ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัลโตคิวมูลัส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: thumb|right|250px|เมฆอัลโตคิวมูลัส '''อัลโตคิวมูลัส''' ({{lang-en|altocumulus}...
 
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
แก้คำ
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
* อัลโตคิวมูลัส เลนติคูลาริส (altocumulus lenticularis) เกิดจากอากาศชื้นที่ลอยตัวเหนือพื้นที่สูง กลายเป็นเมฆที่มีลักษณะคล้ายจานร่อน เมฆชนิดนี้มักลอยตัวนิ่งอยู่บนท้องฟ้า ไม่ถูกพัดไปตามกระแสลมเหมือนเมฆชนิดอื่น<ref>{{cite book |last=Pretor-Pinney |first=Gavin |date=2011 |title=The Cloud Collector's Handbook |url=https://books.google.co.th/books?id=moG3cP7ZqyYC |location=London, United Kingdom |publisher=Hachette|page= |isbn=9781444744620}}</ref>
* อัลโตคิวมูลัส เลนติคูลาริส (altocumulus lenticularis) เกิดจากอากาศชื้นที่ลอยตัวเหนือพื้นที่สูง กลายเป็นเมฆที่มีลักษณะคล้ายจานร่อน เมฆชนิดนี้มักลอยตัวนิ่งอยู่บนท้องฟ้า ไม่ถูกพัดไปตามกระแสลมเหมือนเมฆชนิดอื่น<ref>{{cite book |last=Pretor-Pinney |first=Gavin |date=2011 |title=The Cloud Collector's Handbook |url=https://books.google.co.th/books?id=moG3cP7ZqyYC |location=London, United Kingdom |publisher=Hachette|page= |isbn=9781444744620}}</ref>
* อัลโตคิวมูลัส สเตรติฟอร์มิส (altocumulus stratiformis) เป็นเมฆชนิดที่พบได้บ่อย มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ แผ่ขยายเป็นบริเวณกว้าง<ref>{{cite web|url=https://www.windy.com/articles/altocumulus-stratiformis-is-the-most-frequent-species-8161?13.390,100.986,5|title=Altocumulus Stratiformis Is the Most Frequent Species|website=Windy|date=April 16, 2019|accessdate=September 7, 2019}}</ref>
* อัลโตคิวมูลัส สเตรติฟอร์มิส (altocumulus stratiformis) เป็นเมฆชนิดที่พบได้บ่อย มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ แผ่ขยายเป็นบริเวณกว้าง<ref>{{cite web|url=https://www.windy.com/articles/altocumulus-stratiformis-is-the-most-frequent-species-8161?13.390,100.986,5|title=Altocumulus Stratiformis Is the Most Frequent Species|website=Windy|date=April 16, 2019|accessdate=September 7, 2019}}</ref>
* อัลโตคิวมูลัส โวลูตัส (altocumulus volutus) เป็นเมฆที่พบเห็นได้น้อย ลักษณะเป็นเมฆแถวยาวเดี่ยว ๆ ไม่รวมตัวกับเมฆอื่น<ref>{{cite web|url=https://cloudatlas.wmo.int/species-altocumulus-volutus-ac-vol.html|title=Altocumulus volutus (Ac vol) - International Cloud Atlas|website=World Meteorological Organization|accessdate=September 7, 2019}}</ref>
* อัลโตคิวมูลัส โวลูตัส (altocumulus volutus) เป็นเมฆที่พบเห็นได้ยาก ลักษณะเป็นเมฆแถวยาวเดี่ยว ๆ ไม่รวมตัวกับเมฆอื่น<ref>{{cite web|url=https://cloudatlas.wmo.int/species-altocumulus-volutus-ac-vol.html|title=Altocumulus volutus (Ac vol) - International Cloud Atlas|website=World Meteorological Organization|accessdate=September 7, 2019}}</ref>


== ระเบียงภาพ ==
== ระเบียงภาพ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:24, 7 กันยายน 2562

เมฆอัลโตคิวมูลัส

อัลโตคิวมูลัส (อังกฤษ: altocumulus) มีชื่อเรียกมาจากภาษาละติน altus แปลว่า สูง และ cumulus แปลว่า เป็นกอง[1] อัลโตคิวมูลัสเป็นเมฆที่มีลักษณะเป็นก้อนกลมอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีขนาดใหญ่กว่าเซอร์โรคิวมูลัส แต่เล็กกว่าสเตรโตคิวมูลัส อัลโตคิวมูลัสมีอักษรย่อคือ Ac และสัญลักษณ์

เมฆอัลโตคิวมูลัสเป็นเมฆชั้นกลาง ก่อตัวที่ชั้นโทรโพสเฟียร์ที่ระดับความสูง 7,000–18,000 ฟุต (2–5 กิโลเมตร) เมฆชนิดนี้สามารถก่อตัวได้จากหลายสาเหตุ เช่น การสลายตัวของเมฆอัลโตสเตรตัส หรือการยกตัวของอากาศชื้นที่ถูกทำให้เย็นตัวลงด้วยความปั่นป่วนของอากาศ อัลโตคิวมูลัสมีลักษณะคล้ายกับเซอร์โรคิวมูลัสซึ่งเป็นเมฆที่อยู่ชั้นสูงกว่า แต่ต่างกันที่อัลโตคิวมูลัสมีสีขาวและเทา ในขณะที่เซอร์โรคิวมูลัสมีสีขาวและเล็กกว่า นอกจากนี้อัลโตคิวมูลัสไม่ก่อปรากฏการณ์เฮโล ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่พบได้ในกลุ่มเมฆชั้นสูง[2][3] โดยทั่วไปอัลโตคิวมูลัสไม่ก่อให้เกิดฝนตก แต่สามารถใช้พยากรณ์ถึงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงภายในวันนั้นหรือวันต่อมาได้[4]

เมฆอัลโตคิวมูลัสสามารถจำแนกเป็นเมฆย่อยได้ 5 ชนิด ได้แก่

  • อัลโตคิวมูลัส แคสเซลเลนัส (altocumulus castellanus) เกิดจากมวลอากาศที่ยกตัวสูงขึ้น ทำให้ไอน้ำในอากาศควบแน่นกลายเป็นเมฆที่มียอดแหลมสูงคล้ายปราการ บางครั้งอาจใช้พยากรณ์ถึงพายุฟ้าคะนอง[5]
  • อัลโตคิวมูลัส ฟลอกคัส (altocumulus floccus) บางครั้งเกิดจากการสลายตัวของฐานเมฆอัลโตคิวมูลัส แคสเซลเลนัส กลายเป็นเมฆที่มีลักษณะคล้ายก้อนสำลี ที่ฐานมีริ้วเกิดจากหยาดน้ำฟ้าที่ตกไม่ถึงพื้นดิน[6]
  • อัลโตคิวมูลัส เลนติคูลาริส (altocumulus lenticularis) เกิดจากอากาศชื้นที่ลอยตัวเหนือพื้นที่สูง กลายเป็นเมฆที่มีลักษณะคล้ายจานร่อน เมฆชนิดนี้มักลอยตัวนิ่งอยู่บนท้องฟ้า ไม่ถูกพัดไปตามกระแสลมเหมือนเมฆชนิดอื่น[7]
  • อัลโตคิวมูลัส สเตรติฟอร์มิส (altocumulus stratiformis) เป็นเมฆชนิดที่พบได้บ่อย มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ แผ่ขยายเป็นบริเวณกว้าง[8]
  • อัลโตคิวมูลัส โวลูตัส (altocumulus volutus) เป็นเมฆที่พบเห็นได้ยาก ลักษณะเป็นเมฆแถวยาวเดี่ยว ๆ ไม่รวมตัวกับเมฆอื่น[9]

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. "Definition of altocumulus in English by Lexico Dictionaries". Oxford Dictionaries. สืบค้นเมื่อ September 7, 2019.
  2. "Altocumulus clouds". Met Office. สืบค้นเมื่อ September 7, 2019.
  3. "Cirrocumulus - International Cloud Atlas". World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ September 7, 2019.
  4. "Weather Facts: Altocumulus". weatheronline.co.uk. สืบค้นเมื่อ September 7, 2019.
  5. "Altocumulus castellanus". Met Office. สืบค้นเมื่อ September 7, 2019.
  6. "Altocumulus floccus (Ac flo) - International Cloud Atlas". World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ September 7, 2019.
  7. Pretor-Pinney, Gavin (2011). The Cloud Collector's Handbook. London, United Kingdom: Hachette. ISBN 9781444744620.
  8. "Altocumulus Stratiformis Is the Most Frequent Species". Windy. April 16, 2019. สืบค้นเมื่อ September 7, 2019.
  9. "Altocumulus volutus (Ac vol) - International Cloud Atlas". World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ September 7, 2019.