วงเวียนลี

พิกัด: 29°56′36″N 90°04′21″W / 29.9433°N 90.0725°W / 29.9433; -90.0725
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพมุมสูงของวงเวียนลีเมื่อเดือนมกราคม 2017 ราวสี่เดือนก่อนรูปปั้นของนายพลลีบนยอดเสาจะถูกรื้อถอนออก

วงเวียนลี (อังกฤษ: Lee Circle) เป็นวงเวียนจราจรในเมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนา ตรงกลางของวงเวียนเป็นเสาซึ่งในอดีตเคยตั้งรูปปั้นบรอนซ์ของนายพลกองทัพคอนเฟเดอเรท รอเบิร์ท อี. ลี ผลงานของอะเล็กซานเดอร์ ดอยล์ ประติมากรผู้มีชื่อเสียงด้านการทำงานประติมากรรมของบุคคลจากสงครามกลางเมืองสหรัฐ วงเวียนลีเป็นจุดตัดระหว่างถนนเซนต์ชาลส์ กับถนนฮอเวิร์ด ก่อนที่รูปปั้นของนายพลลีจะถูกนำมาตั้ง วงเวียนนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ วงเวียนตีโวลี (Tivoli Circle; Place du Tivoli)[1][2][3] ปัจจุบันวงเวียนลีเป็นศูนย์กลางของเมืองและเป็นจุดสำคัญสำหรับผู้เข้าชมเทศกาลมาร์ดิกรา

ข้อถกเถียงกรณีเปลี่ยนชื่อ[แก้]

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 1877 ชื่อของ "ลีเพลส" (Lee Place) ภายใน "วงเวียนตีโวลี" (Tivoli Circle) ได้ขึ้นทะเบียนภายใต้เทศบัญญัติเอ เอส ที่ 4964 (Ordinance A.S. 4064)[4][5] อันหมายความว่าในทางนิตินัยแล้ววงเวียนนั้นมีชื่อว่าวงเวียนตีโวลี ในขณะที่พื้นที่เปิดภายในวงเวียนที่เรียกว่าลีเพลส และไม่มีการระบุชื่อวงเวียนลีปรากฏในเอกสารทางกฎหมาย

ผู้แทนดนตรีแจ๊สนวิออร์ลีนส์ วินทัน มาร์เซลิส ได้ออกมาเรียกร้องตั้งแต่ปี 2014 ให้รื้อถอนรูปปั้นของนายพลลีและเปลี่ยนชื่อของวงเวียนลี รวมถึงอนุสรณ์อื่น ๆ ที่เป็นการระลึกถึงผู้ปกครองทาสของกองทัพคอนเฟเดอเรททิ้งเสีย[6]

ในปี 2015 ภายหลังเกิดเหตุกราดยิงที่โบสถ์ชาลสตัน สภาเมืองนิวออร์ลีนส์ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการที่มีคำสั่งเห็นชอบให้ทำการรื้อถอนรูปปั้นของนายพลลี, เจฟเฟอร์ซัน เดวิส และ พี.จี.ที. บัวร์การ์ รวมถึงเสาโอเบลิสก์ที่ระลึกถึง "ยุทธการที่ลิเบอร์ทีเพลส" อย่างไรก็ตาม นายกเทศมนตรี บอบบี จินดอลล์ ต่อต้านคำสั่งนี้[7] ท้ายที่สุดในวันที่ 17 สิงหาคม 2015 สภาเมืองนิวออร์ลีนส์ได้ลงคะแนนเสียงรื้อถอนอนุสรณ์ทั้งสี่ออกจากพื้นที่สาธารณะ[8][9] และได้มีองค์การรวมสี่แห่งยื่นร้องต่อศาลให้ยกเลิกการรื้อถอนนี้ทันทีหลังผลลงคะแนนเป็นทางการถูกประกาศ[10]

การรื้อถอนรูปปั้นนายพลลี[แก้]

ภาพขณะการรื้อถอนรูปปั้นนายพลลี

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2017 สภาเมืองนิวออร์ลีนส์ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่ารูปปั้นของนายพลลีจะถูกรื้อถอนออกจากวงเวียนในเวลา 9 นาฬิกาของเช้าวันถัดไป นับเป็นอนุสรณ์ของกองทัพคอนเฟเดอเรทชิ้นสุดท้ายที่ถูกรื้อถอนในสี่ชิ้นของนิวออร์ลีนส์[11] การรื้อถอนรูปปั้นเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 19 พฤษภาคม เวลา 18 นาฬิกา ตามเวลาท้องถิ่น

อ้างอิง[แก้]

  1. Douglas, Lake (2011). Public Spaces, Private Gardens: A History of Designed Landscapes in New Orleans. Baton Rouge: Louisiana State University Press. pp. 250–251, n. 25. ISBN 978-0-8071-3837-3. Using "Tivoli" as a place-name first appeared in New Orleans in 1807, when the engineer Barthélémy Lafon drew subdivision plans for the Delord-Sarpy Plantation property above Canal Street in the Faubourgs Ste. Mary and Annunciation. He created the Place du Tivoli, encircled first by the Tivoli Canal and then by a paved street; this traffic circle was renamed in honor of Gen. Robert E. Lee in the 1870s. Another use of Tivoli occurs with a plantation and garden on nearby Bayou St. John from 1808 through 1824, discussed above. Some may conflate these into one location, an understandable conclusion since early notices of Tivoli Plantation mention garden features and the Carondelet Canal is an extension of Bayou St. John.
  2. Kane, Harnett (1961). Place du Tivoli: A History of Lee Circle. Boston: John Hancock Mutual Life Insurance Company. Published on the occasion of the dedication of the John Hancock Building (now known as K&B Plaza), New Orleans, LA, December 7, 1961.
  3. "Tivoli Circle - Lee Circle". Old New Orleans. สืบค้นเมื่อ 2011-12-04.
  4. Jewell, Edwin L. (1882). "Title XIV, Ch. 2, §I, Art. 19(3)". Jewell's Digest of the City Ordinances Together with the Constitutional Provisions, Acts of the General Assembly and Decisions of the Courts Relative to the Government of the City of New Orleans. New Orleans: Edwin L. Jewell. p. 291. That the ground within the enclosure to be so improved, shall be dedicated to the memory of General Robert E Lee, and as soon as the work is commenced, shall thereafter be known as Lee Place, but the name of the outer or street portion shall still be preserved under the designation of Tivoli Circle.
  5. Hobgson, W. I. (August 31, 1884). "Lee Place - Tivoli Circle". New Orleans, LA: The Times-Picayune. สืบค้นเมื่อ 9 July 2015. I quote from the ordinance giving its name. Ordinance 4064, A.S. - Adopted July 31, 1877, reads as follows: "SEC 3. Be if further ordained, etc., That the ground within the inclosure to be so improved, shall be dedicated to the memory of General Robert E. Lee, and as soon as the work is commenced shall thereafter be known as 'Lee Place,' but the name of the outer or street portion shall still be preserved under the designation of 'Tivoli Circle.' " W. I. Hobgson Secretary Lee Mon'l Ass'n.
  6. McClendon, Robert (June 24, 2015). "Mitch Landrieu on Confederate landmarks: 'That's what museums are for'". The Times-Picayune. สืบค้นเมื่อ 9 July 2015. Landrieu recalled Marsalis saying. When the mayor asked why, Marsalis responded, "Let me help you see it through my eyes. Who is he? What does he represent? And in that most prominent space in the city of New Orleans, does that space reflect who we were, who we want to be or who we are?"
  7. Schachar, Natalie (August 15, 2015). "Jindal seeks to block removal of Confederate monuments in New Orleans". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 17 August 2015.
  8. Rainey, Richard (December 17, 2015). "Lee Circle no more: New Orleans to remove 4 Confederate statues". The Times-Picayune. สืบค้นเมื่อ 17 December 2015.
  9. Adelson, Jeff (December 17, 2015). "New Orleans City Council votes 6-1 to remove Confederate monuments". The New Orleans Advocate. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-14. สืบค้นเมื่อ 17 December 2015.
  10. Sayre, Katherine (December 18, 2015). "New Orleans won't remove Confederate statues before court hearing". The Times-Picayune. สืบค้นเมื่อ 19 December 2015.
  11. http://www.nola.com/politics/index.ssf/2017/05/confederate_monuments_water_fe.html

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

29°56′36″N 90°04′21″W / 29.9433°N 90.0725°W / 29.9433; -90.0725