วันส้วมโลก
วันส้วมโลก | |
---|---|
สัญลักษณ์ของวันส้วมโลก | |
วันที่ | 19 พฤศจิกายน |
ความถี่ | ปีละครั้ง |
ครั้งแรก | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 |
ส่วนเกี่ยวข้อง | องค์การส้วมโลก และ องค์การน้ำแห่งสหประชาชาติ |
วันส้วมโลก (อังกฤษ: World Toilet Day; WTD) เป็นวันที่ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการโดยสหประชาชาติ ตรงกับวันที่ 19 พฤศจิกายน เพื่อให้ตระหนักในการจัดการสภาวะวิกฤตของสุขาภิบาลทั่วทั้งโลก[1][2] มีผู้คนทั่วโลกกว่า 4.2 พันล้านคนดำเนินชีวิตอย่างปราศจากการจัดการสุขาภิบาลอย่างปลอดภัย และราว 673 ล้านคนขับถ่ายอุจจาระในที่โล่งแจ้ง[3]: 74 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อที่ 6 บัญญัติว่า "ต้องรับประกันความสะดวกในการเข้าถึงกับการจัดการระบบน้ำและสุขอนามัยอย่างยั่งยืนแก่ทุกคน"[4] เมื่อปี พ.ศ. 2544 วันส้วมโลกได้ถูกกำหนดขึ้นโดยองค์การส้วมโลก สิบสองปีต่อมาสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้มีมติเห็นชอบให้บรรจุวันส้วมโลกเป็นวันสำคัญของสหประชาชาติ[5]
องค์การน้ำแห่งสหประชาชาติได้เป็นผู้ดูแลหลักของวันส้วมโลก องค์การน้ำแห่งสหประชาชาติยังเป็นผู้จัดทำเว็บไซต์วันส้วมโลกและยังจัดหัวข้อพิเศษในแต่ละปี ในปี พ.ศ. 2565 หัวข้อในปีนี้คือ "น้ำบาดาลกับสุขอนามัย" ในวันส้วมโลกจะมีการให้ความรู้และกิจกรรมอื่น ๆ กิจกรรมและการวางแผนถูกจัดขึ้นโดยองค์การน้ำแห่งสหประชาชาติ, องค์การนอกภาครัฐ หรืออาสาสมัคร
การเข้าห้องส้วมที่ปลอดภัย ล้วนมีผลต่อสุขภาพ, ความเป็นส่วนตัว และศักดิ์ศรีของคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มสตรี[6] ระบบสุขาภิบาลที่ไร้มาตรฐานจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้[3] โดยส่วนมากจะเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น โรคอหิวาตกโรค, ท้องร่วง, ไทรฟอร์ย, โรคบิด และโรคพยาธิใบไม้ในเลือด ซึ่งมีผู้ป่วยทั่วโลกเป็นโรคท้องร่วงกว่า 892 ล้านคน[3]
หัวข้อ
[แก้]การกำหนดหัวข้อแต่ละปีเริ่มเมื่อปี ค.ศ. 2012 หัวข้อของวันส้วมโลกขึ้นอยู่กับสิ่งที่เกี่ยวข้องภายในปีนั้น หรือสิ่งต้องการจะสื่อสาร ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 หัวข้อของวันส้วมโลกถูกใช้ร่วมกันวันน้ำโลก โดยมีเกณฑ์กำหนดโดยอิงมาจากรายงานการพัฒนาน้ำโลกของสหประชาชาติ
ข้างล่างนี้คือหัวข้อแต่ละประจำปีของวันส้วมโลก:
- 2022 – น้ำบาดาลกับสุขอนามัย (Groundwater and sanitation; คำขวัญ: "ทำสิ่งที่มองไม่เห็นให้เห็น")
- 2021 – คุณค่าของส้วม (Valuing toilets)
- 2020 – การสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ[7]
- 2019 – ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Leaving no one behind)[8]
- 2018 – การแก้ปัญหาในหมู่ธรรมชาติ (Nature-based solutions; คำขวัญ: "เมื่อธรรมชาติเรียกหา")[9]
- 2017 – น้ำเสีย (Wastewater)[10]
- 2016 – ห้องน้ำกับงาน (Toilets and jobs)[11]
- 2015 – ห้องน้ำกับโภชนาการ (Toilets and nutrition)
- 2014 – เสมอภาค และศักดิ์ศรี (Equality and dignity)[12]
- 2013 – ท่องเที่ยว กับ น้ำ (Tourism and water)
- 2012 – "ผมให้อึ แล้วคุณละ?" (I give a shit, do you?) - เป็นคำขวัญ[13]
ตัวอย่างงานกิจกรรมและเหตุการณ์
[แก้]การเผยแพร่รายงาน
[แก้]บางองค์การเผยแพร่รายงานเกี่ยวข้องกับห้องน้ำ (หรือสุขอนามัย) ในวันส้วมโลกตัวอย่างเช่น:
- เดอะทอยเลตคลอเลชัน (2017) "เศรษฐกิจของสุขาภิบาล"[14] (Sanitation Economy)
- [องค์กร]น้ำและสุขาภิบาลเพื่อคนยากไร้ในเมือง (WSUP) (2017) "คู่มือการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวนต่อการจัดการกากของอุจจาระ"[15] (Guide to strengthening the enabling environment for faecal sludge management)
- สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) (2016) "วอช@เวิร์ค: คู่มือพัฒนาตัวเอง"[16] (WASH@Work: self-training handbook)
- องค์การอนามัยโลก, กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ และหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ (2015) "การปรับปรุงผลทางโภชนาการด้วยวิธีปรับปรุงสุขาภิบาลและสุขอนามัยให้มีประสิทธิภาพ: แนวทางปฏิบัติสำหรับนโยบายและโครงการ"[17] (Improving Nutrition Outcomes with Better Water, Sanitation and Hygiene: Practical Solutions for Policies and Programmes)
กิจกรรม
[แก้]- 2019: แผนกิจกรรมสำหรับวันส้วมโลกปี 2019 มีการจัดงานในรูปแบบตัวอย่างเช่น กิจกรรมเวิร์กชอปในสหรัฐในชื่อว่า "Manure Management – What Poop Can Teach Youth!", art installations ในประเทศไอร์แลนด์จัดกิจกรรมในธีม "Think Before You Flush" และกิจกรรม "Toilets for all Campaign in Rural areas" ในรัฐมัธยประเทศ, ประเทศอินเดีย[18][19][20]
- 2018: กิจกรรมสำหรับวันส้วมโลกปี 2018 ได้มีกิจกรรมรณรงค์ในอินเทอร์เน็ตในโครงการ 'แฮกกาธอน' ในกานาโดยวิธีเผยแพร่ผ่านดิจิทัล[21] ยังมีกิจกรรมที่จัดโดยวิศวกรไร้พรมแดนในประเทศเดนมาร์ก[22] และการจัดกิจกรรมวาดภาพของเด็กนักเรียนในประเทศอินเดีย[23][24]
ผลสืบเนื่อง
[แก้]ผลสืบเนื่องในโซเชียลมีเดีย
[แก้]แคมเปญวันส้วมโลกและสื่อสิ่งพิมพ์สามารถเข้าถึงผู้คนกว่าล้านคนในโซเชียลมีเดียได้โดยไม่ว่าจะเป็นในเว็บไซต์เฉพาะ และช่องทางอื่น ๆ[25]: 21 กิจกรรมกว่า 100 กิจกรรมภายใน 40 ประเทศได้ถูกบันทึกไว้ในเว็บไซต์วันส้วมโลกทั้งในปี 2016 และในปี 2017[25]: 23 [26]: 17 ในปี 2017 ได้มีแฮชแท็ก #WorldToiletDay โดยมีผู้เข้าถึงสูงสุดกว่า 750 ล้านคนในโซเชียลมีเดีย[26]: 17 ในปี 2018 มีผู้เข้าถึงสูงสุดกว่าร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับกิจกรรมในออนไลน์ปี 2017 และมีผู้มีส่วนรวมจากร้อยละ 12 ซึ่งเกิดขึ้นในปี 2017 เป็นร้อยละ 22 ภายในปี 2018[27]: 32
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "What is World Toilet Day?". World Toilet Day. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2017. สืบค้นเมื่อ 16 November 2017.
- ↑ "Call to action on UN website" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2015. สืบค้นเมื่อ 19 October 2014.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 WHO and UNICEF (2019) Progress on household drinking water, sanitation and hygiene 2000–2017: Special focus on inequalities เก็บถาวร 25 สิงหาคม 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Geneva, Switzerland
- ↑ "Goal 6: Ensure access to water and sanitation for all". United Nations. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2015. สืบค้นเมื่อ 18 November 2017.
- ↑ "World Toilet Day 19 November - Background". United Nations. สืบค้นเมื่อ 30 November 2017.
- ↑ Cavill, Sue. "Violence, gender and WASH: A practitioner's toolkit: Making Water, Sanitation and hygiene safer through improved programming and services". WaterAid, SHARE Research Consortium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-04. สืบค้นเมื่อ 7 October 2015.
- ↑ "World Toilet Day 2020". World Toilet Day (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). UN Water. สืบค้นเมื่อ 2020-12-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "United Nations World Water Development Report". Unesco. 11 February 2019. สืบค้นเมื่อ 25 April 2019.
- ↑ UN-Water (2018) World Water Development Report 2018: Nature-based Solutions for Water, Geneva, Switzerland
- ↑ "World Water Development Report 2017". UN-Water (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 12 November 2018.
- ↑ UN-Water (2016) World Water Development Report 2016: Water and jobs, Geneva, Switzerland
- ↑ Gjersoe, Nathalia (20 November 2014). "World Toilet Day. Yuck!". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 10 August 2015.
- ↑ "Dies irae". The Economist. 24 November 2012.
- ↑ Introducing the Sanitation Economy (PDF). Toilet Board Coalition. 2017.
- ↑ "Guide to strengthening the enabling environment for faecal sludge management". Water and Sanitation for the Urban Poor. 17 November 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-13. สืบค้นเมื่อ 17 November 2017.
- ↑ WASH@Work: a Self-Training Handbook (PDF). Geneva: International Labour Office. 2016. ISBN 9789221285236.
- ↑ Improving nutrition outcomes with better water, sanitation and hygiene: practical solutions for policies and programmes. 1.Nutrition Disorders – etiology. 2.Water Quality. 3.Sanitation. 4.Hygiene. Health. 5.Knowledge, Attitudes, Practice (PDF). World Health Organization, UNICEF, USAID. 2015. ISBN 978-92-4-156510-3.
- ↑ "Manure Management – What Poop Can Teach Youth!". World Toilet Day - Events. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-28. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
- ↑ "Think Before You Flush". World Toilet Day - Events. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-28. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
- ↑ "Toilets for all Campaign in Rural areas". World Toilet Day - Events. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-28. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
- ↑ "World Toilet Day Hackathon". UN Water. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-14. สืบค้นเมื่อ 14 November 2018.
- ↑ "Open seminar by Engineers without boarders". UN Water. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-14. สืบค้นเมื่อ 14 November 2018.
- ↑ "Draw a world without toilets, India". UN Water. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-14. สืบค้นเมื่อ 14 November 2018.
- ↑ "World Toilet Day 2018 Events". UN Water. สืบค้นเมื่อ 14 November 2018.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 25.0 25.1 Annual Report UN-Water 2016. Geneva, Switzerland: UN-Water. 2016.
- ↑ 26.0 26.1 Annual Report UN-Water 2017. Geneva, Switzerland: UN-Water. 2017.
- ↑ UN-Water Annual Report 2018. UN-Water. 2018.