ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โกลเด้นบอย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bengjo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Bengjo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10: บรรทัด 10:


=== PART II ===
=== PART II ===
โดยใน Part II รูปแบบการดำเนินเรื่องได้เปลี่ยนไปอย่าสิ้นเชิง โดยการเพิ่มตัวละครที่สำคัญคือ โคนโงยิ ซึ่งเป็นลูกชายคนเดียว ของนักการเมืองใหญ่ในญี่ปุ่น มีอิทธิพล และร่ำรวยมหาศาล ทั้งยังเรียนมหาลัยโตเกียว ฉลาดอย่างหาตัวจับยาก และเก่งในการต่อสู้สามารถโดยสู้กับนักสู้ได้ถึงร้อยคนพร้อมกัน บุคลิกของโคนโงยิ เป็นคนที่มีความสามารถสูงที่จะชักจูงคนให้คล้อยตามได้ง่าย เมื่อใครพบเห็นหรือพูดคุยด้วยก็จะประทับใจโคนโงยิและยกเขาให้เป็นผู้นำ โดยเขามีแนวคิดคือทำให้คนทุกคนคิดตามเขา เพื่อจะได้นำผู้คนไปสู่หนทางที่ถูกต้องที่เขาคาดไว้
โดยใน Part II รูปแบบการดำเนินเรื่องได้เปลี่ยนไปอย่าสิ้นเชิง โดยการเพิ่มตัวละครที่สำคัญคือ โคนโงยิ ซึ่งเป็นลูกชายคนเดียว ของนักการเมืองใหญ่ในญี่ปุ่น มีอิทธิพล และร่ำรวยมหาศาล ทั้งยังเรียนมหาลัยโตเกียว ฉลาดอย่างหาตัวจับยาก และเก่งในการต่อสู้โดยสามารถสู้กับนักสู้ได้ถึงร้อยคนพร้อมกัน บุคลิกของโคนโงยิ เป็นคนที่มีความสามารถสูงที่จะชักจูงคนให้คล้อยตามได้ง่าย ผ่านทางอำนาจและบารมี เหตุผลที่เหนือกว่า และต้นทุนทางสังคม ที่เขามี เมื่อใครพบเห็นหรือพูดคุยด้วยก็จะประทับใจโคนโงยิและยกเขาให้เป็นผู้นำ โดยเขามีแนวคิดคือทำให้คนทุกคนคิดตามเขา เพื่อจะได้นำผู้คนไปสู่หนทางที่ถูกต้องที่เขาคาดไว้


การดำเนินเรื่องจะแสดงความสูสีทางฝีมือของคินทาโร่และโคนโงยิ ในการให้ความสว่างทางปัญญาแก่ตัวละคร ซึ่งตัวละครที่เชื่อในตัวโคนโงยิบางตัว เมื่อได้มารู้จักกับคินทาโร่ ก็สามารถที่จะมีความคิดเป็นของตัวเองโดยผ่านการชี้นำของเขา
การดำเนินเรื่องจะแสดงความสูสีทางฝีมือของคินทาโร่และโคนโงยิ ในการให้ความสว่างทางปัญญาแก่ตัวละคร ซึ่งตัวละครที่เชื่อในตัวโคนโงยิบางตัว เมื่อได้มารู้จักกับคินทาโร่ ก็สามารถที่จะมีความคิดเป็นของตัวเองโดยผ่านการชี้นำของเขา


== การสื่อสารทางสัญลักษณ์ ==
== การสื่อสารทางสัญลักษณ์ ==
ผู้เขียนต้องการจะเปรียบเทียบแนวคิดสังคมญี่ปุ่นสองยุคสมัย คือสมัยก่อน[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]และสมัยหลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลก และโดนระบอบประชาธิปไตยและเสรีนิยมเข้ามาแทนที่เผด็จการชาตินิยมขวาสุดขอบ การ์ตูนเรื่องนี้เป็นการสะท้อนความไม่พอใจของผู้เขียนต่อแง่คิดต่างๆของคนญี่ปุ่น จัดว่าเป็นการ์ตูนเสียดสีสังคม เทียบได้กับนิยายเรื่อง [[Animal Farm]] ของ [[George Orwell]] ที่แม้เจ้าตัวจะออกมาปฏิเสธว่านิยายของเขาไม่ได้พูดถึงการเมืองแม้แค่น้อย แต่ก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนต่อการเปลี่ยนผ่านจากแนวคิดเสรีนิยมไปสู่สังคมเผด็จการเบ็ดเสร็จผ่านทางตัวละครที่เป็นสัญลักษณ์ของแนวคิดต่างๆ
ผู้เขียนต้องการจะเปรียบเทียบแนวคิดสังคมญี่ปุ่นสองยุคสมัย คือสมัยก่อน[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]และสมัยหลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลก และโดนระบอบประชาธิปไตยและเสรีนิยมเข้ามาแทนที่เผด็จการชาตินิยมขวาสุดขอบ การ์ตูนเรื่องนี้เป็นการสะท้อนความไม่พอใจของผู้เขียนต่อแง่คิดต่างๆของคนญี่ปุ่น จัดว่าเป็นการ์ตูนเสียดสีสังคม เทียบได้กับนิยายเรื่อง [[Animal Farm]] ของจอร์จ ออร์เวลล์ [[George Orwell]] ที่แม้ออร์เวลล์จะออกมาปฏิเสธว่านิยายของเขาไม่ได้พูดถึงการเมืองแม้แค่น้อย แต่ก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนต่อการเปลี่ยนผ่านจากแนวคิดเสรีนิยมไปสู่สังคมเผด็จการเบ็ดเสร็จผ่านทางตัวละครที่เป็นสัญลักษณ์ของแนวคิดต่างๆ


* '''โอเอะ คินทาโร่''' (大江錦太郎)
* '''โอเอะ คินทาโร่''' (大江錦太郎)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:49, 19 กันยายน 2550

โกลเด้นบอย ญี่ปุ่น: ゴールデンボーイโรมาจิGōrudenbōi ทับศัพท์จาก GOLDEN BOY เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น ประเภทกึ่ง H เขียนโดย ทัตสึยะ เอกาวะ ลงตีพิมพ์ในนิตยสารซูเปอร์จัมป์ ของสำนักพิมพ์ชูเอฉะ ตั้งแต่ปี 1992 ถึง 1997 และได้ถูกสร้างเป็นโอวีเอ ในปี 1995 ถึง 1996 ความยาว 6 ตอนจบ เรื่องราวของเด็กหนุ่มอายุ 25 ปี นามว่า โอเอะ คินทาโร่ โดยได้แบ่งออกเป็น 2 part คือ part I และ part II ในเนื้อเรื่อง part I จะกล่าวถึงการเดินทางของคินทาโร่ ไปทั่วญี่ปุ่น มีทั้งหมด 6 ตอน แต่ใน part II มีทั้งหมด 10 เล่ม ในญี่ปุ่น โดยจะมีเนื้อหาของตัวละคร โคนโงยิ ด้วย ซึ่งเป็นเพื่อนของคินทาโร่

เนื้อเรื่อง

PART I

โอเอะ คินทาโร่ เป็นเด็กหนุ่มอายุ 25 ปี ที่ออกจากมหาวิทยาลัยโตเกียวกลางคัน เหตุเพราะเชี่ยวชาญในหลักสูตรหมดทุกอย่างแล้ว จึงอยากมาศึกษาชิวิตจริงในสังคม ในเนื้อเรื่อง คินทาโร่ จะเป็นผู้ที่เดินทางไปตามสถานที่ต่างๆในประเทศญี่ปุ่นเพื่อทำงานพิเศษและหาความรู้จากชีวิตจริง โดยเขาจะท่องคติประจำใจว่า เบงเกียว เบงเกียว เบงเกียว (勉強 benkyō แปลว่า เรียนรู้)อยู่ซ้ำๆไปเรื่อย เพื่อย่ำให้ตัวเองศึกษาหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ

เมื่อคินทาโร่ไปสมัครงานที่ไหนก็ตาม ที่นั่นก็จะมีสาวสวยอยู่ด้วยทุกครั้ง เมื่อคินทาโร่เข้าทำงานก็มักจะได้งานที่หนักกว่าคนอื่น แต่ด้วยความขยันที่เกินกว่าคนปกติทั่วไป ทำให้เขาสามารถประสบความสำเร็จในการงานได้ทุกครั้ง และผู้หญิงทุกคนเมื่อพบคินทาโร่เป็นครั้งแรกจะคิดว่า คินทาโร่เป็นผู้ชายไม่เอาไหนที่โง่และหลอกง่าย แต่เมื่อได้ใกล้ชิดถึงไปสักระยะ ความมีน้ำใจของคินทาโร่ได้เปลี่ยนให้คนรอบรอบข้างประทับใจ และด้วยสมองอันชาญฉลาดระดับนักศึกษากฎหมายของมหาลัยอันดับหนึ่งในญี่ปุ่น ก็ทำให้เขาสร้างแนวคิดใหม่ๆ ปรับปรุงรูปแบบการทำงาน เปลี่ยนการดำเนินชีวิต และแนวคิดของผู้คนรอบข้างได้

PART II

โดยใน Part II รูปแบบการดำเนินเรื่องได้เปลี่ยนไปอย่าสิ้นเชิง โดยการเพิ่มตัวละครที่สำคัญคือ โคนโงยิ ซึ่งเป็นลูกชายคนเดียว ของนักการเมืองใหญ่ในญี่ปุ่น มีอิทธิพล และร่ำรวยมหาศาล ทั้งยังเรียนมหาลัยโตเกียว ฉลาดอย่างหาตัวจับยาก และเก่งในการต่อสู้โดยสามารถสู้กับนักสู้ได้ถึงร้อยคนพร้อมกัน บุคลิกของโคนโงยิ เป็นคนที่มีความสามารถสูงที่จะชักจูงคนให้คล้อยตามได้ง่าย ผ่านทางอำนาจและบารมี เหตุผลที่เหนือกว่า และต้นทุนทางสังคม ที่เขามี เมื่อใครพบเห็นหรือพูดคุยด้วยก็จะประทับใจโคนโงยิและยกเขาให้เป็นผู้นำ โดยเขามีแนวคิดคือทำให้คนทุกคนคิดตามเขา เพื่อจะได้นำผู้คนไปสู่หนทางที่ถูกต้องที่เขาคาดไว้

การดำเนินเรื่องจะแสดงความสูสีทางฝีมือของคินทาโร่และโคนโงยิ ในการให้ความสว่างทางปัญญาแก่ตัวละคร ซึ่งตัวละครที่เชื่อในตัวโคนโงยิบางตัว เมื่อได้มารู้จักกับคินทาโร่ ก็สามารถที่จะมีความคิดเป็นของตัวเองโดยผ่านการชี้นำของเขา

การสื่อสารทางสัญลักษณ์

ผู้เขียนต้องการจะเปรียบเทียบแนวคิดสังคมญี่ปุ่นสองยุคสมัย คือสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สองและสมัยหลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลก และโดนระบอบประชาธิปไตยและเสรีนิยมเข้ามาแทนที่เผด็จการชาตินิยมขวาสุดขอบ การ์ตูนเรื่องนี้เป็นการสะท้อนความไม่พอใจของผู้เขียนต่อแง่คิดต่างๆของคนญี่ปุ่น จัดว่าเป็นการ์ตูนเสียดสีสังคม เทียบได้กับนิยายเรื่อง Animal Farm ของจอร์จ ออร์เวลล์ George Orwell ที่แม้ออร์เวลล์จะออกมาปฏิเสธว่านิยายของเขาไม่ได้พูดถึงการเมืองแม้แค่น้อย แต่ก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนต่อการเปลี่ยนผ่านจากแนวคิดเสรีนิยมไปสู่สังคมเผด็จการเบ็ดเสร็จผ่านทางตัวละครที่เป็นสัญลักษณ์ของแนวคิดต่างๆ

  • โอเอะ คินทาโร่ (大江錦太郎)
เป็นตัวละครที่สื่อถึงเสรีนิยม (Liberalism)เชื่อว่าทุกคนเท่าเทียมกันหมด และมีความคิดของตนเอง ประชาชนไม่จำเป็นต้องเข้มแข็ง และไม่จำเป็นต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน แต่เขาก็ชี้ทางให้ทุกคนมีความสุขผ่านทางการรู้แจ้งของตัวเอง สนับสนุนความหลากหลาย และความอดทนต่อความแตกต่าง คิดต่างไม่ได้หมายความว่าคิดผิด ถึงแม้ว่าเมื่อครั้งอดีตตอนเขาเป็นนักศึกษาปีหนึ่งก็มีแนวโน้มว่าเป็นพวกสิ่งแวดล้อมนิยมก็ตาม
  • โคนโงยิ มาซามุเนะ (金剛寺正宗)
เป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ(totalitarian) ที่คิดว่าประชาชนเป็นเด็กไม่สามารถคิดและตัดสินใจด้วยตนเอง จึงต้องมีผู้นำที่เข้มแข็งคอยคิดให้และวางแผนแทนให้ทุกอย่าง และคอยป้อนสิ่งที่ผู้นำคิดว่าดีที่สุดต่อประชาชน ผลที่ได้คือประชาชนสามารถอยู่ได้อย่างมีความสุขผ่านทางความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ใหญ่กว่าและสำคัญกว่าชีวิตตัวเอง เช่น แนวคิดแบบชาตินิยม และความคิดแบบลัทธินิยม ที่สื่อออกมาทางตัวละครโคนโงยิ
  • การสื่อสารความคิดทางเพศ
คินทาโร่เชื่อว่า sex คือ ส่วนหนึ่งของอารมณ์ความรู้สึก ควรจะถูกใช้อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ แต่โคนโงยิเชื่อว่า sex ก็เป็นเครื่องมือที่ดีอันหนึ่งที่จะควบคุมคน เพื่อให้ปฏิบัติตามแนวคิดที่เกือบจะเป็นเหมือนลัทธิของโคนโงยิ