ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พญางำเมือง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
มังกรคาบแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
Nednai.Lukmaenim (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
}}
}}


'''พญางำเมือง'''<ref>[[ประเสริฐ ณ นคร]]. (2549, กุมภาพันธ์). ''ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด.'' กรุงเทพฯ: มติชน. ISBN 9743236007. หน้า 269.</ref> หรือ '''พระยางำเมือง'''<ref>[[ประเสริฐ ณ นคร]]. (2549, กุมภาพันธ์). ''ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด.'' กรุงเทพฯ: มติชน. ISBN 9743236007. หน้า 234.</ref> หรือ '''พ่อขุนงำเมือง''' พระราชโอรสของ[[พ่อขุนมิ่งเมือง]] ประสูติ เมื่อปี [[พ.ศ. 1781]] (จ.ศ. 600) เดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ เมื่อพระชนมายุได้ 14 พรรษา ได้ไปศึกษาเล่าเรียน ศึกษาศาสตร์เพท ในสำนักอิสติน อยู่ภูเขาดอยด้วน เรียนอยู่ 2 ปี ครั้นพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้ไปศึกษาศิลปศาสตร์ ในสำนักสุกทันตฤกษ์ กรุงละโว้ (ลพบุรี) เป็นศิษย์ร่วม สำนักเดียวกับ [[พญามังรายมหาราช]] และ [[พ่อขุนรามคำแหง]] พระร่วงเจ้าแห่ง[[กรุงสุโขทัย]] จึงสนิทสนมร่วมผูกไมตรี เป็นพระสหายตั้งแต่นั้นมา
'''พญางำเมือง'''<ref>[[ประเสริฐ ณ นคร]]. (2549, กุมภาพันธ์). ''ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด.'' กรุงเทพฯ: มติชน. ISBN 9743236007. หน้า 269.</ref> ({{lang-nod|ᨻᩕ᩠ᨿᩣᨦᩴᩣᨾᩮᩧ᩠ᩋᨦ}}) หรือ '''พระยางำเมือง'''<ref>[[ประเสริฐ ณ นคร]]. (2549, กุมภาพันธ์). ''ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด.'' กรุงเทพฯ: มติชน. ISBN 9743236007. หน้า 234.</ref> หรือ '''พ่อขุนงำเมือง''' พระราชโอรสของ[[พ่อขุนมิ่งเมือง]] ประสูติ เมื่อปี [[พ.ศ. 1781]] (จ.ศ. 600) เดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ เมื่อพระชนมายุได้ 14 พรรษา ได้ไปศึกษาเล่าเรียน ศึกษาศาสตร์เพท ในสำนักอิสติน อยู่ภูเขาดอยด้วน เรียนอยู่ 2 ปี ครั้นพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้ไปศึกษาศิลปศาสตร์ ในสำนักสุกทันตฤกษ์ กรุงละโว้ (ลพบุรี) เป็นศิษย์ร่วม สำนักเดียวกับ [[พญามังรายมหาราช]] และ [[พ่อขุนรามคำแหง]] พระร่วงเจ้าแห่ง[[กรุงสุโขทัย]] จึงสนิทสนมร่วมผูกไมตรี เป็นพระสหายตั้งแต่นั้นมา


ปี [[พ.ศ. 1801]] (จ.ศ. 620) พ่อขุนมิ่งเมืองสิ้นพระชนม์ จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแทน พญางำเมือง เป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีอิทธิฤทธิ์มาก เมื่อพระองค์เสด็จ ไปทางไหน "แดดก่บ่ร้อน ฝนก่บ่รำ จักหื้อบดก่บด จักหื้อแดดก่แดด" จึงได้รับ พระนามว่า "งำเมือง" นอกจากนั้น พระองค์มีพระทัยหนักแน่นในศิลธรรม มีพระราชศรัทธา เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ไม่ชอบทำสงคราม ทรงดำเนินพระราโชบาย การปกครองบ้านเมือง ด้วยความเที่ยงธรรม พยายาม ผูกไมตรีจิตต่อเจ้าประเทศราชที่มีอำนาจเหนือคน เพื่อหลีกเลี่ยงภัยสงครามแม้กระนั้น ก็ยังถูก[[พญามังราย]]ยกกองทัพมาตี เมื่อปี [[พ.ศ. 1805]] แต่ในที่สุดพญางำเมือง ก็ยอมยกเมืองปลายแดน คือ เมืองพาน เมืองเชียงเคี่ยน เมืองเทิง เมืองเชียงของ ให้แก่พ่อขุนเม็งราย ด้วยหวังผูกไมตรีต่อกันและคิดว่าภายภาคหน้าจะขอคืน
ปี [[พ.ศ. 1801]] (จ.ศ. 620) พ่อขุนมิ่งเมืองสิ้นพระชนม์ จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแทน พญางำเมือง เป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีอิทธิฤทธิ์มาก เมื่อพระองค์เสด็จ ไปทางไหน "แดดก่บ่ร้อน ฝนก่บ่รำ จักหื้อบดก่บด จักหื้อแดดก่แดด" จึงได้รับ พระนามว่า "งำเมือง" นอกจากนั้น พระองค์มีพระทัยหนักแน่นในศิลธรรม มีพระราชศรัทธา เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ไม่ชอบทำสงคราม ทรงดำเนินพระราโชบาย การปกครองบ้านเมือง ด้วยความเที่ยงธรรม พยายาม ผูกไมตรีจิตต่อเจ้าประเทศราชที่มีอำนาจเหนือคน เพื่อหลีกเลี่ยงภัยสงครามแม้กระนั้น ก็ยังถูก[[พญามังราย]]ยกกองทัพมาตี เมื่อปี [[พ.ศ. 1805]] แต่ในที่สุดพญางำเมือง ก็ยอมยกเมืองปลายแดน คือ เมืองพาน เมืองเชียงเคี่ยน เมืองเทิง เมืองเชียงของ ให้แก่พ่อขุนเม็งราย ด้วยหวังผูกไมตรีต่อกันและคิดว่าภายภาคหน้าจะขอคืน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:46, 2 กรกฎาคม 2557

พญางำเมือง
ไฟล์:พญางำเมือง.JPG
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรพะเยา
ครองราชย์พ.ศ. 1801 - พ.ศ. 1841
รัชกาลก่อนหน้าพ่อขุนมิ่งเมือง
รัชกาลถัดไปพญาคำแดง
ประสูติพ.ศ. 1781
สวรรคตพ.ศ. 1841
พญางำเมือง
ราชวงศ์ราชวงศ์พะเยา
พระราชบิดาพ่อขุนมิ่งเมือง

พญางำเมือง[1] (ไทยถิ่นเหนือ: ᨻᩕ᩠ᨿᩣᨦᩴᩣᨾᩮᩧ᩠ᩋᨦ) หรือ พระยางำเมือง[2] หรือ พ่อขุนงำเมือง พระราชโอรสของพ่อขุนมิ่งเมือง ประสูติ เมื่อปี พ.ศ. 1781 (จ.ศ. 600) เดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ เมื่อพระชนมายุได้ 14 พรรษา ได้ไปศึกษาเล่าเรียน ศึกษาศาสตร์เพท ในสำนักอิสติน อยู่ภูเขาดอยด้วน เรียนอยู่ 2 ปี ครั้นพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้ไปศึกษาศิลปศาสตร์ ในสำนักสุกทันตฤกษ์ กรุงละโว้ (ลพบุรี) เป็นศิษย์ร่วม สำนักเดียวกับ พญามังรายมหาราช และ พ่อขุนรามคำแหง พระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย จึงสนิทสนมร่วมผูกไมตรี เป็นพระสหายตั้งแต่นั้นมา

ปี พ.ศ. 1801 (จ.ศ. 620) พ่อขุนมิ่งเมืองสิ้นพระชนม์ จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแทน พญางำเมือง เป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีอิทธิฤทธิ์มาก เมื่อพระองค์เสด็จ ไปทางไหน "แดดก่บ่ร้อน ฝนก่บ่รำ จักหื้อบดก่บด จักหื้อแดดก่แดด" จึงได้รับ พระนามว่า "งำเมือง" นอกจากนั้น พระองค์มีพระทัยหนักแน่นในศิลธรรม มีพระราชศรัทธา เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ไม่ชอบทำสงคราม ทรงดำเนินพระราโชบาย การปกครองบ้านเมือง ด้วยความเที่ยงธรรม พยายาม ผูกไมตรีจิตต่อเจ้าประเทศราชที่มีอำนาจเหนือคน เพื่อหลีกเลี่ยงภัยสงครามแม้กระนั้น ก็ยังถูกพญามังรายยกกองทัพมาตี เมื่อปี พ.ศ. 1805 แต่ในที่สุดพญางำเมือง ก็ยอมยกเมืองปลายแดน คือ เมืองพาน เมืองเชียงเคี่ยน เมืองเทิง เมืองเชียงของ ให้แก่พ่อขุนเม็งราย ด้วยหวังผูกไมตรีต่อกันและคิดว่าภายภาคหน้าจะขอคืน

พญางำเมือง ทรงเป็นกษัตริย์ ที่ทรงทศพิธราชธรรมและมีเมตตาเป็นที่ประจักษ์ ดังเช่น เหตุการณ์ ในประวัติศาสตร์กล่าวถึง พ่อขุนรามคำแหง พระสหาย ได้เสด็จไปมาหาสู่กัน เสมอมิได้ขาด จนเส้นทางที่เสด็จผ่านเป็นร่องลึกเรียกว่า แม่ร่องช้าง ในปัจจุบัน พระร่วงเจ้าเสด็จมาเมืองพะเยา ทรงเห็นพระนางอั้วเชียงแสน พระชายา พญางำเมือง มีรูปโฉมอันงามยิ่ง ก็บังเกิดปฏิพัทธิ์รักใคร่ และพระนาง ก็มีจิตปฏิพัทธ์เช่นกัน จึงได้ลักลอบปลอมแปลงพระองค์คล้ายกับพญางำเมือง เข้าสู่ห้องบรรทมพระนางอั้วเชียงแสน พญางำเมืองทราบเหตุ และสั่งให้อำมาตย์ ไพร่พล ทหารตามจับพระร่วงเจ้า นำไปขังได้และมีราชสาส์นเชิญพญามังราย ผู้เป็นสหายมาพิจารณาเหตุการณ์ พญามังรายทรงไกล่เกลี่ย ให้ทั้งสองพระองค์เป็นมิตรไมตรีต่อกันดังเดิม โดยขอให้พระร่วงเจ้าขอขมาโทษ พญางำเมือง ด้วยเบี้ยเก้าลุนทอง คือ เก้าแสนเก้าหมื่นเบี้ย เพื่อกำชับพระราชไมตรีต่อกันยิ่งกว่าเก่า กษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์ได้ตั้งสัตยาธิษฐานต่อกัน ณ ริมฝั่งแม่น้ำขนภู แม่น้ำแห่งนี้จึงเรียกชื่อภายหลังว่า "แม่น้ำอิง"

หลังจากนั้น เมื่อพญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ ได้เชิญพญางำเมือง และพระร่วงเจ้า ร่วมพิจารณาสร้างเมือง เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้ว พญางำเมือง เสด็จกลับ โดยพญามังรายทรงมอบผอบมณีรัตนะ อันเป็นสมบัติต้นวงศ์ แห่งลาวลังกราช และทรงเวนคืนเมืองพาน เมืองเชียงเคี่ยน เมืองเทิงให้และพระราชทานกุลสตรีให้อีกนางหนึ่ง ฝ่ายพระนางอั้วเชียงแสน ทรงทราบว่า พระราชสวามี มีพระชายาใหม่ ก็มีพระทัยโทมนัสยิ่ง รับสั่งให้เสนาอำมาตย์ จัดแจงม้าพระที่นั่ง เสด็จออกติดตามพระสวามี หมายจักประหารพระชายาใหม่ ให้สิ้นพระชนม์ แต่พระนางก็สิ้นพระชนม์เสียกลางทาง ด้วยเหตุพระทัยแตก พญางำเมืองทรงทราบด้วยความสลดพระทัยยิ่ง จัดพระราชทานเพลิงศพ พระนางอั้วเชียงแสนตามประเพณี ต่อมาได้มอบราชกิจต่างๆ ในการปกครองบ้านเมืองให้พญาคำแดงราชบุตร แล้วเสด็จไปประทับพักผ่อนที่เมืองงาว ปี พ.ศ. 1841 พญางำเมืองก็สิ้นพระชนม์ รวมพระชนม์มายุได้ 60 พรรษา

อนุสาวรีย์พญางำเมือง

อนุสาวรีย์พญางำเมือง อดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาว (พะเยา) ประดิษฐานอยู่ที่สวนสาธารณะ เทศบาลหน้ากว๊านพะเยา เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2524 เสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2527 พญางำเมืองเป็นพระสหายร่วมน้ำสาบาน กับ พญามังรายอดีต กษัตริย์เมืองเชียงราย และพระร่วงเจ้า แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งทั้งสามกษัตริย์ได้ทรงกระทำสัตย์ต่อกัน ณ บริเวณแม่น้ำอิง ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณกว๊านพะเยา

อ้างอิง

  1. ประเสริฐ ณ นคร. (2549, กุมภาพันธ์). ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด. กรุงเทพฯ: มติชน. ISBN 9743236007. หน้า 269.
  2. ประเสริฐ ณ นคร. (2549, กุมภาพันธ์). ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด. กรุงเทพฯ: มติชน. ISBN 9743236007. หน้า 234.