วงศ์ปลาจาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วงศ์ปลาจาน
ปลาจานแดง (Argyrops spinifer)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
อันดับ: อันดับปลากะพง
วงศ์ใหญ่: อันดับย่อยปลากะพง
วงศ์: วงศ์ปลาจาน
Rafinesque, 1810

วงศ์ปลาจาน หรือ วงศ์ปลาอีคุด (อังกฤษ: Sea bream, Porgie; ชื่อวิทยาศาสตร์: Sparidae) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes)

มีลักษณะโดยทั่วไป คือ ลำตัวค่อนข้างยาวแบนข้าง มีเกล็ดซิเลียเตดขนาดปานกลาง เกล็ดบนหัวเริ่มมีตั้งแต่บริเวณระหว่างตาหรือบริเวณหลังตา ส่วนหน้าของขากรรไกรมีฟันเขี้ยวหรือฟันตัด บริเวณของมุมปากมีฟันรูปกรวยหรือแบบฟันกราม ซึ่งจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ไปทางส่วนท้าย ไม่มีฟันบนกระดูกพาลาทีน ครีบหลังมีตอนเดียวมีก้านครีบแข็ง 11–12 ก้าน ก้านครีบอ่อนที่แตกปลาย 10–15 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแข็งที่ใหญ่และแข็งแรง ก้านครีบแข็งก้านที่สองยาวที่สุด

เป็นปลาทะเล พบกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาเศรษฐกิจ ใช้เนื้อในการบริโภค และตกเป็นเกมกีฬา บางชนิดอาจพบได้ในเขตน้ำกร่อยหรือน้ำจืด[1].[2]

ปลาวงศ์นี้สาวนใหญ่มีฟันบดคล้ายฟันกราม[3] ปลาบางชนิดอย่าง Polysteganus undulosus ตกอยู่ในการประมงเกินขีดจำกัด หรือแสวงหาผลประโยชน์เกินการฟื้นฟูที่ยั่งยืน recovery.[4]

ในประเทศไทย ปลาที่อยู่ในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันดี เช่น ปลาอีคุด (Acanthopagrus berda) และปลาจานแดง หรือปลาอีคุดครีบยาว (Argyrops spinifer)[1]

นอกจากนี้แล้ว ปลาในวงศ์นี้ยังมีการสืบพันธุ์เป็นกะเทยแบบเป็นลำดับ คือ การเป็นกะเทยแบบกลายเพศหรือเปลี่ยนเพศ คือเปลี่ยนจากเพศผู้ในระยะแรกและเป็นเพศเมียเมื่อปลาโตขึ้นได้ด้วย[5]

สกุล[แก้]

พบ 155 ชนิด ใน 38 สกุล:

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 หน้า 110-129, Amphidromous Story สุดยอดนักล่า ปลาสองน้ำ, "Wild Ambition" โดย ชวิน ตันพิทยคุปต์, กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์, นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ. Aquarium Biz ปีที่ 3 ฉบับที่ 35: พฤษภาคม 2013
  2. Bray, D.J.; Gomon, M.F. (2012). "Breams, SPARIDAE". Fishes of Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2013.
  3. Johnson, G. D. & Gill, A. C. (1998). Paxton, J. R. & Eschmeyer, W. N. (บ.ก.). Encyclopedia of Fishes. San Diego: Academic Press. p. 184. ISBN 0-12-547665-5. Eating the head is known to cause hallucinations, lasting many days.
  4. Hogan, C. M. (2010): Overfishing. Encyclopedia of Earth. National Council for Science and the Environment.
  5. วิมล เหมะจันทร. 2528. ปลาวัยอ่อน: ความรู้เบื้องต้น. ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล, คณะวิทยาศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 242 หน้า.
  6. Tanaka, F.; Iwatsuki, Y. (2015). "Amamiichthys, a new genus for the sparid fish Cheimerius matsubarai Akazaki 1962, and redescription of the species, with designation of a neotype". Zootaxa. 4007 (2): 195–206. doi:10.11646/zootaxa.4007.2.3.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]