ข้ามไปเนื้อหา

ฟิสิกส์วิศวกรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Animation of Physics

ฟิสิกส์วิศวกรรม (อังกฤษ: Engineering Physics) คือการศึกษาสาขาวิชารวมกันของฟิสิกส์ วิศวกรรมและคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาความเข้าใจในความสัมพันธ์ของทั้งสามสาขา ฟิสิกส์พื้นฐานจะถูกรวมกับการแก้ปัญหาและทักษะด้านวิศวกรรมซึ่งจะมีการใช้งานในวงกว้าง เส้นทางอาชีพฟิสิกส์วิศวกรรมมักจะกว้างด้าน "วิศวกรรม, วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือฟิสิกส์ประยุกต์ ผ่านการวิจัย การเรียน การสอนหรือผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรม" สหวิทยาการความรู้นี้ถูกออกแบบมาสำหรับนวัตกรรมของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ภาพรวม

[แก้]
ภาพที่สร้างโดยห้องปฏิบัติการฟิสิกซ์สถานะของแข็งประยุกต์, แผนกฟิสิกซ์ประยุกต์, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยฮอปไกโด

ฟิสิกส์วิศวกรรมแตกต่างจากสาขาวิชาวิศวกรรมแบบดั้งเดิม วิทยาศาสตร์วิศวกรรมหรือฟิสิกส์วิศวกรรมไม่ได้จำกัดว่า จำเป็นต้องเฉพาะสาขาของวิทยาศาสตร์หรือฟิสิกส์ แต่วิทยาศาสตร์วิศวกรรมหรือฟิสิกส์วิศวกรรมจะหมายถึงการให้พื้นฐานอย่างละเอียดมากขึ้นในวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ที่ถูกเลือกนำมาใช้เป็นการพิเศษเช่นทัศนศาสตร์, ควอนตัมฟิสิกส์, วัสดุศาสตร์, กลศาสตร์ประยุกต์, นาโนเทคโนโลยี, ประดิษฐกรรมไมโคร, วิศวกรรมเครื่องกล, วิศวกรรมไฟฟ้า, ชีวฟิสิกส์, ทฤษฎีการควบคุม, อากาศพลศาสตร์, พลังงาน, ฟิสิกส์ solid-state[1] ฯลฯ เป็นวินัยที่ทุ่มเทให้กับการสร้างและการเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบโจทย์ด้านวิศวกรรมโดยอาศัยความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นและการประยุกต์ใช้แบบบูรณาการทางคณิตศาสตร์, สถิติ, วิทยาศาสตร์และหลักการวิศวกรรม ระเบียบวินัยดังกล่าว ยังมีความหมายถึงการข้ามหน้าที่การทำงานและเชื่อมช่องว่างระหว่างทฤษฎีวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมภาคปฏิบัติด้วยการเน้นความสำคัญในการวิจัยพัฒนา การออกแบบและการวิเคราะห์

ปริญญาด้านฟิสิกส์วิศวกรรม[2]หรือวิทยาศาสตร์วิศวกรรมเป็นปริญญาทางวิชาการที่ไดัรับการยอมรับนับถือในหลายประเทศ น่าสังเกตว่าในหลายๆภาษาคำว่า "ฟิสิกส์วิศวกรรม" จะแปลโดยตรงในภาษาอังกฤษว่า "ฟิสิกส์ทางเทคนิค" ในบางประเทศ "ฟิสิกส์วิศวกรรม" และ "ฟิสิกส์ทางเทคนิค" เป็นสาขาวิชาให้ปริญญากับผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยพลังงานนิวเคลียร์และผู้เชียวชาญด้านฟิสิกส์วิศวกรรมตามลำดับ

สาขาของความเชี่ยวชาญ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. [1] เก็บถาวร 2014-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, วิชาฟิสิกส์วิศวกรรม 1 ม. นราธิวาสฯ
  2. [2][ลิงก์เสีย], คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ พระจอมเกล้าพระนครเหนือ