ยานสำรวจน้ำลึก
ยานสำรวจน้ำลึก (อังกฤษ: bathyscaphe) เป็นเรือใต้ทะเลลึกดำอิสระขับเคลื่อนด้วยตนเอง ประกอบด้วยเคบินลูกเรือทรงกลมคล้ายกับเครื่องดำน้ำทรงกลม แต่ถูกแขวนไว้ใต้เคบิลลอยแทนที่จะเป็นเคเบิลพื้นผิว อันเป็นรูปแบบที่ใช้ในเครื่องดำน้ำทรงกลมดั้งเดิม[1]
ยานสำรวจน้ำลึกดังกล่าวจะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากสามารถจัดหาได้ ลอยตัว และไม่สามารถถูกอัดได้สำหรับจุดประสงค์ในการใช้งานทุกประการ คุณสมบัติของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่สามารถถูกอัดได้หมายความว่าตัวถังสามารถสร้างขึ้นโดยไม่ต้องมีความหนามากนัก เนื่องจากความดันภายในและภายนอกตัวถังเท่ากัน และไม่จำเป็นต้องทนกับความแตกต่างของความดันแต่อย่างใด แต่ตรงกันข้ามกับเคบินลูกเรือที่ต้องสามารถทนความแตกต่างของความดันอย่างมหาศาล และจะต้องมีการสร้างในมีความหนา การลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยการแทนที่น้ำมันเชื้อเพลิงด้วยน้ำ ซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่า
ออกุสเต ปิการ์ ผู้ประดิษฐ์ยานสำรวจน้ำลึกลำแรก ตั้งชื่อ bathyscaphe โดยใช้คำภาษากรีกโบราณ βαθύς (ลึก) และ σκάφος (เรือ)
รูปแบบการทำงาน
[แก้]ในการดำ ยานสำรวจน้ำลึกจะสูบเอาน้ำทะเลเข้าไปในถังอากาศ แต่ไม่เหมือนกับเรือดำน้ำตรงที่น้ำที่ถูกสูบเข้ามาในถังอากาศแล้วไม่สามารถแทนที่ด้วยการอัดอากาศเพื่อลอยตัวกลับขึ้นสู่ผิวน้ำได้ เนื่องจากความดันของน้ำที่ระดับความลึกซึ่งยานสำรวจน้ำลึกถูกออกแบบมาให้ปฏิบัติหน้าที่นั้นมีสูงเกินไป ยกตัวอย่างเช่น ความดันน้ำที่ก้นแชลเลนเจอร์ดีปสูงกว่าความดันในถังบรรจุแก๊สอัด "ประเภทเอช" มาตรฐานถึงเจ็ดเท่า ดังนั้น อับเฉาเรือจะถูกปล่อยเพื่อให้ลอยตัว นี่เป็นอุปกรณ์ป้องกันภัยเนื่องจากมันไม่ต้องการพลังงานในการลอยขึ้น และในกรณีที่เกิดพลังงานขัดข้อง อับเฉาจะตกลงไปโดยแรงโน้มถ่วงและการลอยตัวจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ