ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นามสกุลจากราชทินนาม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Poang6 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ลบ|ต้นฉบับ ไม่เป็นสารานุกรม}}
'''นามสกุลจากราชทินนาม'''
'''นามสกุลจากราชทินนาม'''
นามสกุลคนไทยนั้นมีมาก ทั้ง[[นามสกุลพระราชทาน]] นามสกุลประทาน และนามสกุลที่ตั้งเองแต่ยังมีนามสกุลอีกประเภทหนึ่งที่มีที่มาจาก[[ราชทินนาม]]ของ[[ขุนนาง]] ทั้งนี้ การที่จะใช้ราชทินนามขุนนางเป็น[[นามสกุล]]ได้ต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อน เมื่อโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว ผู้ขอใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลจึงจะไปแจ้งขอเปลี่ยนนามสกุลได้
นามสกุลคนไทยนั้นมีมาก ทั้ง[[นามสกุลพระราชทาน]] นามสกุลประทาน และนามสกุลที่ตั้งเองแต่ยังมีนามสกุลอีกประเภทหนึ่งที่มีที่มาจาก[[ราชทินนาม]]ของ[[ขุนนาง]] ทั้งนี้ การที่จะใช้ราชทินนามขุนนางเป็น[[นามสกุล]]ได้ต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อน เมื่อโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว ผู้ขอใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลจึงจะไปแจ้งขอเปลี่ยนนามสกุลได้

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:30, 17 มิถุนายน 2557

นามสกุลจากราชทินนาม นามสกุลคนไทยนั้นมีมาก ทั้งนามสกุลพระราชทาน นามสกุลประทาน และนามสกุลที่ตั้งเองแต่ยังมีนามสกุลอีกประเภทหนึ่งที่มีที่มาจากราชทินนามของขุนนาง ทั้งนี้ การที่จะใช้ราชทินนามขุนนางเป็นนามสกุลได้ต้องนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อน เมื่อโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว ผู้ขอใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลจึงจะไปแจ้งขอเปลี่ยนนามสกุลได้

ราชทินนาม คือ นามที่ได้รับพระราชทาน ซึ่งแสดงถึงตำแหน่งหน้าที่ทางราชการของขุนนางผู้นั้น นามพระราชทานนี้อยู่ต่อท้ายบรรดาศักดิ์ (อันได้แก่เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุนหมื่น พัน ทนาย ฯ) ในบางกรณี ราชทินนาม พระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้เจ้ากระทรวงแต่งตั้งให้แก่ชนชั้นขุนนางที่ได้รับบรรดาศักดิ์ ดังนั้นราชทินนาม เป็นความดีความชอบที่มอบให้แก่ชนชั้นปกครอง ซึ่งไม่ได้รับเงินเดือนในสมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ ราชทินนาม ยังใช้สำหรับสมณศักดิ์ชั้นสัญญาบัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พระภิกษุสงฆ์ เช่นเจ้าคณะฯ

ก่อนที่จะเสนอนามสกุลจากราชทินนาม ต้องกล่าวถึงที่มาของการนำราชทินนามเป็นนามสกุลก่อน ในปี ๒๔๘๔ ได้มีการตราพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักราช ๒๔๘๔ ในมาตรา ๑๘ ของกฎหมายฉบับนี้ มีข้อความว่า "มาตรา ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะขอใช้ราชทินนามของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นชื่อสกุล ให้ยื่นเรื่องราวต่อรัฐมนตรีเพื่อถวายต่อพระมหากษัตริย์ ถ้าได้รับพระบรมราชานุญาตและนำหลักฐานไปจดทะเบียนต่อกรมการอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งผู้ยื่นเรื่องราวมีภูมิลำเนาแล้ว จึงให้ถือว่าเป็นชื่อสกุลอันชอบด้วยกฎหมาย"

ทันทีที่พระราชบัญญัติฉบับนั้นประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ก็มีผู้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลในครั้งแรก ดังนี้

๑. จอมพล หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขิตตะสังคะ) ขอใช้นามสกุล พิบูลสงคราม

๒. พลตำรวจตรี หลวงอดุลเดชจรัส (อดุล พึ่งพระคุณ) ขอใช้นามสกุล อดุลเดชจรัส

๓. นาวาเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์) ขอใช้นามสกุล ธำรงนาวาสวัสดิ์

๔. พันเอก หลวงเชวงศักดิ์สงคราม (ช่วง ขวัญเชิด) ขอใช้นามสกุล เชวงศักดิ์สงคราม

๕ พลโท หลวงพรหมโยธี (มังกร ผลโยธิน) ขอใช้นามสกุล พรหมโยธี

๖. พลอากาศตรี พระเวชยันตรังสฤษฏ์ (มุนี มหาสันทนะ) ขอใช้นามสกุล เวชยันตรังสฤษฏ์

๗. นายพันเอก พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ (เภา เพียรเลิศ) ขอใช้นามสกุล บริภัณฑ์ยุทธกิจ

๘. นายพลตรี หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล) ขอใช้นามสกุล เสรีเริงฤทธิ์

๙. หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วัฒนปฤดา) ขอใช้นามสกุล วิจิตรวาทการ

๑๐. ขุนสมาหารหิตะคดี (โป-ระ โปรคุปต์) ขอใช้นามสกุล สมาหาร

๑๗ พ.ย. ๒๔๘๔

อ้างอิง