ข้ามไปเนื้อหา

มองโกลอยด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่การจำแนกเผ่าพันธุ์มนุษย์ ในสารานุกรมภาษาเยอรมันชื่อ "Meyers Konversations-Lexikon" (ปี ค.ศ. 1885-90)
คอเคซอยด์ (Caucasoid):
  อารยัน (Aryan)
  เซมิติก (Semitic)
  เฮมิติก (Hamitic)
นิกรอยด์ (Negroid):
  นิโกร (African Negro)
  โคยโคย (Khoikhoi)
  เมลานีเชีย (Melanesian)
  เนกริโต (Negrito)
  ออสตราลอยด์ (Australoid)
ระบุไม่ได้:
  ดราวิเดียน (Dravida) & สิงหล (Sinhalese)
มองโกลอยด์ (Mongoloid):
  มองโกลเหนือ (North Mongol)
  จีน (Chinese) & อินโดจีน (Indochinese)
  ญี่ปุ่น (Japanese) & เกาหลี (Korean)
  ทิเบต (Tibetan) & พม่า (Burmese)
  มาเลย์ (Malay)
  โพลีนีเชียน (Polynesian)
  เมารี (Maori)
  ไมโครนีเชีย (Micronesian)
  เอสกิโม (Eskimo)
  ชนพื้นเมืองอเมริกา (American)
ชาวญี่ปุ่น

มองโกลอยด์ (อังกฤษ: Mongoloid) คือ คำจำกัดความของกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียเหนือ เอเชียใต้ อาร์กติก ทวีปอเมริกา และหมู่เกาะแปซิฟิก และเป็นส่วนหนึ่งของ "Three Great Races"(3 เผ่าพันธุ์หลัก) ตามแนวคิดของ Georges Cuvier นักธรรมชาติวิทยาและนักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ร่วมกับเผ่าพันธุ์คอเคซอยด์และนิกรอยด์ คำว่า มองโกลอยด์ เป็นการผสมคำระหว่างคำว่า มองโกล (Mongol) หมายถึงชาติพันธุ์มองโกลในเขตทุ่งหญ้าสเตปป์ของภูมิภาคเอเชียเหนือและประเทศมองโกเลียในปัจจุบัน กับ οειδές (-ออยเดส) หรือ είδες (-อิเดส) ในภาษากรีกโบราณ แปลว่า มีรูปแบบของ, มีลักษณะของ เมื่อรวมกันจึงมีความหมายถึง "เผ่าพันธุ์ที่มีลักษณะเหมือนชาวมองโกล"

ชาติพันธุ์ในกลุ่มมองโกลอยด์จะมีลักษณะของฟีโนไทป์บางประการที่แสดงออกร่วมกัน อาทิ Epicanthic folds (ชั้นหนังเปลือกตาบนที่พับปิดบริเวณมุมของหัวตา), มีลักษณะทางทันตกรรมแบบ sinodonty, รูปร่างลักษณะบางอย่างเหมือนเด็กแม้ในวัยผู้ใหญ่ (Neoteny), Oblique palpebral fissures (ช่องว่างระหว่างเปลือกตาบนและล่างที่มีลักษณะเฉียง), จุดมองโกเลียยังเป็นสิ่งที่ค่อนข้างพบมากในเด็กแรกเกิดจนถึง 4 ขวบ, เส้นผมสีดำและเหยียดตรง, ม่านตาสีน้ำตาลเข้ม, ดวงตารูปเมล็ดอัลมอนด์ และมิติของใบหน้าค่อนข้างแบนเมื่อเทียบกับคอเคซอยด์เป็นต้น

แนวคิดเกี่ยวกับเผ่าพันธุ์มองโกลอยด์ในอดีตถูกมองว่าใช้ลักษณะการจำแนกแบบอนุกรมวิธานหรือทำให้ชาติพันธุ์ในกลุ่มมองโกลอยด์กลายเป็นสิ่งมีชีวิตต่างสายวิวัฒนาการ การจำกัดความของคำว่า "มองโกลอยด์" จึงยังเป็นข้อถกเถียงและไม่นิยมใช้ในกลุ่มนักมานุษยวิทยาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน

การศึกษาพันธุศาสตร์และมานุษยวิทยาที่หลากหลายได้ข้อสรุปว่ามีสามเผ่าพันธุ์ การศึกษาในปี 2019 โดยหยวนพบว่าคนมองโกลอยด์ (ชาวเอเชียตะวันออก) มีลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นเอกลักษณ์[1]

การศึกษาทางพันธุกรรมของเฉิน (2020) พบหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับต้นกำเนิดที่เป็นเอกลักษณ์ของเผ่าพันธุ์มองโกลอยด์ พวกเขาสรุปว่าหลักฐานทางพันธุกรรมใหม่ขัดแย้งกับ "ผู้อพยพชาวต่างชาติจากแอฟริกา" พวกเขาเชื่อว่าเผ่าพันธุ์มองโกลอยด์มีต้นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้[2]

ลักษณะของชาวมองโกลอยด์ คือ มีผิวเหลืองหรือน้ำตาล ผมเหยียดตรง เส้นผมค่อนข้างหยาบ ขนตามตัวมีน้อย ศีรษะค่อนข้างกลมและแบน รูปหน้ากลม จมูกไม่กว้าง ไม่โด่ง โหนกแก้มนูนเห็นได้ชัดเจน เบ้าตาตื้น เปลือกตาอูม รูปตาเรียว นัยตาสีน้ำตาลหรือสีดำ ริมฝีปากบาง

อ้างอิง

[แก้]