พ่อจ๋าอย่าร้องไห้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พ่อจ๋าอย่าร้องไห้
กำกับหยู กันผิง
ดนตรีประกอบซู หรุ่ย
ผู้จัดจำหน่ายFortune Star Media Limited
ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น
(ไทย)
วันฉายค.ศ. 1983 (1983)
ประเทศไต้หวัน
ภาษาจีนกลาง
ข้อมูลจาก IMDb

พ่อจ๋าอย่าร้องไห้ (อังกฤษ: Papa, Can You Hear Me Sing; จีน: 搭錯車; พินอิน: Dā cuòchē) ภาพยนตร์ชีวิตสัญชาติไต้หวัน ออกฉายในปี ค.ศ. 1983 กำกับโดย หยู กันผิง นำแสดงโดย ซุน เหย่ว และ หลิว รุ่ยฉี [1]

เป็นเรื่องราวของคนเก็บขวดผู้เป็นใบ้ ที่พบเด็กทารกหญิงในกองขยะ เขาเก็บเด็กคนนั้นมาเลี้ยงดู และด้วยรักที่เหมือนพ่อแท้ ๆ ของเด็ก ทำให้เขาเลิกเหล้าได้ เมื่อเด็กผู้หญิงนั้นเติบโตขึ้น เธอประสบความสำเร็จจนกระทั่งเป็นนักร้องชื่อเสียงโด่งดัง แต่ทว่าทางต้นสังกัดให้ปกปิดประวัติไว้ เพราะไม่ต้องการให้สังคมรับรู้ว่าเธอคือเด็กกำพร้า ทำให้คนขายขวดยังต้องขายขวดต่อไป จนกระทั่งเธอเปิดคอนเสิร์ตใหญ่ขณะที่ผู้เป็นพ่อกำลังป่วยหนักใกล้เสียชีวิตโดยที่เธอไม่รู้ เมื่อเขาเสียชีวิต เธอแม้พยายามจะกลับมาดูใจแล้วแต่ก็ไม่ทัน

ด้วยเนื้อหาที่กินใจและวิพากษ์สังคม[2][3][4] [5] ทำให้ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเข้าฉายที่ไต้หวันถึง 8 ครั้ง และฮ่องกง 11 ครั้ง ชนะรางวัลม้าทองคำ 4 รางวัล [6] โดยเฉพาะเพลงประกอบที่ชื่อ 酒矸倘賣無 (Jiǔ gān tǎng mài wú) โด่งดังมาก กลายเป็นที่จดจำมาจนถึงปัจจุบัน มีการขับร้องใหม่และเรียบเรียงดนตรีใหม่อีกหลายครั้ง หรือการแปลงเนื้อเป็นภาษาไทย[7]

ในปี ค.ศ. 2005 ได้มีการนำเนื้อเรื่องกลับมาสร้างใหม่เป็นซีรีส์โดยจีนแผ่นดินใหญ่ นำแสดงโดย หลี เสวียเจี้ยน และ หลี หลิน กำกับโดย เกา ซีซี[8] (ในประเทศไทยออกอากาศทางไทยพีบีเอสในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2008[9])

อ้างอิง[แก้]

  1. Ride the Wrong Car
  2. Wei Yun (2004-03-20). "Who's the 'real' Taiwanese". Asia Times Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-09. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.
  3. RONE TEMPEST (1995-12-19). "Taiwan's Native-Son President Epitomizes Power Shift on Island - Asia: Lee Teng-hui appears to have a lock on nation's first direct vote for its leader. The mainland elite are in decline". LA Times.
  4. J. DeChicchis (1995). "The politics of language names in Taiwan". Studies in Language and Culture.
  5. Yomi Braester (2010). "Painting the City Red: Chinese Cinema and the Urban Contract". pp. 195–200.
  6. 排行榜- 最反复:《搭错车》之多次重映[ลิงก์เสีย]
  7. "ค้นหาเพลงนี้ในเวบ". music.site.
  8. 李雪健高希希王远峰“金三角”打造《搭错车》
  9. "15 กุมภาพันธ์นี้ Thai PBS เปิดสถานีเต็มรูปแบบ เน้นรายการหลากหลาย เข้าถึงผู้ชมทุกกลุ่ม". thaipr. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]