ข้ามไปเนื้อหา

พีดีเอส 70

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

PDS 70 (V1032 Centauri) เป็นดาวแบบ T Tauri ดวงหนึ่ง ซึ่งมีมวลน้อย อยู่ในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า อยู่ห่างจากโลกประมาณ 370 ปีแสง มวล 0.82 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ [1] และมีอายุประมาณ 10 ล้านปี [2] ดาวฤกษ์มีจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด และมีดาวเคราะห์นอกระบบอายุน้อยสองดวง คือ PDS 70b และ PDS 70c ซึ่งถูกจับภาพได้โดยตรงจากกล้องโทรทรรศน์ VLT ของหอดูดาวยุโรปตอนใต้

จานดาวเคราะห์ก่อนเกิดรอบดาว PDS 70 และดาวเคราะห์ PDS 70b (จุดสว่างทางขวา)

จานดาวเคราะห์ก่อนเกิด

[แก้]
จานรอบดาวเคราะห์ PDS 70c

จานดาวเคราะห์ก่อนเกิดรอบดาว PDS 70 นั้นได้เริ่มถูกตั้งข้อสังเกตไว้ตั้งแต่ปี 1992 [3] แล้วก็ได้รับการยืนยันในปี 2006 [1] แผ่นจานมีรัศมีประมาณ 140 au ในปี 2012 ได้มีการตรวจพบพื้นที่ว่างขนาดใหญ่ (~ 65 AU ) ด้านในแผ่นจาน ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการที่มีดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นภายใน [4] [2]

งานตีพิมพ์ในปี 2018 ได้เผยแพร่ภาพดาวเคราะห์ดวงหนึ่งด้านในแผ่นจาน ชื่อ PDS 70b ซึ่งถูกจับภาพโดยตรงได้ด้วย กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่มาก (VLT) [5] [6] โดยคาดการณ์ไว้ว่าขนาดน่าจะใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดีหลายเท่า อุณหภูมิประมาณ 1000°C และบรรยากาศมีเมฆ วงโคจรมีรัศมีประมาณ 3220 ล้านกิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 120 ปีในการโคจรหนึ่งรอบ หลายคนทำนายว่าดาวเคราะห์นั้นมีจานพอกพูนมวลเป็นของตัวเองด้วย [7] [8] และก็ได้รับการยืนยันว่ามีแผ่นจานอยู่จริงในปี 2019

ดาวเคราะห์ดวงที่สองชื่อ PDS 70c ถูกค้นพบในปี 2019 โดยใช้สเปกโทรกราฟ MUSE ของกล้อง VLT [9] ดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์แม่ด้วยระยะทาง 5310 ล้านกิโลเมตร ซึ่งไกลกว่า PDS 70b และมีการสั่นพ้องของวงโคจร กับ PDS 70b โดยมีสัดส่วนคาบการโคจรเป็น 1: 2 ซึ่งหมายความว่า PDS 70c จะโคจรครบประมาณหนึ่งรอบในขณะที่ PDS 70b โคจรครบสองรอบ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Riaud, P.; Mawet, D.; Absil, O.; Boccaletti, A.; Baudoz, P.; Herwats, E.; Surdej, J. (2006). "Coronagraphic imaging of three weak-line T Tauri stars: evidence of planetary formation around PDS 70" (PDF). Astronomy & Astrophysics. 458 (1): 317–325. Bibcode:2006A&A...458..317R. doi:10.1051/0004-6361:20065232.
  2. 2.0 2.1 "Giant Gap PDS 70's Protoplanetary Disk May Indicate Multiple Planets". SciTechDaily. 12 November 2012. Retrieved 30 June 2018.
  3. Gregorio-Hetem, J.; Lepine, J. R. D.; Quast, G. R.; Torres, C. A. O.; de La Reza, R. (1992). "A search for T Tauri stars based on the IRAS point source catalog". The Astronomical Journal. 103: 549. Bibcode:1992AJ....103..549G. doi:10.1086/116082.
  4. Hashimoto, J.; et al. (2012). "Polarimetric Imaging of Large Cavity Structures in the Pre-Transitional Protoplanetary Disk Around PDS 70: Observations of the Disk". The Astrophysical Journal. 758 (1): L19. arXiv:1208.2075. Bibcode:2012ApJ...758L..19H. doi:10.1088/2041-8205/758/1/L19.
  5. Müller, A; et al. (2018). "Orbital and atmospheric characterization of the planet within the gap of the PDS 70 transition disk". arXiv:1806.11567 [astro-ph.EP].
  6. Keppler, M; et al. (2018). "Discovery of a planetary-mass companion within the gap of the transition disk around PDS 70". arXiv:1806.11568 [astro-ph.EP].
  7. Staff (2 July 2018). "First confirmed image of newborn planet caught with ESO's VLT - Spectrum reveals cloudy atmosphere". EurekAlert!. Retrieved 2 July 2018.
  8. Clery, D. (2018). "In a first, astronomers witness the birth of a planet from gas and dust". Science. doi:10.1126/science.aau6469.
  9. "A Pair of Fledgling Planets Directly Seen Growing Around a Young Star". hubblesite.org. NASA. 3 June 2019. Retrieved 3 June 2019.