มะไฟจีน
มะไฟจีน | |
---|---|
ผลมะไฟจีน | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
อาณาจักรย่อย: | Tracheobionta |
Superdivision: | Spermatophyta |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
ชั้นย่อย: | Rosidae |
อันดับ: | Sapindales |
วงศ์: | Rutaceae |
สกุล: | Clausena |
สปีชีส์: | C. lansium |
ชื่อทวินาม | |
Clausena lansium (Lour.) Skeels |
มะไฟจีน หรือส้มมะไฟ (wampee ซึ่งได้จากชื่อพ้อง Clausena wampi (Blanco), D. Oliver) เป็นพืชตระกูลสัมชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายมะไฟ ในภาษาจีนเรียกว่า หวงผี (黄皮, พินอิน:huángpí) แปลว่า (ผลไม้)ผิวสีเหลือง
มะไฟจีนเป็นไม้ไม่ผลัดใบ ต้นสูงประมาณ 3-8 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม ผลมีลักษณะคล้ายกับมะไฟ คือเป็นพวง แต่เปลือกจะบางกว่าและมีรสเฝื่อนเล็กน้อยเนื่องจากมีต่อมน้ำมัน เนื้อในรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานสดหรือนำไปแปรรูปได้ ภายในมีเมล็ดตั้งแต่ไม่มีไปจนถึง 5 เมล็ด เมล็ดมีรูปทรงแบนรีสีเขียว ปลายแหลมสีน้ำตาล มะไฟจีนขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมคือดินที่มีการระบายน้ำพอสมควร นอกจากนี้ ยังต้องให้น้ำด้วยถ้าหากอากาศแล้งมาก มะไฟจีนเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดตลอดทั้งปี และอากาศไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป นิยมปลูกกันมากทางภาคใต้ของจีน ภาคเหนือของเวียดนาม และที่จังหวัดน่าน
การใช้ประโยชน์
[แก้]เป็นไม้พื้นเมืองและปลูกทั่วไปทางตอนใต้ของจีนและเวียดนาม มีผู้นำมาปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศรวมทั้งในอินเดีย ศรีลังกา ออสเตรเลีย สหรัฐ รับประทานผลสุก เนื้อใช้ทำแยมหรือพาย ผลดิบเปรี้ยวใช้ทำเยลลี่ ไวน์ ผลดิบตากแห้งและรากเป็นยารักษาหลอดลมอักเสบ ใบต้มเคี่ยวกับน้ำใช้สระผม แก้รังแคและรักษาสีผม[1]
ชาวจีนกล่าวว่าผลตากแห้งหรือเชื่อมแห้งสามารถใช้รับประทานแก้หวัด แก้ไอ หรือแก้พิษร้อน ใบสามารถนำไปทำยาขจัดรังแค และรักษาสีผมให้ดำสนิทได้
ภาพ
[แก้]-
มะไฟจีนพันธุ์ไม่มีเมล็ด
-
ดอกมะไฟจีนในฮ่องกง
-
ผลดิบของมะไฟจีน
-
เมล็ดมะไฟจีน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2: ไม้ผลและไม้ผลเคี้ยวมัน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544.หน้า 191
- Morton, J. 1987. Wampee. p. 197–198. In: Fruits of warm climates. Julia F. Morton, Miami, FL. (เข้าถึงได้จาก http://www.hort.purdue.edu/newcrop/morton/wampee.html วันที่ 1 พฤษภาคม 2554)
- ฐานข้อมูลพืชเศรษฐกิจของ FAO เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- "มะไฟจีน อีกหนึ่งของดีคู่เมืองน่าน" ใน ผู้จัดการออนไลน์, 2 มกราคม 2551[ลิงก์เสีย]