ลิมฟา
ลิมฟา (ละติน: Lympha, พหูพจน์ Lymphae) เป็นเทวภาพของน้ำบริสุทธิ์ในศาสนาโรมันโบราณ[1] โดยเป็นหนึ่งในสิบสองเทพเกษตรกรรม ซึ่งมาร์คัส เทเรนชีอัส วาร์โร นักปราชญ์โรมัน ได้บันทึกไว้ว่าทรงเป็น "ผู้นำ" (duces) ของเกษตรกรโรมัน เนื่องจาก "หากปราศจากน้ำแล้ว การเพาะปลูกทั้งหลายก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากความแห้งแล้งและอัตคัด"[2] บ่อยครั้ง ลิมฟามักจะเชื่อมโยงกับฟอนตัส เทพเจ้าแห่งน้ำพุและแหล่งต้นน้ำ ลิมฟาเป็นตัวแทนของ "การสนใจการนำไปใช้ประโยชน์" ของน้ำบริสุทธิ์ ตามกรอบความคิดการศึกษาเทพเจ้าโรมันของไมเคิล ลิปกา[3] หรืออาจหมายถึงความชื้นโดยรวม[4]
ลิมฟาอาจเทียบกับกับนิมฟ์ตามเทพปกรณัมกรีก แต่ไม่สามารถใช้แทนกันได้ทั้งหมด ข้อแตกต่างระหว่างลิมฟาและนิมพ์คือ การอุทิศให้กับการฟื้นฟูทรัพยากรน้ำเป็น "กาารอุทิศเพื่อนิมฟ์และยกย่องลิมฟา"[5] ในบทกวี ลิมฟาเป็นสามานยนาม ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักใช้ในรูปพหูพจน์ แต่ก็อาจพบใช้ในรูปเอกพจน์บ้างเช่นกัน โดยมีความหมายถึงแหล่งน้ำบริสุทธิ์ หรืออาจหมายถึง "น้ำ" อย่างง่าย ๆ ลิมฟาเป็นเทพที่เหมาะสมสำหรับบวงสรวงบูชาสำหรับการรักษาแหล่งน้ำ ในวิธีเดียวกับที่เทพลิเบอร์ทรงจัดหาไวน์หรือขนมปังเซเรส[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Floyd G. Ballentine, "Some Phases of the Cult of the Nymphs," Harvard Studies in Classical Philology 15 (1904), p. 90.
- ↑ Varro, De re rustica 1.1.4–7; Peter F. Dorcey, The Cult of Silvanus: A Study in Roman Folk Religion (Brill, 1992), p. 136.
- ↑ Michael Lipka, Roman Gods: A Conceptual Approach (Brill, 2009), p. 67.
- ↑ Patricia A. Johnston, "The Mystery Cults and Vergil's Georgics," in Mystic Cults in Magna Graecia (University of Texas Press, 2009), p. 268; Matthew Dillon and Lynda Garland, Ancient Rome: from the early Republic to the assassination of Julius Caesar (Routledge, 2005), p. 137.
- ↑ CIL 5.3106; Ballentine, "Some Phases," p. 95; Theodor Bergk, "Kritische bemerkungen zu den römische tragikern," Philologus 33 (1874), p. 269.
- ↑ Ballentine, "Some Phases," p. 91, citing Augustine, De civitate Dei 4.22, 34; 6.1.