ข้ามไปเนื้อหา

ภูมิพลินทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภูมิพลินทร์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Angiosperms
ชั้น: Eudicots
อันดับ: Asterids
วงศ์: Gesneriaceae
สกุล: Paraboea
สปีชีส์: Paraboea bhumiboliana
ชื่อทวินาม
Paraboea bhumiboliana
Triboun & Chuchan

ภูมิพลินทร์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Paraboea bhumiboliana Triboun & Chuchan)[1][2] พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระปรมาภิไธย[3] ในชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชในวงศ์ชาฤๅษี (Gesneriaceae)[4] ซึ่งเป็นพืชชนิดแรกของไทย และเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก (New Species) ที่นักอนุกรมวิธานพืชจากกรมวิชาการเกษตร และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแม่ปิง จัดเป็นพืชหายากและพืชถิ่นเดียว พบเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น (endemic species) โดย ดร.ปราโมทย์ ไตรบุญ และนายฐิติพันธ์ จูจันทร์ ร่วมกันสำรวจและค้นพบบริเวณแก่งหินปูน ในเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอุทยานแห่งชาติแม่ปิง จังหวัดลำพูน เมื่อปี พ.ศ. 2552[5][6] พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อพรรณไม้ว่า “ภูมิพลินทร์” แปลว่า พรรณไม้ที่เป็นศรีสง่าแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554 [7][8][9]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก แผ่นใบรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-6 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบรูปลิ่ม ใต้ใบปกคลุมด้วยขนเหมือนใยแมงมุม สีขาว ก้านใบยาว 3-7 มิลลิเมตร

ช่อดอก แบบช่อกระจุกเชิงประกอบ ออกด้านเดียว สั้น เกิดที่ยอดหรือใบใกล้ปลายกิ่ง ใบประดับรองรับดอก รูปเกือบกลมถึงรูปไข่กว้าง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปไข่กว้าง สีชมพูหรือสีม่วงอ่อน ภายในโคนหลอดมีแต้มสีเหลือง

ผล แบบผลแห้งแตก รูปคล้ายกระสวย เมื่อผลแก่จะบิดเป็นเกลียว ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พรรณไม้งามพระนามราชสกุลมหิดล ตอนที่ ๒
  2. “พรรณไม้พระนาม”ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
  3. ๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๕ ปี
  4. 3 พรรณไม้พระนาม
  5. สำนักพระราชดำริและเฉพาะกิจ
  6. "ทำความรู้จัก 14 พรรณดอกไม้แทนใจ ถวายในหลวงรัชกาลที่ 9". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2019-05-08.
  7. การศึกษาพรรณไม้วงศ์ Balsaminaceae และGesneriaceae บริเวณเทือกเขาหินปูน
  8. "พืชชนิดใหม่ของโลกได้รับพระราชทานชื่อ 3 ชนิด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-04. สืบค้นเมื่อ 2018-11-27.
  9. พรรณไม้ที่เป็นศรีสง่าแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[ลิงก์เสีย]