ศาสนาพุทธในประเทศเวียดนาม
ประเทศเวียดนามเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีประชากรนับถือพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน[1] ศาสนาพุทธอาจมาจากอนุทวีปอินเดียไปยังเวียดนามครั้งแรกในศตวรรษที่ 3 หรือ 2 ก่อนคริสต์ศักราช หรือมาจากจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 1 หรือ 2[2] ศาสนาพุทธแบบเวียดนามมีการผสมผสานระหว่างลัทธิเต๋า, ศาสนาพื้นเมืองจีน [3]
ประวัติ
[แก้]พระพุทธศาสนาที่เข้ามาสู่เวียดนามในยุคแรกนั้น เป็นพุทธศาสนาแบบมหายาน โดยสันนิษฐานว่าท่านเมียวโป (Meou-Po) [4]ได้เดินทางมาจากประเทศจีนเข้ามาเผยแผ่ เวียดนามจึงได้รับเอาศาสนาจากจีน รวมทั้งคัมภีร์ทางศาสนา ก็เป็นภาษาจีนเหมือนกัน สันนิษฐานกันว่า ได้มีพระภิกษุชาวอินเดีย คือ พระมหาชีวก พระกัลยาณรุจิ และ พระถังเซงโฮย ได้เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนา ในยุคเดียวกับท่านเมียวโป แต่การเผยแผ่พุทธศาสนาก็ไม่เจริญนัก เพราะกษัตริย์จีนในขณะนั้นนับถือศาสนาขงจื้อ ไม่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา และยังไม่พอพระทัยที่มีคนนับถือพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อชาวเวียดนามกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ พระพุทธศาสนาได้รับการฟื้นฟูอย่างจริงจัง ในครั้งนั้นได้มีพระภิกษุชาวอินเดีย ชื่อ วินีตรุจิ ท่านได้ศึกษาพุทธศาสนาในอินเดียแล้วยัง ได้เดินทางมาศึกษาพุทธศาสนานิกายเซน หรือ เธียน (Thien) ในประเทศจีน แล้วเดินทางมาเผยแผ่ พุทธศาสนานิกายเธียร หรือ เซน ในเวียดนามจนพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ คราวที่เวียดนามกู้อิสรภาพ ได้ตั้งอาณาจักรไคโคเวียด ใน พ.ศ. 1482 หลังจากได้อิสรภาพแล้ว ก็เกิดการแย่งชิงอำนาจกันเอง ประมาณ 30 ปี ระยะนี้พุทธศาสนาซบเซาขาดการทำนุบำรุง ต่อมาเมื่อราชวงศ์ดินห์ ขึ้นครองอำนาจในปี พ.ศ. 1212 แล้ว พระพุทธศาสนากลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง พระพุทธศาสนาได้มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก
ปลายพุทธศตวรรษที่11 พระภิกษุชาวอินเดียนามว่า พระวินีตรุจิ (อ่านว่า วิ-นี-ตะ-รุ-จิ) เดินทางเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนา และได้รับการนับถือว่าเป็นสังฆราชแห่งนิกายเธียน (เธียน เป็นคำเวียดนาม ได้แก่ ธยานะ หรือ ฉาน หรือ เซน) เมื่อท่านมรณภาพแล้ว ฝับเหียน ศิษย์ชาวเวียดนามได้เผยแผ่พุทธธรรมอย่างมั่นคงสืบมา
พ.ศ. 1363 (ยุคราชวงศ์ถังของจีน ปกครองเวียดนาม) พระภิกษุว่อง่อนถ่อง ประดิษฐานนิกายเธียนเป็นครั้งที่2 มีสถูปเจดีย์ 20องค์ และวัดหลายแห่ง มีพระภิกษุประมาณ 500รูป พระเถรานุเถระเป็นพหูสูตและเคร่งครัดในพระวินัย ประมาณพุทธศตวรรษที่15 เมื่อเวียดนามกู้อิสรภาพจากจีนได้สำเร็จ กษัตริย์เวียดนามหลายราชวงศ์ ได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเรื่อยมา เช่น...
สมัย ราชวงศ์ดินห์ พระเจ้าจักรพรรดิทรงเลื่อมใสใน พระภิกษุง่อฉั่นหลู ซึ่งเป็นปราชญ์ด้านกวีนิพนธ์ และเชี่ยวชาญสมาธิ(Meditation)แบบนิกายเธียน จึงได้สถาปนาท่านให้เป็นประมุขแห่งคณะสงฆ์และเป็นที่ปรึกษาของพระองค์ด้วย
ต่อมาใน ราชวงศ์เล (ตอนต้น) และ ราชวงศ์ไล พระภิกษุเป็นผู้รอบรู้ในพระพุทธศาสนาและวิชาการต่างๆ ได้รับความเคารพศรัทธามาก กษัตริย์พระองค์ที่2 แห่งราชวงศ์เล ได้ส่งคณะทูตไปประเทศจีน เพื่ออัญเชิญพระไตรปิฎกมา และสนับสนุนให้ชาวเวียดนามหันมานับถือพระพุทธศาสนาแทนการนับถือผี แต่เมื่อถึงตอนปลายของราชวงศ์ การเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ประชาชนจึงคลายความศรัทธา และไม่ได้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง
ต่อมา ในสมัยราชวงศ์ไล ราชวงศ์นี้มีอายุยาวนานถึง 215ปี (พ.ศ. 1553-1768) และพระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองที่สุด พระเจ้าไลทันต๋อง ได้ประดิษฐานนิกายเธียนอีกเป็นครั้งที่3
กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ ทรงสนพระทัย ในการบำเพ็ญสมาธิมาก สละราชสมบัติให้พระราชธิดา แล้วออกผนวช
สมัย ราชวงศ์ตรัน พระเจ้าตรันไทต๋อง ทรงนิพนธ์หนังสือว่าด้วยเรื่องสมาธิ หรือทางไปสู่ธยานะ และหลักธรรมค้นคว้า ฮือ-หลุก พระนัดดาของพระองค์ หลังขึ้นครองราชย์ได้ระยะหนึ่ง ก็สละราชสมบัติออกผนวช ณ วัดแห่งหนึ่งบนภูเขา สั่งสอนศิษย์เป็นจำนวนมาก จนชาวเวียดนามเหนือ ถือว่า พระองค์เป็นปฐมสังฆราชแห่งนิกายเวฬุวัน (หรือป่าไผ่)
พ.ศ. 2426 เวียดนามตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส มีการควบคุมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ยึดคัมภีร์ไปเผาทำลาย การรวมตัวของพุทธศาสนิกชนเพื่อประกอบพิธีจะต้องได้รับการอนุญาตจากทางการฝรั่งเศสก่อน ความเชื่อเรื่องผีสาง และลัทธิต่างๆ ก็เข้ามาในพระพุทธศาสนา เช่น หว่าเหา และเกาได๋
พระพุทธศาสนา ได้รับผลกระทบจากสภาพความวุ่นวายทางการเมืองและสงครามเรื่อยมา สถาบันศาสนาก็ถูกรังแกอย่างไม่เป็นธรรม จนเป็นเหตุของการสร้างความตกตะลึงให้ชาวโลก ในปี พ.ศ. 2506 มีพระภิกษุและแม่ชีในเวียดนาม เผาตัวเองประท้วงฝ่ายปกครอง
กระทั่ง สภาวะทางการเมืองเริ่มสงบลง รัฐบาลลดการจำกัดสิทธิการนับถือศาสนาลงไปบ้าง ชาวพุทธจึงพยายามฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นมาใหม่ จนมีอยู่หลากหลายนิกายในปัจจุบัน แต่ไม่ว่าจะเป็น พุทธบุตรหรือศาสนิก ของนิกายใด ศาสนาใด ต่างก็อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นกับบ้านเกิดเมืองนอนของตน และด้วยความรักที่มีให้กันและกันอย่างแท้จริง
นิกาย
[แก้]- มหายาน เป็นนิกายที่ได้รับอิทธิพลทางพระพุทธศาสนาจากจีน รวมทั้งแพร่ขยายไปยังประเทศต่าง ๆ ในนามพระพุทธศาสนาแบบเวียดนาม รวมทั้งในประเทศไทยได้ด้วย [5][6]
- เถรวาท [7]
- เถรวาทแบบเวียดนาม เป็นพุทธศาสนาเถรวาทที่จัดตั้งขึ้นมาประมาณ 70 ปี นัยหนึ่งเป็นการกลืนกลายทางการเมืองระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์เขมร ในเวียดนาม โดยเถรวาทเวียดนามมีการพูดคุยสื่อสาระหว่างกันเป็นภาษาเวียดนาม ใช้บทสวดเป็นภาษาบาลี การก่อสร้างศิลปะวัฒนธรรมอิงอยู่กับวิถีเวียดนาม เป็นต้น
- เถรวาทแบบเขมร กลุ่มชาติพันธุ์เขมรที่ในครั้งจักรวรรดิเขมรโบราณเคยเป็นส่วนหนึ่งของกัมพูชามาก่อน เมื่อตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสและฝรั่งเศสได้ยกดินแดนส่วนนี้ให้กับเวียดนาม ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์เขมรที่อยู่ในเวียดนามแต่เดิมยังคงนับถือพระพุทธศาสนาโดยเป็นพระพุทธศาสนาในแบบเขมร คือพูดภาษาเขมร สวดด้วยภาษาบาลีแบบเขมร รวมทั้งมีวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตในรูปแบบเขมรด้วยเช่นกัน [8]
สถาบันการศึกษาด้านพระพุทธศาสนา
[แก้]- Buddhist University Ho Chi Minh City ทำการเปิดสอน 4 คณะคือ คณะพุทธศาสตร์ และบูรพาวิทยา คณะอักษรศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะภาษาศาสตร์ เฉพาะคณะพุทธศาสตร์และบูรพาวิทยา แบ่งออกเป็น 9 ภาควิชา คือ ภาควิชาพุทธปรัชญา วรรณคดีพุทธศาสนา พุทธศาสนประวัติ พุทธศาสนาทั่วไป พุทธศาสนาในเวียดนาม ปรัชญาตะวันออก ปรัชญาอินเดีย ปรัชญาจีน และปรัชญาตะวันตก
บุคคลสำคัญ
[แก้]- พระทิก เญิ้ต หั่ญ (Thích Nhất Hạnh) พระเถระชาวเวียดนามที่อยู่อาศัยในฝรั่งเศส ที่มีผลงานอันดับโลก มีผลงานเขียนกว่า 100 เรื่องและได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลก
- พระทิก ทัญ ตื่อ (Thích Thanh Từ) [9]
- พระทิก จี๊ กว๋าง (Thích Trí Quảng)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Cuong Tu Nguyen & A.W. Barber. "Vietnamese Buddhism in North America: Tradition and Acculturation". in Charles S. Prebish and Kenneth K. Tanaka (eds). The Faces of Buddhism in America. Berkeley: University of California Press, 1998, pg 130.
- ↑ Cuong Tu Nguyen. Zen in Medieval Vietnam: A Study of the Thiền Uyển Tập Anh. Honolulu: University of Hawaii Press, 1997, pg 9.
- ↑ Cuong Tu Nguyen & A.W. Barber 1998, pg 132.
- ↑ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2540). พระพุทธศาสนาในเอเซีย. กรุงเทพ ฯ : ธรรมสภา.
- ↑ พระปลัดระพิน พุทธิสาโร. (2561). Annam Nikaya Buddhism on Vietnamese Style in Thailand: History and Development. International Conference , Thu Dau Mot University-Trường Đại Học Thủ Dầu Một Thu Dau Mot City, Binh Duong Province, Vietnam. ระหว่าง 7-8 ธันวาคม 2561 http://gps.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/Paper_Annam-Chaiyaphum-Journal.pdf เก็บถาวร 2020-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ พระปลัดระพิน พุทธิสาโร. (2018/2561). พระพุทธศาสนาในเวียดนาม: เรื่องเล่าจากการเดินทาง/Buddhism in Vietnam : Telling Story from Trevelling. วารพุทธอาเซียน /ฺBuddhist Asean Studies Juornal. Vol. 3 No.2 pp.58-80. http://www.ojs.mcu.ac.th/index.php/BAS/article/view/6619
- ↑ Mae Chee Huynh Kim Lan.(2553/2010) A STUDY OF THERAVĀDA BUDDHISM IN VIETNAM.Thesis of Master of Arts (Buddhist Studies).Graduate School : Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
- ↑ พระปลัดระพิน พุทธิสาโร. (2560). พุทธศาสนาเถรวาท : อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และการคงอยู่ของ “ขะแมร์กรอม” ในเวียดนาม Theravada Buddhism: Identity, Ethnic, Retention of “Khmer’s Krom” in Vietnam. วารสารโพธิวิจัย [โพธิวิชชาลัย] มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ http://gps.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2013/02/11004-32450-1-SM-1.pdf เก็บถาวร 2020-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ พระมหาดาวสยาม ปญฺญาวชิโร. (2557).พระพุทธศาสนาในเวียดนาม-Buddhism in Vietnam.กรุงเทพ ฯ : เม็ดทรายพริ้นติ้ง. หน้า 163-164
- ↑ พระมหาดาวสยาม ปญฺญาวชิโร. (2557).พระพุทธศาสนาในเวียดนาม-Buddhism in Vietnam.กรุงเทพ ฯ : เม็ดทรายพริ้นติ้ง. หน้า 164-165.
บรรณานุกรม
[แก้]- Nguyen, Cuong Tu & A. W. Barber. "Vietnamese Buddhism in North America: Tradition and Acculturation". in Charles S. Prebish and Kenneth K. Tanaka (eds) The Faces of Buddhism in America. Berkeley: University of California Press, 1998.
- Nguyen, Cuong Tu. Zen in Medieval Vietnam: A Study of the Thiền Uyển Tập Anh. Honolulu: University of Hawaii Press, 1997.
- Nguyễn Tài Thư (2008), History of Buddhism in Vietnam, Cultural heritage and contemporary change: South East Asia, CRVP, ISBN 978-1565180987
- Soucy, Alexander. "Nationalism, Globalism and the Re-establishment of the Trúc Lâm Thien Sect in Northern Vietnam." Philip Taylor (ed). Modernity and Re-enchantment: Religion in Post-revolutionary Vietnam. Institute of Southeast Asian Studies: Singapore, 2007
- Ven.Phra Palad Raphin Buddhisaro. (2017). Theravada Buddhism: Identity, Ethnic, Retention of “Khmer’s Krom” in Vietnam. Journal of Bodhi Research [Bodhi Vijjalai Collage] Srinakharinwiwot University http://gps.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2013/02/11004-32450-1-SM-1.pdf เก็บถาวร 2020-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Ven.Phra Palad Raphin Buddhisaro. (2018). Annam Nikaya Buddhism on Vietnamese Style in Thailand: History and Development. International Conference, Thu Dau Mot University-Trường Đại Học Thủ Dầu Một Thu Dau Mot City, Binh Duong Province, Vietnam. 7–8 December 2561 http://gps.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/Paper_Annam-Chaiyaphum-Journal.pdf เก็บถาวร 2020-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Mae Chee Huynh Kim Lan.(2553/2010) A STUDY OF THERAVĀDA BUDDHISM IN VIETNAM.Thesis of Master of Arts (Buddhist Studies).Graduate School : Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
อ้างอิงที่เกี่ยวข้องกับ Chú Đại Bi
- Kinh Dược Sư. Rộng Mở Tâm Hồn. pp. 9–11. สืบค้นเมื่อ 22 January 2022.
- "Chú Đại Bi". chudaibi.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-19. สืบค้นเมื่อ 22 January 2022.
- Chandra, Lokesh (1979). "Origin of the Avalokiteśvara of Potala" (PDF). Kailash: A Journal of Himalayan Studies. Ratna Pustak Bhandar. 7 (1): 6–25. สืบค้นเมื่อ 22 January 2022.
- Chandra, Lokesh (1988). The Thousand-armed Avalokiteśvara. New Delhi: Abhinav Publications, Indira Gandhi National Centre for the Arts. ISBN 81-7017-247-0. สืบค้นเมื่อ 22 January 2022.
- "Lê Tự Hỷ : "Chú Đại Bi: Về Bản Phạn Văn Và Ý Nghĩa Của Chú Đại Bi" (Chú Đại Bi : about the meaning of mantra in Sanskrit)". tamduc.net.vn. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-22. สืบค้นเมื่อ 22 January 2022.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- DeVido, Elise A. (2009). The Influence of Chinese Master Taixu on Buddhism in Vietnam เก็บถาวร 2022-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Journal of Global Buddhism 10, 413–458
- Buswell, Robert E., บ.ก. (2004). "Vietnam", in Encyclopedia of Buddhism. Macmillan Reference USA. pp. 879–883. ISBN 0-02-865718-7.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Buddhism in Vietnam
- Phật Học Online