ข้ามไปเนื้อหา

รณชีต สิงห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รณชีต สิงห์
มหาราชาแห่งปัญจาบ
มหาราชาแห่งละฮอร์
Sher-e-Punjab (สิงห์แห่งปัญจาบ)
Sarkar-i-Wallah (ประมุข)[1]
Sarkar Khalsaji (ประมุข)
จ้าวแห่งแม่น้ำทั้งห้าสาย
สิงห์ สาหิบ[2]
มหาราชา รันจิต สิงห์
มหาราชาองค์แรก แห่ง จักรวรรดิซิกข์
ครองราชย์1792 – 1801 หัวหน้า Sukerchakia Misl
1801 - 1839 จักรพรรดิ จักรวรรดิซิกข์
ราชาภิเษก12 เมษายน 1801 at ป้อมละฮอร์
ถัดไปมหาราชา ขารัข สิงห์
ประสูติ1780[3]
Gujranwala, ภูมิภาคปัญจาบ, Sukerchakia Misl สมาพันธรัฐซิกข์ (ปากีสถานในปัจจุบัน)
บุดะ สิงห์
สวรรคต27 มิถุนายน ค.ศ. 1839(1839-06-27) (58 ปี)
ละฮอร์, ภูมิภาคปัญจาบ, จักรวรรดิซิกข์ (ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน)
ฝังพระศพสมาธิของรณชีต สิงห์, ละฮอร์, ปากีสถาน
คู่อภิเษกดูรายชื่อด้านล่าง
พระราชบุตรมหาราชา ขารัข สิงห์
อิศาร สิงห์
มหาราชา เศอระ สิงห์
ทรา สิงห์
กัศมีรา สิงห์
เปเศวรา สิงห์
มูลทนา สิงห์
มหาราชา ทุลีป สิงห์
พระราชบิดามหา สิงห์
พระราชมารดาRaj Kaur
ศาสนาศาสนาซิกข์

มหาราชา รณชีต สิงห์ เป็นผู้นำของจักรวรรดิซิกข์ ซึ่งปกครองอนุทวีปอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ ราวศตวรรศที่ 19 ท่านเกือบเสียชีวิตด้วยโรคฝีดาษตั้งแต่ยังเป็นทารก แต่ท่านสามารถรอดมาได้แต่ด้วยพิษฝีดาษทำให้ท่านเสียตาข้างซ้ายไป ท่านเข้าสู่สนามรบตั้งแต่อายุเพียง 10 ปี รบเคียงข้างกับบิดาของท่าน มหา สิงห์ หลังมหา สิงห์ เสียชีวิตลง ท่านได้ยืนหยัดต่อสู้ต่อไปจนสามารถไล่ชาวอัฟกันออกจากบริเวณปัญจาบ และสถาปนาตนเองขึ้นเป็น "มหาราชาแห่งปัญจาบ" ด้วยวัยเพียง 21 ปี[4][5]

สภาพสังคมของปัญจาบในขณะนั้นประกอบด้วยแว่นแคว้น (misl; สมาพันธรัฐ) มากมาย 12 misl เป็นของซิกข์ และ 1 misl เป็นของมุสลิม[6] ท่านสามารถรวบรวมแว่นแคว้นทั้ง 13 เข้าด้วยกันและก่อตั้งจักรวรรดิซิกข์อันยิ่งใหญ่ขึ้น และยังสามารถรบชนะผู้รุกรานจากอัฟกานิสถานหลายต่อหลายครั้งในสงครามซิกข์-อัฟกันหลายครั้ง หลังการเข้ามาของบริทิชอินเดีย ท่านตกลงผูกมิตรกับชาวบริเทนและกลายมาเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัน[7]

ท่านนำพาการลงทุน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และปฏิรูปกิจการหลายอย่าง รวมทั้งนำสาธารณูปโภคมาสู่ปัญจาบ[8][9] กองทัพซิกข์ขาลสาของท่านนั้นขึ้นชื่อว่าแข็งแกร่ง และท่านยังจัดตั้งรัฐบาลที่ประกอบด้วยทั้งชาวซิกข์ ฮินดู มุสลิม และยุโรป[10] นอกจากความเจริญทางด้านการปกครองและสังคมแล้ว สมัยของท่านยังถือเป็นยุคทองของศิลปะและวัฒนธรรม ท่านมีคำสั่งให้สร้างหริมันทิรสาหิบในอมฤตสระ ขึ้นใหม่หลังถูกทำลายในสมัยจักรวรรดิมุสลิมและจากชาวอัฟกัน และยังให้มีการสร้างคุรุทวารามากมาย รวมถึงคุรุทวาราสำคัญหลายแห่ง ประกอบด้วย ตัขตะทั้งห้า จำนวน 2 แห่ง คือ ตัขตะศรีปัฏนาสาหิบ ใน พิหาร และ หซูระสาหิบ ใน มหาราษฏระ ทั้งหมดล้วนได้รับการสนับสนุนด้านการเงงินอย่างดีจากท่าน ทำให้เศรษฐกิจของปัญจาบมีการหมุนเวียนและเจริญขึ้นตามลำดับ[11][12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. The Sikh Army 1799–1849 By Ian Heath, Michael Perry(Page 3), "...and in April 1801 Ranjit Singh proclaimed himself Sarkar-i-wala or head of state...
  2. A history of the Sikhs by Kushwant Singh, Volume I(Page 195)
  3. S.R. Bakshi, Rashmi Pathak (2007). "1-Political Condition". ใน S.R. Bakshi, Rashmi Pathak (บ.ก.). Studies in Contemporary Indian History – Punjab Through the Ages Volume 2. Sarup & Sons, New Delhi. p. 2. ISBN 81-7625-738-9.
  4. Encyclopædia Britannica Eleventh Edition, (Edition: Volume V22, Date: 1910-1911), Page 892.
  5. Grewal, J. S. (1990). "Chapter 6: The Sikh empire (1799–1849)". The Sikh empire (1799–1849). The New Cambridge History of India. Vol. The Sikhs of the Punjab. Cambridge University Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-16. สืบค้นเมื่อ 2019-04-04.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Singh2008p9
  7. Patwant Singh (2008). Empire of the Sikhs: The Life and Times of Maharaja Ranjit Singh. Peter Owen. pp. 113–124. ISBN 978-0-7206-1323-0.
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ tejasingh65
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ kaushikroyp143
  10. Kaushik Roy (2011). War, Culture and Society in Early Modern South Asia, 1740–1849. Routledge. pp. 143–147. ISBN 978-1-136-79087-4.
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ lafontp95
  12. Kerry Brown (2002). Sikh Art and Literature. Routledge. p. 35. ISBN 978-1-134-63136-0.