ภาษาตูลู
ภาษาตูลู | |
---|---|
ತುಳು | |
ประเทศที่มีการพูด | อินเดีย |
ภูมิภาค | ตูลู นาดู ส่วนใหญ่อยู่ทางตะวันตกของ การณตกะ และพบทั่วไปในเกราลา |
จำนวนผู้พูด | น้อยกว่า 2 ล้านคน (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | ดราวิเดียน
|
ระบบการเขียน | อักษรกันนาดา, อักษรตูลู (ติคาลาริ) |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | tcy |
ภาษาตูลู เป็นภาษาตระกูลดราวิเดียน มีผู้พูดน้อยกว่า 2 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในทักษิณะ กันนาดา และอุทุปี ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของรัฐการณตกะ มีบางส่วนอยู่ใน กสารคท รัฐเกราลา อักษรเดิมที่ใช้เขียนภาษานี้ คล้ายอักษรมลยาฬัม แต่มีใช้น้อย ส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรกันนาดา[1] ยังเป็นข้อโต้แย้งอยู่ว่า อักษรตูลู เป็นต้นกำเนิดของอักษรมลยาฬัมหรือไม่ แต่หลักฐานจากจารึกของทั้งสองภาษา แสดงให้เห็นว่า ภาษาตูลูเก่ากว่า การเขียนภาษาตูลูด้วยอักษรกันนาดา ริเริ่มโดยมิชชันนารีชาวเยอรมันเมื่อราว พ.ศ. 2400
การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์
[แก้]บริเวณที่มีผู้พูดภาษาตูลูกระจายตัวอยู่คือ ทักษิณ กันณฑะ และตำบลอุทุปี กสรคทเหนือ
อักษร
[แก้]ในพุทธศตวรรษที่ 24 มิชชันนารีใช้อักษรกันนาดาในการแปลภาษาตูลู ส่วนใหญ่แล้ว ภาษาตูลูเขียนด้วยอักษรกันนาดาเพราะคนส่วนใหญ่เรียนภาษากันนาดาในโรงเรียนในขณะเดียวกันมีความพยายามที่จะรื้อฟื้นอักษรโบราณของภาษาตูลูหรืออักษรตูลูซึ่งมีลักษณะคล้ายอักษรมลยาฬัมขึ้นใหม่ แต่การใช้อักษรดั้งเดิมพบได้น้อย [1][2] จารึกภาษาตูลูพบได้ในบริเวณรอบๆหมู่บ้านพัรกุร
ลักษณะของภาษา
[แก้]การสืบหาจุดกำเนิดของภาษานี้ค่อนข้างยาก นักวิชาการบางคนจัดให้ภาษาตูลูอยู่ในตระกูลภาษาดราวิเดียนและเป็นภาษาที่เก่าที่สุด โดยทั่วไป ภาษาตูลูมีสองสำเนียงคือ ศิวัลลีและสำเนียงทั่วไป แต่ในการวิเคราห์การออกเสียงจะแบ่งเป็นสี่สำเนียงคือ
- สำเนียงพราหมณ์หรือศิวัลลี พูดโดยพราหมณ์ชาวตูลู[3]
- สำเนียงเชน พูดโดยผู้นับถือศาสนาเชน ทางเหนือของตูลู นาดู
- สำเนียงทั่วไป ใช้พูดในพ้นที่ส่วนใหญ่ของของตูลู นาดู เป็นสำเนียงที่ใช้ในการค้าและการละเล่น
- สำเนียงตริพัล ใช้พูดโดยชาวตริพัล ใกล้เคียงกับสำเนียงทั่วไป
ภาษาตูลูไม่มีการสอนในโรงเรียนและยังไม่ได้รับการยอมรับในฐานะภาษาราชการของอินเดีย จัดเป็นภาษาที่ใกล้ตาย.[4][5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Steever, Sanford B. (1998). The Dravidian Languages. Taylor & Francis. p. 162. ISBN 0415100232.
- ↑ Radhika, M. (2005-10-08). "Dharam Singh pushes for Tulu rights". Tehelka. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-12. สืบค้นเมื่อ 2008-11-03.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Tulunadu and Tulu community around the world - www.tuluver.com - Home
- ↑ Kurzon, Dennis (2004). Where East Looks West. Multilingual Matters. p. 115. ISBN 1853596736.
- ↑ Moseley, Christopher (2007). Encyclopedia of the World's Endangered Languages. Routledge. p. 345. ISBN 9780700711970.