มัคคุเทศก์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มัคคุเทศก์ หรือไกด์ เป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ ข้อมูล ความเข้าใจทางด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์ร่วมสมัยต่างๆแก่บุคคลที่อยู่ในกลุ่มท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวเอกเทศ หรือนักท่องเที่ยวในกรณีทัศนศึกษาที่สถานีทางศาสนาหรือประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ และสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจอื่นๆ[1] มัคคุเทศก์ส่วนใหญ่จะได้รับการรับรองจากองค์กรที่เกี่ยวข้องก่อนเข้าทำงาน ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละประเทศและภูมิภาค

ตามสมาคมมาตรฐานยุโรป คำจำกัดความของคำว่า "มัคคุเทศก์" คือ:

บุคคลที่นำพาซึ่งผู้เยี่ยมชมในภาษาที่ผู้เยี่ยมชมเลือกและอธิบายซึ่งวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติของพื้นที่นั้นๆ โดยบุคคลนั้นมักมีหนังสือรับรองคุณวัฒิที่ออกให้โดยหรือยอมรับโดยทางการ[ต้องการอ้างอิง]

การรองรับคุณวุฒิการนำเที่ยวถือเป็นสิ่งจำเพาะของแต่ละประเทศและในแต่ละเหตุการณ์ ในบางกรณี การรับรองนี้อยู่ในระดับประเทศ ในบางกรณี อยู่ในระดับภูมิภาค ในทุกกรณี การนำเที่ยวมักขึ้นอยู่กับหลักจริยธรรมและศีลธรรมในการศึกษาและการฝึกงานของประเทศนั้นๆ ศิลปะการนำเที่ยวถือเป็นงานฝีมือ ต้องมีความสามารถในการรับรู้และเลือกบอกข้อมูลให้แต่ละกลุ่มผู้ฟัง ความสามารถในการส่งต่อข้อมูลโดยใช้วิธีที่ง่ายและตรงไปตรงมา ความสามารถที่จะให้ผู้มาเที่ยวเห็นและรับรู้ด้วยตัวเองในเวลาเดียวกัน

ประเภทของมัคคุเทศก์ไทย[แก้]

มัคคุเทศก์ทั่วไป[แก้]

มัคคุเทศก์ทั่วไป บัตรสีบรอนซ์เงิน

มัคคุเทศก์เฉพาะภูมิภาค[แก้]

เฉพาะภูมิภาค ภาคกลาง บัตรสีเหลือง
เฉพาะภูมิภาค ภาคเหนือ บัตรสีเขียว
เฉพาะภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บัตรสีส้ม
เฉพาะภูมิภาค ภาคใต้ บัตรสีฟ้า

มัคคุเทศก์ท้องถิ่น[แก้]

มัคคุเทศก์ท้องถิ่น บัตรสีน้ำตาล

อ้างอิง[แก้]

ข้อควรรู้[แก้]

"มัคคุเทศก์" เป็นการผสมคำซึ่งเป็นสมาสของคำว่า "มรรค" หรือ "มคค" (ทาง) กับคำว่า "อุทเทสก" (ผู้ชี้แจง) โดยสรุปได้เป็นคำจำกัดความว่า มัคคุเทศก์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]