | 1,000,000 | 1,200,000 | 1,600,000 | |
ระหว่างประเทศ | 100,000 | 200,000 | 400,000 | 600,000 | 800,000 | |||
ซิงเกิล | ภายในประเทศ | 200,000 | 400,000 | 800,000 | 1,200,000 | 1,600,000 | ||
ระหว่างประเทศ | 50,000 | 100,000 | 200,000 | 300,000 | 400,000 |
การรับรองดิจิทัล
[แก้]การรับรองสำหรับเพลงและอัลบั้มที่วางจำหน่ายแบบดิจิทัลเริ่มเมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2006 โดยใช้ข้อมูลการดาวน์โหลดที่รวบรวมมาตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 2000[2] ตั้งแต่ปี 2006 ถึง 2013 การรับรองมี 3 หมวด ได้แก่ "Ringtone" (ญี่ปุ่น: 着うた(R); ทับศัพท์: Chaku-uta), "Full-length Ringtone" (ญี่ปุ่น: 着うたフル(R); ทับศัพท์: Chaku-uta Full) เช่นการดาวน์โหลดไปยังโทรศัพท์มือถือ และ "PC Download" (ญี่ปุ่น: PC配信; ทับศัพท์: PC Haishin) สำหรับเพลงที่ซื้อผ่านบริการต่าง ๆ เช่น ไอทูนส์ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2014 ได้มีการรวมหมวดหมู่ Chaku-uta Full และ PC เข้าด้วยกันเพื่อสร้างหมวด "Single Track" (ญี่ปุ่น: シングルトラック)[3]
แม้ว่าการรับรองอัลบั้มดิจิทัลจะเป็นไปได้ แต่มีเพียงไม่กี่อัลบั้มเท่านั้นที่ได้รับการรับรองนี้นับตั้งแต่ RIAJ เริ่มมอบรางวัล รวมถึงอัลบั้มการกุศล Songs for Japan 2011[4] และสตูดิโออัลบั้มชุดที่หก Fantôme ของฮิการุ อูตาดะ ในปี ค.ศ. 2021 A Complete: All Singles (2008) ของอายูมิ ฮามาซากิ กลายเป็นอัลบั้มแรกที่ออกในคริสต์ทศวรรษ 2000 ที่ได้รับการรับรองดิจิทัล
รูปแบบ | เกณฑ์ต่อรางวัล[3] | |||||
---|---|---|---|---|---|---|
โกลด์ | แพลตตินัม | 2× แพลตตินัม | 3× แพลตตินัม | มิลเลียน | ||
Chaku-uta (R) | 500,000 | 750,000 | 1,000,000 | |||
ซิงเกิลแทร็ค | 100,000 | 250,000 | ||||
อัลบั้ม |
สตรีมเท่านั้น
[แก้]ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2020 RIAJ ได้เริ่มรับรองเพลงสำหรับการสตรีม เช่นเดียวกับการจัดส่งทางกายภาพและยอดการดาวน์โหลดดิจิทัล[5]
ต่างจากการจัดส่งทางกายภาพและยอดการดาวน์โหลดดิจิทัล การรับรองการสตรีมมีระดับของตัวเอง เนื่องจากมีปริมาณการสตรีมที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับรูปแบบอื่น
เกณฑ์ต่อรางวัล[6] | ||||
---|---|---|---|---|
โกลด์ | แพลตตินัม | 2× แพลตตินัม | 3× แพลตตินัม | ไดมอนด์ |
50,000,000 | 100,000,000 | 200,000,000 | 300,000,000 | 500,000,000 |
สมาชิก
[แก้]สมาชิกหลัก
[แก้]- เอเว็กซ์กรุป¹
- เอเว็กซ์เอนเตอร์เทนเมนต์
- เอเว็กซ์ดิจิทัล (สมาชิกสนับสนุน)
- บีอิง จำกัด
- ดรีมมิวสิก จำกัด
- ฟอร์ไลฟ์มิวสิก
- เจนีนยูนิเวอร์แซลเอนเตอร์เทนเมนต์¹
- คิงเรเคิดส์¹
- เบลวูดเรเคิดส์ (สมาชิกสนับสนุน)
- คิงเรเคิดส์อินเตอร์เนชันแนล (สมาชิกสนับสนุน)
- นิปปอนโคลัมเบีย
- โคลัมเบียมาร์เก็ตติง (สมาชิกสนับสนุน)
- นิปปอนคราวน์¹
- โพนีแคนยอน¹
- เอกซิตทูนส์ (สมาชิกสมทบ)
- โซนีมิวสิกเอนเตอร์เทนเมนต์เจแปน¹
- อารีโอลาเจแปน (สมาชิกสนับสนุน)
- เดฟสตาร์เรเคิดส์ (สมาชิกสนับสนุน)
- อีพิกเรคอดส์เจแปน (สมาชิกสนับสนุน)
- คีออนเรเคิดส์ (สมาชิกสนับสนุน)
- เอสเอ็มอีเรเคิดส์ (สมาชิกสนับสนุน)
- โซนีมิวสิกอาร์ติดส์ (สมาชิกสนับสนุน)
- โซนีมิวสิกเอโสซิเอเต็ดเรเคิดส์ (สมาชิกสนับสนุน)
- โซนีมิวสิกไดเรกต์ (สมาชิกสนับสนุน)
- โซนีมิวสิกดิสทริบิวชัน (สมาชิกสนับสนุน)
- โซนีมิวสิกเจแปนอินเตอร์เนชันแนล (สมาชิกสนับสนุน)
- โซนีมิวสิกเรเคิดส์ (สมาชิกสนับสนุน)
- เทอิจิคุเอนเตอร์เทนเมนต์¹
- โทคุมะเจแปนคอมมิวนิเคชันส์¹
- ยูนิเวอร์แซลมิวสิกกรุป¹
- วีเอพี จำกัด¹
- วิกเตอร์เอนเตอร์เทนเมนต์¹
- วอร์เนอร์มิวสิกกรุป¹
- ยามาฮ่ามิวสิกคอมมิวนิเคชันส์
- โยชิโมโตะอาร์แอนด์ซี
สมาชิกสมทบ
[แก้]- อะมิวส์ซอฟต์เอนเตอร์เทนเมนต์
- แฮตส์อัลลิมิเต็ด
- จอห์นนีแอนด์อะโซชีเอท
- โคนามิดิจิทัลเอนเตอร์เทนเมน
- บันไดวิชวล
- แลนติส (สมาชิกหลัก)
- แอลดีแอนด์เคเรเคิดส์
- นักซอสเรเคิดส์
- เพลดเรเคิดส์¹
- สตาร์ดัสต์เรเคิดส์
- สเปซเชาเออเน็ตเวิกส์
- สปีริตชวลบีสต์
- วีนัสเรเคิดส์
- สมาคมวิลเลจอะเกน
- เอ็นบีซียูนิเวอร์แซลเอนเตอร์เทนเมนต์เจแปน
- คิสเอนเตอร์เทนเมนต์
- แรมบลิงเรเคิดส์
- แกมบิต
- ครอย
สมาชิกสนับสนุน
[แก้]- อะนิเพล็กซ์ (บริษัทในเครือของโซนีมิวสิกเอนเตอร์เทนเมนต์เจแปน)
- คราวน์โทคุมะมิวสิก (บริษัทร่วมทุนระหว่างนิปปอนคราวน์และโทคุมะเจแปนคอมมิวนิเคชันส์)
- ฟรีบอร์ด
- ฮอลิเดย์เจแปน
- เจย์วัน
- เอ็นพีพีดีเวลเลิพ
- ทีท็อคเรเคิดส์
- ทีวีอาซาฮิมิวสิก
- วาร์ดเรเคิดส์
- ทอยส์แฟกทอรี
- เอซฟอร์ซเอนเตอร์เทนเมนต์
- คิโนะมิวสิก
¹สมาชิกสมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศ
ดูเพิ่ม
[แก้]- รายชื่ออัลบั้มที่ขายดีที่สุดในญี่ปุ่น
- รายชื่อซิงเกิลที่ขายดีที่สุดในญี่ปุ่น
- รายชื่อศิลปินที่มียอดขายดีที่สุดในญี่ปุ่น
- สมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา
- ข้อมูลส่วนแบ่งตลาดอุตสาหกรรมดนตรีทั่วโลก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "The Record - August 2003 - Page 15" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ December 23, 2010. สืบค้นเมื่อ December 23, 2010.
- ↑ レコード協会調べ 8月度有料音楽配信認定 [Record Association Investigation: August Digital Music Download Certifications]. RIAJ (ภาษาญี่ปุ่น). September 20, 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 12, 2014. สืบค้นเมื่อ January 23, 2014.
- ↑ 3.0 3.1 音楽配信認定の基準 [Digital Music Certification Criteria] (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. February 28, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 6, 2014. สืบค้นเมื่อ March 6, 2014.
- ↑ レコード協会調べ 5月度有料音楽配信認定 [Record Association Investigation: May Digital Music Download Certifications]. RIAJ (ภาษาญี่ปุ่น). June 20, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 15, 2013. สืบค้นเมื่อ February 4, 2014.
- ↑ ストリーミング認定 [Streaming Certification] (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 6, 2020. สืบค้นเมื่อ June 26, 2020.
- ↑ ストリーミング認定 [Streaming Certification] (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 27, 2023. สืบค้นเมื่อ March 15, 2023.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของญี่ปุ่น (ในภาษาอังกฤษ)