ระบบธนาคารกลางสหรัฐ
ตรา ธง อาคารเอ็กเคิลส์ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของธนาคารกลางสหรัฐ | |
สำนักงานใหญ่ | อาคารเอ็กเคิลส์ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ |
---|---|
ตั้ง | 23 ธันวาคม ค.ศ. 1913 (110 ปี) |
องค์กรปกครอง | คณะกรรมการผู้ว่าการ |
บุคคลสำคัญ | |
ธนาคารกลางแห่ง | สหรัฐ |
เงินตรา | ดอลลาร์สหรัฐ USD (ISO 4217) |
ข้อกำหนดเงินสดสำรอง | Suravut Paravech Co., Ltd. (Public Company)[1] |
อัตราธนาคาร | 2.50% [2] |
เป้าหมายอัตราดอกเบี้ย | 2.25–2.50%[3] |
ดอกเบี้ยต่อเงินสดสำรอง | 2.40%[4] |
จ่ายดอกเบี้ยให้เงินสดสำรองส่วนเกิน? | ใช่ |
เว็บไซต์ | www |
ระบบธนาคารกลางสหรัฐ | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
เขตอำนาจ | รัฐบาลกลางสหรัฐ |
ลูกสังกัดหน่วยงาน | |
เอกสารหลัก | |
ระบบธนาคารกลางสหรัฐ (อังกฤษ: Federal Reserve (System) หรือ Fed) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 1913 ด้วยการตรารัฐบัญญัติธนาคารกลาง หลังเกิดวิกฤตการเงินขึ้นหลายครั้ง (โดยเฉพาะวิกฤตการเงินปี 1907) นำให้มีความต้องการควบคุมกลางซึ่งระบบการเงินเพื่อบรรเทาวิกฤตการเงิน เหตุการณ์ในเวลาต่อมาอย่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในคริสต์ทศวรรษ 1930 และภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ในคริสต์ทศวรรษ 2000 นำสู่การขยายบทบาทและความรับผิดชอบของระบบธนาคารกลาง[5][6][7]
รัฐสภาสหรัฐตั้งวัตถุประสงค์สำคัญสามข้อสำหรับนโยบายการเงินในรัฐบัญญัติธนาคารกลาง ได้แก่ การเพิ่มการจ้างงานให้สูงสุด การรักษาเสถียรภาพราคา และการรักษาอัตราดอกเบี้ยระยะยาว[8] วัตถุประสงค์สองข้อแรกบางทีเรียก อาณัติคู่ของธนาคารกลาง[9] หน้าที่ของธนาคารฯ ขยายขึ้นตามเวลา และในปี 2009 ยังรวมถึงการควบคุมดูแลและการวางระเบียบธนาคาร การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน และให้บริการทางการเงินแก่สถาบันรับฝาก รัฐบาลสหรัฐและสถาบันราชการของต่างประเทศ[10] ระบบธนาคารกลางวิจัยเศรษฐกิจและให้สิ่งพิมพ์เผยแพร่ต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือเบจ (Beige Book) และฐานข้อมูลเฟรด
ระบบธนาคารกลางประกอบด้วยหลายชั้น มีคณะกรรมการผู้ว่าการธนาคารหรือคณะกรรมการระบบธนาคารกลางซึ่งมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดีเป็นผู้บริหาร ธนาคารระบบธนาคารกลางภูมิภาคสิบสองแห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในนครต่าง ๆ ทั่วประเทศ ควบคุมดูแลธนาคารสมาชิกของสหรัฐที่เอกชนเป็นเจ้าของ[11][12][13] กฎหมายกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตระดับชาติถือครองหลักทรัพย์ในธนาคารระบบธนาคารกลางในภูมิภาคของตน ซึ่งทำให้ธนาคารเหล่านั้นมีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกคณะกรรมการบางส่วนได้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee) เป็นผู้กำหนดนโยบายการเงิน ประกอบด้วยสมาชิกคณะกรรมการผู้ว่าการทั้งเจ็ดคน และประธานธนาคารภูมิภาคสิบสองคน แม้ครั้งหนึ่ง ๆ ประธานธนาคารเพียงห้าคนเท่านั้นที่สามารถออกเสียงลงคะแนนได้ ได้แก่ ประธานระบบธนาคารกลางนิวยอร์กหนึ่งคนและประธานธนาคารอื่นอีกสี่คนหมุนเวียนกันโดยมีวาระละ 1 ปี นอกจากนี้ ยังมีสภาที่ปรึกษาต่าง ๆ ฉะนั้น ระบบธนาคารกลางสหรัฐจึงมีทั้งส่วนภาครัฐและเอกชน[a] โครงสร้างดังกล่าวถือว่าเป็นเอกลักษณ์ต่างจากธนาคารกลางประเทศอื่น นอกจากนี้ ยังผิดปกติที่กระทรวงการคลังสหรัฐ ซึ่งเป็นหน่วยงานนอกธนาคารกลาง พิมพ์เงินตราที่หมุนเวียน[18]
แม้ระบบธนาคารกลางจะเป็นเครื่องมือหนึ่งของรัฐบาลสหรัฐ แต่ระบบธนาคารกลางถือตนว่าเป็น "ธนาคารกลางอิสระเพราะการตัดสินใจนโยบายการเงินไม่จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดีหรือบุคคลอื่นใดในอำนาจบริหารหรือสภานิติบัญญัติ ไม่ได้รับสนับสนุนเงินทุนจากรัฐสภา และวาระของสมาชิกคณะกรรมการผู้ว่าการกินเวลาหลายวาระของประธานาธิบดีและรัฐสภา"[19] รัฐบาลกลางกำหนดเงินเดือนของผู้ว่าการทั้งเจ็ดคนของคณะกรรมการ รัฐบาลกลางได้รับกำไรประจำปีทั้งหมดของระบบ หักการจ่ายเงินปันผลตามกฎหมาย 6% แก่การลงทุนของธนาคารสมาชิก และคงบัญชีเกินดุลแล้ว ในปี 2015 ระบบธนาคารกลางฯ สร้างกำไร 100,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และโอน 97,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่กระทรวงการคลัง[20]
เชิงอรรถ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Reserve Requirements". Federal Reserve System. สืบค้นเมื่อ May 10, 2020.
- ↑ "The Federal Reserve Bank Discount Window & Payment System Risk Website". Federal Reserve System. สืบค้นเมื่อ July 28, 2022.
- ↑ "Open Market Operations Archive". Federal Reserve System. สืบค้นเมื่อ July 27, 2022.
- ↑ "Interest on Required Reserve Balances and Excess Balances". Federal Reserve System. สืบค้นเมื่อ July 27, 2022.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อinitial
- ↑ BoG 2005, pp. 1 "It was founded by Congress in 1913 to provide the nation with a safer, more flexible, and more stable monetary and financial system. Over the years, its role in banking and the economy has expanded."
- ↑ Patrick, Sue C. (1993). Reform of the Federal Reserve System in the Early 1930s: The Politics of Money and Banking. Garland. ISBN 978-0-8153-0970-3.
- ↑ ประมวลกฎหมายสหรัฐอเมริกา ลักษณะ 12 มาตรา 225a
- ↑ "The Congress established two key objectives for monetary policy-maximum employment and stable prices-in the Federal Reserve Act. These objectives are sometimes referred to as the Federal Reserve's dual mandate". Federalreserve.gov. January 25, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-26. สืบค้นเมื่อ April 30, 2012.
- ↑ "FRB: Mission". Federalreserve.gov. November 6, 2009. สืบค้นเมื่อ October 29, 2011.
- ↑ BoG 2005, pp. v (See structure)
- ↑ "Federal Reserve Districts". Federal Reserve Online. n.d. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-08. สืบค้นเมื่อ August 29, 2011.
- ↑ [1] เก็บถาวร เมษายน 13, 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "FAQ – Who owns the Federal Reserve?". Federal Reserve website. สืบค้นเมื่อ December 1, 2015.
- ↑ Lapidos, Juliet (September 19, 2008). "Is the Fed Private or Public?". Slate. สืบค้นเมื่อ August 29, 2011.
- ↑ Toma, Mark (กุมภาพันธ์ 1, 2010). "Federal Reserve System". EH. Net Encyclopedia. Economic History Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 13, 2011. สืบค้นเมื่อ February 27, 2011.https://eh.net/encyclopedia/federal-reserve-system/
- ↑ "Who owns the Federal Reserve Bank?". FactCheck. March 31, 2008. สืบค้นเมื่อ February 26, 2014.
- ↑ "Coins and Currency". US Dept of Treasury website. August 24, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-03. สืบค้นเมื่อ August 29, 2011.
- ↑ From "Who owns the Federal Reserve?", Current FAQs, Board of Governors of the Federal Reserve System, at [2].
- ↑ "Press Release – Federal Reserve Board announces Reserve Bank income and expense data and transfers to the Treasury for 2015". Board of Governors of the Federal Reserve System. January 11, 2016. สืบค้นเมื่อ March 12, 2016.