ยาเบื่อหนู
ยาเบื่อหนู (อังกฤษ: rodenticide) เป็นสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมสัตว์รังควาน ซึ่งถูกผลิตและจัดจำหน่ายโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อฆ่าสัตว์ฟันแทะ
ยาเบื่อหนูบางชนิดฆ่าสัตว์ฟันแทะทันทีเมื่อสัมผัส ในขณะที่สารบางชนิดอื่นต้องถูกสัมผัสมากกว่าหนึ่งครั้งถึงจะแสดงผล สัตว์ฟันแทะมักจะไม่กินอาหารที่แปลกใหม่ (สะท้อนกับการปรับตัวของสัตว์ฟันแทะที่ไม่สามารถอาเจียนอาหาร) แต่จะชิม รอและสังเกตว่าอาหารที่กินทำให้ตัวสัตว์เองหรือสัตว์อื่นป่วยหรือไม่[1][2] โดยพฤติกรรมการเข็ดขยาดต่อสารพิษ (poison shyness) ของสัตว์จะถูกรับมือด้วยสารพิษที่มีผลกับสัตว์เมื่อสัมผัสหลายครั้ง
นอกจากยาเบื่อหนูยังเป็นสารที่ก่อพิษโดยตรงกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่น สุนัข แมว และมนุษย์ สารเคมีกำจัดหนูยังสามารถก่อพิษทางอ้อมให้แก่สัตว์ที่ล่าหรือกินซากสัตว์ฟันแทะที่ตายจากสารเคมีกำจัดหนู
แบบใช้สารเคมี
[แก้]ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
[แก้]ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) มีความหมายคือสารที่ได้รับหลายครั้ง (ฆ่าสัตว์หลังจากหนึ่งถึงสองอาทิตย์ที่กินสารในปริมาณอันตราย มักไม่เร็วกว่านี้) การได้รับสารเพียงครั้งเดียว (ยารุ่นที่สอง) หรือหลายครั้ง (ยารุ่นที่หนึ่ง) ซึ่งทำหน้าที่ในกีดกันวงจรของวิตามินเคและก่อให้เกิดข้อบงพร่องในการผลิตสารที่มีผลของการให้เลือดแข็งตัว โดยส่วนใหญ่คือโพรทรอมบิน (prothrombin) โปรคอนเวอร์ติน (proconvertin)
นอกจากการก่อความบกพร่องในระบบอาหารแล้ว สารยาต้านการแข็งตัวของเลือด 4-ไฮดรอกซีคูมาริน (4-hydroxycoumarin) 4-ไธโอโครมเมนอน (4-thiochromenone) และอินดานไดโอน (indandione) ยังสามารถสร้างความเสียหายให้แก่หลอดเลือดฝอยเมื่อสัตว์กินสารเป็นจำนวนมาก โดยสารนี้ทำให้การผ่านของสารอื่น ๆ ในเส้นเลือดง่ายขึ้น จนกระทั่งเกิดการตกเลือดภายใน ผลกระทบเหล่านี้เกิดขึ้นเรื่อยในเวลาหลายวัน จนกระทั่งเมื่อถึงการก่อพิษขั้นสุดท้าย สัตว์ฟันแทะจะเหนื่อยล้าและล้มลงเนื่องจากภาวะของเหลวในกระแสเลือดลดลงหรือโลหิตจาง และตายอย่างสงบ ข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้สารเหล่านี้เพื่อกำจัดสัตว์ฟันแทะเป็นวิธีที่ปรานีหรือไม่ ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น[3]
ข้อได้เปรียบของการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดเพื่อกำจัดหนูคือระยะเวลาสำหรับสารพิษที่ออกฤทธิ์และฆ่าสัตว์ ซึ่งหมายความว่าสัตว์ฟันแทะจะไม่รู้ตัวว่าสารพาที่กินเป็นสิ่งที่ก่อความเสียหายภายในร่างกายของมันเอง
- สารยาต้านการแข็งตัวของเลือดรุ่นแรกมักจะมีความเป็นพิษน้อยกว่ารุ่นสอง โดยการที่จะให้สารนั้นมีฤทธิ์ได้ สารจะต้องมีความเข้มข้นที่สูง (มักจะอยู่ประมาณร้อยล่ะ 0.1-0.005 ) และต้องถูกกินเป็นบ่อยครั้งเพื่อที่จะให้สารพิษนั้นสะสมในระดับอันตราย[4]
- สารยาต้านการแข็งตัวของเลือดรุ่นสองมักมีความเป็นพิษมากกว่ารุ่นแรก โดยสารรุ่นนี้สามารถถูกใช้งานโดยมีความเข้มข้นต่ำ (มักจะอยู่ประมาณร้อยล่ะ 0.005-0.001) และเป็นพิษพอที่สัตว์ฟันแทะกินครั้งเดียวแล้วมีผลกระทบ นอกจากนี้แล้วสารรุ่นนี้ยังสามารถใช้เพื่อรับมือสัตว์ฟันแทะที่ดื้อยารุ่นแรก[5]
วิตามินเค-1 สามารถใช้เพื่อเป็นยาแก้พิษสำหรับสัตว์เลี้ยงหรือมนุษย์ที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด สารพิษเหล่านี้ทำหน้าที่โดยปิดกั้นการทำงานของตับ และในกรณีที่อยู่ในขั้นติดพิษที่สูง ร่างกายจะไม่มีสารที่มีผลของการให้เลือดแข็งตัวหลายชนิด และปริมาณของเลือดที่หมุนเวียนจะหายไป เพราะฉะนั้นการให้เลือด (ซึ่งมีสารที่มีผลของการให้เลือดแข็งตัว) สามารถช่วยชีวิตสัตว์ที่ได้รับสารพิษได้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Horns, Charles C.; Kimball, Bruce A.; Wang, Hong; Kaus, James; Dienel, Samuel; Nagy, Allysa; Gathright, Gordon R.; Yates, Bill J.; Andrews, Paul L. R. (2013). "Why can't rodents vomit? A comparative behavioral, anatomical, and physiological study". PloS one. doi:10.1371/journal.pone.0060537.
- ↑ "How do rats choose what to eat?".
- ↑ Meerburg BG, Brom FW, Kijlstra A (2008). "The ethics of rodent control". Pest Manag Sci. 64 (12): 1205–11. doi:10.1002/ps.1623. PMID 18642329.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] - ↑ Vandenbroucke V, Bousquet-Melou A, De Backer P, Croubels S (October 2008). "Pharmacokinetics of eight anticoagulant rodenticides in mice after single oral administration". J. Vet. Pharmacol. Ther. 31 (5): 437–45. doi:10.1111/j.1365-2885.2008.00979.x. PMID 19000263.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] - ↑ Kotsaftis P, Girtovitis F, Boutou A, Ntaios G, Makris PE (September 2007). "Haemarthrosis after superwarfarin poisoning". Eur. J. Haematol. 79 (3): 255–7. doi:10.1111/j.1600-0609.2007.00904.x. PMID 17655702.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]