ข้ามไปเนื้อหา

วัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

พิกัด: 14°6′57″N 99°13′53″E / 14.11583°N 99.23139°E / 14.11583; 99.23139
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

14°6′57″N 99°13′53″E / 14.11583°N 99.23139°E / 14.11583; 99.23139

เสือในวัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

วัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หรือ วัดเสือ ตั้งอยู่ ณ ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

วัดนี้ได้สถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 โดยเริ่มจากชาวบ้านช่วยลูกเสือซึ่งแม่มันถูกฆ่าจากนายพรานและนำมาที่วัด เจ้าอาวาสรับไว้ในขณะที่ไม่มีใครรับ และเอาใจใส่เลี้ยงดูเหมือนเป็นลูก ๆ จึงเป็นที่มาของวัด โดยตั้งใจให้เป็นที่พักพิงของสัตว์ป่าที่บาดเจ็บหรือขาดพ่อแม่ทั้งหลาย และได้รับการเลี้ยงดูแบบชาวพุทธที่ดี เช่น เมื่อบรรดาเสือแสดงอากัปกิริยาที่ไม่ดีมีการร้องคำรามขู่ พระที่เลี้ยงก็จะเอาน้ำสาดจากขวดพลาสติก หรือหาอะไรปิดตาเสือเหล่านี้ไว้ เมื่อมีวัวหรือแพะเดินผ่านมาใกล้ ๆ

เสือในวัดเป็น เสือโคร่งอินโดจีน (Panthera tigris corbetti) ซึ่งเสือโคร่งที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย, ลาว, พม่า, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย และจีนด้านตะวันออก มีจำนวน 17 ตัวที่วัด เป็นเสือกำพร้าที่ได้ช่วยชีวิตมาจากป่าเจ็ดตัว และอีกสิบตัวเกิดที่วัดนี้ (ข้อมูล เดือนธันวาคม 2548)

นิตยสารไทม์ฉบับวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ได้ยกย่องให้วัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดสำหรับการอยู่ร่วมกันโดยสันติ ซึ่งหมายถึงการที่ทางวัดสามารถนำเสือที่เป็นสัตว์ดุร้ายมาอยู่ร่วมกับคนได้โดยไม่เกิดอันตราย

ป๊2558 วัดป่าหลวงตามหาบัวเสียชื่อแล้วโดยมีการพบซากเสือ 40 ตัว เก็บไว้เตรียมใช้ทำเครื่องราง เบื้องหน้าเบื้องหลังปฏิบัติการย้ายเสือของกลาง 137 ตัว จาก วัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หรือวัดเสือ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี นำไปดูแลที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง และที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ถูกขยายประเด็นออกไปหลายทิศทาง โดยเฉพาะการพบซากลูกเสือ 40 ซาก ถูกดองและแช่แข็งพร้อมกับสัตว์ป่าสงวนหลายชนิดในวันแรก และตามด้วยการพบลูกเสือโคร่งดองเพิ่มอีก 30 ซาก พร้อมหนังเสือโคร่ง 2 ผืน เขากระทิง เขากวาง เขี้ยวเสือโคร่ง ตะกรุดหางเสือและเครื่องรางของขลังกว่า 1,000 ชิ้น นำไปสู่การตรวจสอบสแกนว่า วัดแห่งนี้เกี่ยวข้องกับขบวนการค้าเสือข้ามชาติหรือไม่

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]