พ่อจ๋าอย่าร้องไห้
พ่อจ๋าอย่าร้องไห้ | |
---|---|
กำกับ | หยู กันผิง |
ดนตรีประกอบ | ซู หรุ่ย |
ผู้จัดจำหน่าย | Fortune Star Media Limited ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น (ไทย) |
วันฉาย |
|
ประเทศ | ไต้หวัน |
ภาษา | จีนกลาง |
ข้อมูลจาก IMDb |
พ่อจ๋าอย่าร้องไห้ (อังกฤษ: Papa, Can You Hear Me Sing; จีน: 搭錯車; พินอิน: Dā cuòchē) ภาพยนตร์ชีวิตสัญชาติไต้หวัน ออกฉายในปี ค.ศ. 1983 กำกับโดย หยู กันผิง นำแสดงโดย ซุน เหย่ว และ หลิว รุ่ยฉี [1]
เป็นเรื่องราวของคนเก็บขวดผู้เป็นใบ้ ที่พบเด็กทารกหญิงในกองขยะ เขาเก็บเด็กคนนั้นมาเลี้ยงดู และด้วยรักที่เหมือนพ่อแท้ ๆ ของเด็ก ทำให้เขาเลิกเหล้าได้ เมื่อเด็กผู้หญิงนั้นเติบโตขึ้น เธอประสบความสำเร็จจนกระทั่งเป็นนักร้องชื่อเสียงโด่งดัง แต่ทว่าทางต้นสังกัดให้ปกปิดประวัติไว้ เพราะไม่ต้องการให้สังคมรับรู้ว่าเธอคือเด็กกำพร้า ทำให้คนขายขวดยังต้องขายขวดต่อไป จนกระทั่งเธอเปิดคอนเสิร์ตใหญ่ขณะที่ผู้เป็นพ่อกำลังป่วยหนักใกล้เสียชีวิตโดยที่เธอไม่รู้ เมื่อเขาเสียชีวิต เธอแม้พยายามจะกลับมาดูใจแล้วแต่ก็ไม่ทัน
ด้วยเนื้อหาที่กินใจและวิพากษ์สังคม[2][3][4] [5] ทำให้ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเข้าฉายที่ไต้หวันถึง 8 ครั้ง และฮ่องกง 11 ครั้ง ชนะรางวัลม้าทองคำ 4 รางวัล [6] โดยเฉพาะเพลงประกอบที่ชื่อ 酒矸倘賣無 (Jiǔ gān tǎng mài wú) โด่งดังมาก กลายเป็นที่จดจำมาจนถึงปัจจุบัน มีการขับร้องใหม่และเรียบเรียงดนตรีใหม่อีกหลายครั้ง หรือการแปลงเนื้อเป็นภาษาไทย[7]
ในปี ค.ศ. 2005 ได้มีการนำเนื้อเรื่องกลับมาสร้างใหม่เป็นซีรีส์โดยจีนแผ่นดินใหญ่ นำแสดงโดย หลี เสวียเจี้ยน และ หลี หลิน กำกับโดย เกา ซีซี[8] (ในประเทศไทยออกอากาศทางไทยพีบีเอสในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2008[9])
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ride the Wrong Car
- ↑ Wei Yun (2004-03-20). "Who's the 'real' Taiwanese". Asia Times Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-09. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.
- ↑ RONE TEMPEST (1995-12-19). "Taiwan's Native-Son President Epitomizes Power Shift on Island - Asia: Lee Teng-hui appears to have a lock on nation's first direct vote for its leader. The mainland elite are in decline". LA Times.
- ↑ J. DeChicchis (1995). "The politics of language names in Taiwan". Studies in Language and Culture.
- ↑ Yomi Braester (2010). "Painting the City Red: Chinese Cinema and the Urban Contract". pp. 195–200.
- ↑ 排行榜- 最反复:《搭错车》之多次重映[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ค้นหาเพลงนี้ในเวบ". music.site.
- ↑ 李雪健高希希王远峰“金三角”打造《搭错车》
- ↑ "15 กุมภาพันธ์นี้ Thai PBS เปิดสถานีเต็มรูปแบบ เน้นรายการหลากหลาย เข้าถึงผู้ชมทุกกลุ่ม". thaipr. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.[ลิงก์เสีย]