ลิงกังดำ
ลิงกังดำ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Primates |
วงศ์: | Cercopithecidae |
สกุล: | Macaca |
สปีชีส์: | M. nigra |
ชื่อทวินาม | |
Macaca nigra (Desmarest, 1822) | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ (สีน้ำเงิน — ถิ่นกำเนิดดั้งเดิม, แดง — ถิ่นที่ถูกนำเข้า) |
ลิงกังดำ หรือ ลิงกังหงอนดำ (อังกฤษ: Black macaque, Crested black macaque; ชื่อวิทยาศาสตร์: Macaca nigra) เป็นลิงโลกเก่าชนิดหนึ่ง จำพวกลิงกัง
ลิงกังดำ มีขนสีดำตลอดทั่วทั้งตัวรวมถึงใบหน้าที่ไม่มีขน มีจุดเด่นคือ กลางกระหม่อมมีขนเป็นแผงเหมือนหงอน ซึ่งจะตั้งขึ้นได้เมื่อขู่ศัตรู และที่ก้นจะมีแผ่นหนังสีขาวดูเด่นใช้สำหรับรองนั่ง นอกจากนี้แล้วยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแสดงออกทางเพศ โดยเฉพาะในตัวผู้[2]
มีหางขนาดสั้นยาวเพียง 2 เซนติเมตรเท่านั้น (1 นิ้ว) ทำให้แลดูคล้ายลิงไม่มีหาง ลำตัวมีความยาวประมาณ 44 เซนติเมตร (17 นิ้ว) จนถึง 60 เซนติเมตร (24 นิ้ว) น้ำหนักประมาณ 3.6 ถึง 10.4 กิโลกรัม นับเป็นลิงประเภทลิงกังที่มีขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 20 ปี
อาศัยอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ราว 5-25 ตัว กระจายพันธุ์เฉพาะบนเกาะซูลาเวซี ในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น เป็นลิงที่กินส่วนต่าง ๆ ของพืชต่าง ๆ เป็นอาหารหลัก เป็นลิงที่ชาวพื้นเมืองบนเกาะซูลาเวซีใช้รับประทานเป็นอาหารเช่นเดียวกับทาร์เซีย ปัจจุบันมีจำนวนประชากรเหลือประมาณ 6,000 ตัวเท่านั้น[2]
เป็นลิงที่มีความเฉลียวฉลาด ในปี ค.ศ. 2011 ได้มีช่างภาพชาวตะวันตกผู้หนึ่งได้เข้าไปถ่ายรูปฝูงลิงกังดำในเขตป่าสงวนของเกาะซูลาเวซี ปรากฏว่าลิงไม่ได้มีท่าทีที่ก้าวร้าวเลย กลับกันกลับแสดงความเป็นมิตร และยังรู้จักที่จะถ่ายรูปตัวเองด้วยการยิ้มให้อีกต่างหาก[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Supriatna, J. & Andayana, N. (2008). Macaca nigra. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 4 January 2009.
- ↑ 2.0 2.1 The Real Gremlin, "Nick Baker's Weird Creatures". สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: ศุกร์ที่ 25 มกราคม 2556
- ↑ "ช่างภาพอึ้ง! จ๋ออิเหนาแอบฉกกล้อง กดชัตเตอร์ถ่ายรูปตัวเอง จากผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-28. สืบค้นเมื่อ 2013-01-25.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Macaca nigra ที่วิกิสปีชีส์