ภาษามองโกลคามนิกัน
หน้าตา
ภาษามองโกลคามนิกัน | |
---|---|
ประเทศที่มีการพูด | จีน, รัสเซีย, มองโกเลีย |
ภูมิภาค | ที่ราบลุ่มแม่น้ำโอนอน–แม่น้ำอาร์กุน ทรานส์ไบกาเลีย |
จำนวนผู้พูด | unknown (undated figure of 2,000 คน) |
ตระกูลภาษา | กลุ่มภาษามองโกล
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | (อยู่รวมกับภาษามีเวนกี, แม่แบบ:Ethnolink) |
นักภาษาศาสตร์ | 1lj |
ภาษามองโกลคามนิกัน (Khamnigan) เป็นภาษาในกลุ่มภาษามองโกลที่ใช้พูดในบริเวณทะเลสาบไบกัลป์ ชาวคามนิกันปกติเป็นผู้ที่พูดได้สองภาษา คือพูดได้ทั้งภาษาในกลุ่มภาษามองโกลและกลุ่มภาษาตังกูสิต โดยภาษากลุ่มตันกูสิตที่พูดคือภาษาอีเวนกี ส่วนภาษาคามนิกันเป็นภาษาในกลุ่มภาษามองโกลที่มีลักษณะเป็นเอกเทศ ไม่ได้เป็นสำเนียงของภาษามองโกลหรือภาษาบูรยัตที่ใช้พูดในรัสเซียหรือมองโกเลีย
การใช้ภาษานี้ในรัสเซียกำลังลดลง เหลือผู้พูดอยู่น้อยแต่สถานะในมองโกเลียยังไม่แน่ชัด แต่กลุ่มชนในจีนยังคงใช้ทั้งสองภาษาอยู่ ภาษาอีเวนกีที่ชาวคามนิกันใช้จะได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มมองโกลมาก โดยเฉพาะการใช้คำศัพท์ ส่วนภาษามองโกลจะเป็นภาษาที่มีลักษณะอนุรักษนิยมมาก และได้รับอิทธิพลจากภาษาอีเวนกีน้อย แม้จะมีระบบไวยากรณ์พหูพจน์แบบภาษาอีเวนกี ซึ่งภาษากลุ่มมองโกลอื่นๆไม่มี[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Juha Janhunen, 2003. "Khamnigan Mongol". In The Mongolic Languages