ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการที่เอเดรียโนเปิล

พิกัด: 41°49′N 26°30′E / 41.81°N 26.50°E / 41.81; 26.50
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่เอเดรียโนเปิล
ส่วนหนึ่งของ สงครามกอทิก (ค.ศ.376-ค.ศ.382)
แผนที่การต่อสู้ตามแผนกประวัติศาสตร์ของสถาบันการกองทัพสหรัฐ
วันที่9 สิงหาคม ค.ศ.378
สถานที่41°49′N 26°30′E / 41.81°N 26.50°E / 41.81; 26.50
ผล ชาวฮันชนะสงคราม จักรพรรดิวาเล็นสเสด็จสวรรคตในสนามรบ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
ไบแซนไทน์เสียเอเดรียโนเปิลให้ชาวฮันแต่ก็สามารถยึดกลับมาได้
คู่สงคราม
ชาวฮัน จักรวรรดิไบแซนไทน์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ฟริตเกิร์น จักรพรรดิวาเล็นส 
กำลัง
12,000–15,000 นาย หรือ 20,000 นาย 15,000–20,000 นาย หรือ 25,000–30,000 นาย
ความสูญเสีย
ไม่ทราบจำนวน 10,000–15,000 หรือ 20,000 นาย

ยุทธการที่เอเดรียโนเปิล เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 378 บ้างรู้จักกันในชื่อ ยุทธการที่ฮาเดรียโนโปลิส เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของจักรวรรดิโรมันตะวันออก นำโดยจักรพรรดิวาเล็นส และชาวฮันที่นำโดยฟริตเกิร์น การสู้รบเกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับเอเดรียโนเปิล ในจังหวัดเทรซของโรมัน (ปัจจุบันคือเมืองเอดีร์แนในประเทศตุรกี) ศึกครั้งนี้จบลงด้วยชัยชนะของชาวฮัน และจักรพรรดิวาเล็นสพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ในสมรภูมิครั้งนี้ และศึกนี้เป็นส่วนหนึ่งของสงครามกอทิก (ค.ศ. 376–ค.ศ. 382) การรบครั้งนี้เป็นสาเหตุหนึ่งของการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในศตวรรษที่ 5

เบื้องหลัง

[แก้]

ในปีค.ศ. 376 ชาวกอทพลัดถิ่นและชาวฮันที่นำโดยฟริตเกิร์น เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณเหนือแม่น้ำดานูบและได้ขออนุญาตจักรวรรดิโรมันตะวันออกให้พวกเขาสามารถตั้งถิ่นฐานได้ ซึ่งจักรพรรดิวาเล็นสก็ได้ทรงอนุญาต และเป็นหนึ่งในพันธมิตรของตะวันออกได้ โดยชาวฮันต้องมาเป็นชาวนาและทหารให้กับทางจักรวรรดิ แต่เมื่อชาวฮันข้ามแม่น้ำดานูบเพื่อมาตั้งถิ่นฐาน ลูปิซินัสและแม็กซิมัส (ผู้ครองแคว้นบริเวณนั้น) ไม่พอใจที่ชาวฮันข้ามมาจึงก่อจลาจลต่อชาวฮันขึ้น

เมื่อจักรพรรดิวาเล็นสได้ทราบว่าลูปิซินัสและแม็กซิมัสก่อจลาจลต่อชาวฮัน จักรพรรดิวาเล็นสจึงติดต่อจักรพรรดิกราเชียนซึ่งเป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (เป็นพระราชนัดดาของพระองค์) ให้นำกำลังทหารมาเสริมกำลังที่ชายแดนทางตะวันออก จักรพรรดิกราเชียนจึงทรงส่งทหารพร้อมทั้งกำลังเสริมมาช่วยจักรพรรดิวาเล็นส ซึ่งใน ค.ศ. 378 สงครามจะอุบัติขึ้น

จบสงคราม

[แก้]

หลังจากที่มีกำลังเสริมจากทางตะวันตกแล้ว จักรพรรดิวาเล็นสทรงมั่นใจว่าพระองค์จะชนะในการรบครั้งนี้ แต่พระองค์กลับประมาท เพราะนี่เป็นสงครามแรกที่พระองค์ทำการบัญชาการรบ สุดท้ายจักรวรรดิโรมันตะวันออกก็พ่ายแพ้ต่อชาวฮัน ทำให้ชาวฮันสามารถยึดเอเดรียโนเปิลไว้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ในยุทธการครั้งนี้จักรพรรดิวาเล็นสเสด็จสวรรคตในสนามรบ ต่อมาโรมันตะวันออกได้มีจักรพรรดิพระองค์ใหม่นามว่า จักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 1

อ้างอิง

[แก้]
  1. Delbrück, Hans, 1980 Renfroe translation, The Barbarian Invasions, p. 276
  2. ^ Williams and Friell, p. 179
  3. ^ MacDowall, Simon, Adrianople AD 378, p. 59
  4. ^ Williams, S. Friell, G., Theodosius: The Empire at Bay. p. 177
  5. ^ Heather, Peter, 1999, The Goths, p. 135
  6. ^ Williams and Friell, p. 18
  7. ^ Williams and Friell, p. 19
  8. ^ Jump up to:a b c Zosimus, Historia Nova, book 4.
  9. ^ Ammianus Marcellinus, Historiae, book 31, chapters 12–14.
  10. ^ Ammianus Marcellinus, Historiae, book 31, chapters 3–9.
  11. ^ Ammianus Marcellinus, Historiae, book 31, chapters 7–11.
  12. ^ Ammianus Marcellinus, Historiae, book 31, chapter 11.
  13. ^ Socrates Scholasticus, Church History, book 1, chapter 38.
  14. ^ Ammianus Marcellinus, Historiae, book 31, chapters 10–11.
  15. ^ Jump up to:a b c d Ammianus Marcellinus, Historiae, book 31, chapter 12.
  16. ^ Roman Empire – Adrianople Archived 29 March 2007 at the Wayback Machine roman-empire.net. Illustrated History of the Roman Empire. Retrieved 2 April 2007.
  17. ^ Jump up to:a b Eastern Notitia Dignitatum, parts 5, 6, & 8.
  18. ^ Ammianus Marcellinus, Historiae, book 31, chapters 7 & 11