ลิวซีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลิวซีน (อังกฤษ: leucine, Leu, L) คือกรดอะมิโนชนิดหนึ่งซึ่งจัดเป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถ สังเคราะห์ขึ้นเองได้ จึงต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคือ HO2CCH(NH2)CH2CH(CH3)2

ลิวซีน

สมบัติ[แก้]

ลิวซีนมีสูตรโมเลกุลคือ C6H13NO2 และมีความเป็นกรด ภายในโครงสร้างมีหมู่ฟังก์ชัน (functional group) ซึ่งประกอบด้วยหมู่อะมิโน 1 หมู่ และหมู่คาร์บอกซิลอีก 1 หมู่ มีมวลโมเลกุลเท่ากับ 131.17 g/mol

แหล่งอาหาร[แก้]

อาหารที่พบกรดอะมิโนลิวซีนในปริมาณสูงได้แก่ ไข่, ถั่วเหลือง, ปลา, สาหร่าย[1] เป็นต้น ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ได้ แต่สำหรับพืช ลิวซีนสามารถสังเคราะห์ได้จา กรดไพรูวิค (pyruvic acid)

ประโยชน์[แก้]

ลิวซีนมีประโยชน์ในการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการการเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายอย่างเช่นกระดูก, ผิวหนัง และกล้ามเนื้อ[2] นอกจากนี้ยังถูกใช้ในตับ, เนื้อเยื่อไขมัน (adipose tissue), และเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้ออีกด้วย ในเนื้อเยื่อไขมันและกล้ามเนื้อ ลิวซีนจะมีการเปลี่ยนรูปไปเป็นสเตอรอล (sterol)

กรดอะมิโนจำเป็นชนิดอื่น[แก้]

ในเด็กมีเพิ่มอีก 2 ตัว ดังนี้

อ้างอิง[แก้]

  1. http://nutritiondata.self.com/foods-000082000000000000000.html
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-25. สืบค้นเมื่อ 2012-08-12.