ข้ามไปเนื้อหา

วัตถุระหว่างดาวฤกษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดาวหางเฮียกูตาเกะ (C/1996 B2) เคยเป็นวัตถุอันตรดาราที่ถูกจับภาพในระบบสุริยะ เข้าใกล้ดาวโลกที่สุดเมื่อ 25 มีนาคม 1996

วัตถุระหว่างดาวฤกษ์ หรือ วัตถุอันตรดารา (อังกฤษ: interstellar object) หมายถึงวัตถุทางดาราศาสตร์ (อาทิ ดาวเคราะห์น้อย, ดาวหาง, ดาวเคราะห์พเนจร ฯลฯ ที่ไม่ใช่ดาวฤกษ์) ซึ่งล่องลอยเป็นอิสระในห้วงอวกาศอันตรดาราโดยไม่ผูกมัดกับอำนาจแรงโน้มของดาวฤกษ์ใดๆ คำนี้สามารถถูกนำไปใช้กับวัตถุที่มีแนววิถีแบบอันตรดารา แต่เคลื่อนเข้าใกล้ดาวฤกษ์หนึ่งเป็นการชั่วคราว อาทิ ดาวเคราะห์น้อยและดาวหางบางดวง (รวมถึงดาวหางนอกระบบ[1][2])

วัตถุอันตรดาราลำดับแรกที่ถูกค้นพบในระบบสุริยะคือ 1I/ʻOumuamua ซึ่งค้นพบในค.ศ. 2017 ลำดับสองคือ 2I/Borisov ซึ่งค้นพบในค.ศ. 2019 คาดการณ์ว่าวัตถุทั้งสองไม่ใช่วัตถุดั้งเดิมภายในระบบสุริยะ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Valtonen, Mauri J.; Zheng, Jia-Qing; Mikkola, Seppo (March 1992). "Origin of oort cloud comets in the interstellar space". Celestial Mechanics and Dynamical Astronomy. 54 (1–3): 37–48. Bibcode:1992CeMDA..54...37V. doi:10.1007/BF00049542. S2CID 189826529.
  2. Francis, Paul J. (2005-12-20). "The Demographics of Long-Period Comets". The Astrophysical Journal. 635 (2): 1348–1361. arXiv:astro-ph/0509074. Bibcode:2005ApJ...635.1348F. doi:10.1086/497684. S2CID 12767774.