ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไวเศษิกะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''ไวเศษิกะ''' (Vaisheshika; {{lang-sa|वैशेषिक}}) เป็นปรัชญาหนึ่งในศาสนาฮินดู...
 
AlphamaBot (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
* ฟื้น ดอกบัว.ปวงปรัชญาอินเดีย. กทม. ศยาม. 2555 หน้า189 – 208
* ฟื้น ดอกบัว.ปวงปรัชญาอินเดีย. กทม. ศยาม. 2555 หน้า189 – 208

[[หมวดหมู่:ตรรกศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:ปรัชญาอินเดีย]]
[[หมวดหมู่:ปรัชญาอินเดีย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:42, 21 กันยายน 2557

ไวเศษิกะ (Vaisheshika; สันสกฤต: वैशेषिक) เป็นปรัชญาหนึ่งในศาสนาฮินดู เกิดขึ้นหลังพุทธกาล ผู้สถาปนาลัทธินี้คือฤๅษีกรณาทะ ผู้แต่งไวเศษิกสูตร คำนี้มาจากภาษาสันสกฤตหมายถึงความแตกต่างหรือคุณลักษณะเฉพาะ เป็นแนวคิดแบบพหุสัจนิยม เชื่อว่าส่วนที่เล็กที่สุดของสสารคือปรมาณูมีจำนวนมาก แบ่งแยกไม่ได้และเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของโลก พระเจ้าสูงสุดคือพระมเหศวรเป็นผู้สร้างโลก โดยเจตจำนงของพระองค์ จะกระตุ้นให้ปรมาณูมารวมตัวกัน จนเกิดเป็นสิ่งต่างๆและเป็นโลกในที่สุด เมื่อพระมเหศวรมีเจตจำนงที่จะทำลายโลก ปรมาณูแยกตัวออก โลกก็จะสลายไป เป้าหมายในการดำรงชีวิตคือโมกษะ ซึ่งเป็นภูมิของผู้ไม่มีกิเลส เมื่อชีวาตมันหลุดพ้นจากกิเลส ก็เข้าถึงโมกษะ

โดยทั่วไป ลัทธินี้มีแนวคิดคล้ายลัทธินยายะ ต่างกันที่รายละเอียด เช่น แหล่งความรู้ นยายะมี 4 แหล่ง ไวเศษิกะมี 2 แหล่ง ความรู้ประเภทประจักษ์ประมาณ นยายะถือว่าเกิดจากประสาทสัมผัสทั้งห้า แต่ไวเศษิกะถือว่าเกิดจากตาเท่านั้น เป็นต้น

อ้างอิง

  • ฟื้น ดอกบัว.ปวงปรัชญาอินเดีย. กทม. ศยาม. 2555 หน้า189 – 208