ข้ามไปเนื้อหา

วันดนตรีโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันดนตรีโลก
Fête de la Musique ในกรุงปารีสเมื่อปี 2010
ประเภทเวิลด์มิวสิก
วันที่21 มิถุนายนของทุกปี
ที่ตั้งฝรั่งเศส (เริ่มต้น)
ทั่วโลก (ปัจจุบัน)
ช่วงปี1982–ปัจจุบัน
ผู้ก่อตั้งJack Lang และ Maurice Fleuret
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

Fête de la Musique หรือรู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า Music Day (วันดนตรี)[1], Make Music Day (วันเล่นดนตรี)[2][3] หรือ World Music Day (วันดนตรีโลก)[4] เป็นงานเฉลิมฉลองดนตรีที่มีขึ้นในวันที่ 21 มิถุนายนของทุกปีซึ่งตรงกับวันครีษมายัน ในวันดังกล่าวมีการเชิญชวนให้ประชาชนและผู้อยู่อาศัยเล่นดนตรีในชุมชนของตัวเองหรือในที่สาธารณะและสวนสาธารณะ มีการจัดคอนเสิร์ตที่ไม่เสียค่าเข้า นักดนตรีเล่นดนตรีเพื่อความบันเทิงไม่ใช่เพื่อการพาณิชย์

การเฉลิมฉลองดนตรีที่จัดขึ้นตลอดทั้งวันนี้ถูกจัดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1982 (พ.ศ. 2525) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีการริเริ่มโดย Jack Lang รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมของฝรั่งเศสในขณะนั้น พร้อมกับ Maurice Fleuret ผู้อำนวยการหน่วยงานด้านดนตรีการเต้นรำและการละครของกระทรวง โดยใช้ชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Fête de la Musique[5]

นับตั้งแต่ปีนั้นเป็นต้นมา เทศกาลนี้ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ระดับนานาชาติ มีการเฉลิมฉลองในเมืองกว่า 1,000 แห่ง[3] ใน 120 ประเทศทั่วโลก[6] เช่น อินเดีย เยอรมนี อิตาลี กรีซ รัสเซีย ออสเตรเลีย เปรู บราซิล เอกวาดอร์ เม็กซิโก แคนาดา สหรัฐ สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น[7] ในสหรัฐมีเมืองที่เข้าร่วม 82 เมือง[3]

วัตถุประสงค์ของการจัดงานคือเพื่อการส่งเสริมดนตรีในสองประการ ประการแรก นักดนตรีสมัครเล่นและมืออาชีพได้รับการสนับสนุนให้แสดงตามท้องถนนภายใต้สโลแกน "Faites de la musique" ("เล่นดนตรี") ซึ่งพ้องเสียงกับ Fête de la musique ประการที่สอง คอนเสิร์ตในปารีสทั้งหมดต้องเปิดให้สาธารณชนเข้าชมฟรีและนักดนตรีทุกคนได้สละเวลาของตนเพื่อสร้างความบันเทิง ทำให้ประชาชนเข้าถึงดนตรีทุกประเภทได้ เมืองที่เข้าร่วมส่วนใหญ่ก็ใช้หลักการนี้เช่นกัน[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Music Day". Music Day UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2017. สืบค้นเมื่อ 19 January 2017.
  2. "Free 'Make Music Day' festival coming in June". Associated Press. 23 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2015. สืบค้นเมื่อ 26 April 2015.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Make Music Day – The Worldwide Celebration of Music".
  4. "The World Music Day: How it came into being". India Today. 21 June 2013. สืบค้นเมื่อ 26 April 2015.
  5. "Historique de la Fête de la Musique". fetedelamusique.culturecommunication.gouv.fr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-04. สืบค้นเมื่อ 3 February 2018.
  6. Jenkins, Pete (21 June 2019). "What countries celebrate World Music Day?". Vox.
  7. "Around The World". Make Music – 21 June. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2015. สืบค้นเมื่อ 26 April 2015.
  8. "Historique de la Fête de la Musique".

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]