ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟ้าทะลายโจร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PAHs (คุย | ส่วนร่วม)
Tkit9s2o (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 34: บรรทัด 34:


== การใช้ประโยชน์ ==
== การใช้ประโยชน์ ==
ฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณหลายประการ เช่น แก้ไข้ทั่ว ๆ ไป เช่น [[ไข้หวัด]] [[ไข้หวัดใหญ่]] ระงับอาการอักเสบ ไอ เจ็บคอ คออักเสบ [[ต่อมทอนซิล]] [[หลอดลมอักเสบ]] ขับ[[เสมหะ]] รักษาโรคผิวหนัง ฝี แก้ติดเชื้อ ที่ทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย [[บิด]] และแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ เป็นยาขมเจริญอาหาร มีฤทธิ์ระงับการติดเชื้อหรือระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้
ฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณหลายประการ เช่น แก้ไข้ทั่วๆ ไป เช่น [[ไข้หวัด]] [[ไข้หวัดใหญ่]] ระงับอาการอักเสบ ไอ เจ็บคอ คออักเสบ [[ต่อมทอนซิล]] [[หลอดลมอักเสบ]] ขับ[[เสมหะ]] รักษาโรคผิวหนัง ฝี แก้ติดเชื้อ ที่ทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย [[บิด]] และแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ เป็นยาขมเจริญอาหาร มีฤทธิ์ระงับการติดเชื้อหรือระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้
สารสกัดด้วยน้ำของฟ้าทะลายโจรที่ความเข้มข้น 31.25 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรยับยั้งการเจริญของ ''[[Stretococcus agalactiae]]'' ในอาหารเลี้ยงเชื้อได้ ปลานิล ที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมกับสารสกัดฟ้าทะลายโจร 4:36 (w/w) และ 5:35 (w/w) ตายเนื่องจากการติดเชื้อ ''S. agalactiae'' น้อยลง<ref>พงศ์ศักดิ์ รัตนชัยกุลโสภณ และ ปาริชาติ พุ่มขจร. 2553. [http://www.ubu.ac.th/~research/UBUJournal/DB_Journal/fileupload/12408.pdf การใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคในปลา] วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่12 ฉบับที่4 กรกฎาคม 2553 63 -71</ref>
สารสกัดด้วยน้ำของฟ้าทะลายโจรที่ความเข้มข้น 31.25 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรยับยั้งการเจริญของ ''[[Streptococcus agalactiae]]'' ในอาหารเลี้ยงเชื้อได้ ปลานิล ที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมกับสารสกัดฟ้าทะลายโจร 4:36 (w/w) และ 5:35 (w/w) ตายเนื่องจากการติดเชื้อ ''S. agalactiae'' น้อยลง<ref>พงศ์ศักดิ์ รัตนชัยกุลโสภณ และ ปาริชาติ พุ่มขจร. 2553. [http://www.ubu.ac.th/~research/UBUJournal/DB_Journal/fileupload/12408.pdf การใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคในปลา] วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่12 ฉบับที่4 กรกฎาคม 2553 63 -71</ref>
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Andrographis paniculata}}
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Andrographis paniculata}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:55, 1 มิถุนายน 2556

ฟ้าทะลายโจร
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Lamiales
วงศ์: Acanthaceae
สกุล: Andrographis
สปีชีส์: A.  paniculata
ชื่อทวินาม
Andrographis paniculata
(Burm.f.) Wall. ex Nees[1]
ชื่อพ้อง
  • Justicia paniculata Burm. f.

ฟ้าทะลายโจร (ชื่อวิทยาศาสตร์: Andrographis paniculata Wall ex Ness.) เป็นพืชล้มลุก โดยในตำรายาโบราณของไทย จัดให้เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ที่สามารถหามารับประทานแก้โรคได้เอง

ลักษณะ

สูงประมาณ 1 ฟุต ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งมาก ใบรียาว ปลายใบแหลม ดอกขนาดเล็กสีขาว มีรอยกระสีม่วงแดง ลักษณะเป็นหลอด ฝักคล้ายฝักต้อยติ่ง เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ใบมีสารประกอบแลกโตน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาแก้ไข้ โรคทางเดินหายใจ แก้เจ็บคอ แต่บางคนอาจเกิดอาการแพ้ได้ ซึ่งต้องหยุดยาทันที [2]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ฟ้าทะลายโจรเป็นพืชล้มลุกมีความสูงประมาณ 30 - 70 เซนติเมตร หรือประมาณ 1-2 ศอก[3] ลำต้นเป็นเหลี่ยมสี่มุม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปร่างเรียวยาวสีเขียวเข้มเป็นมัน ปลายแหลม กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ดอกช่อออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ มีดอกย่อยขนาดเล็กสีขาว ด้านในสีม่วง โคนกลีบติดกัน กลีบดอกด้านบนมี 3 หยักด้านล่างมี 2 หยัก ผลเป็นฝักเมื่อผลแก่จะมีสีน้ำตาล ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนจำนวนมาก

การใช้ประโยชน์

ฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณหลายประการ เช่น แก้ไข้ทั่วๆ ไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ระงับอาการอักเสบ ไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนัง ฝี แก้ติดเชื้อ ที่ทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ เป็นยาขมเจริญอาหาร มีฤทธิ์ระงับการติดเชื้อหรือระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้

สารสกัดด้วยน้ำของฟ้าทะลายโจรที่ความเข้มข้น 31.25 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรยับยั้งการเจริญของ Streptococcus agalactiae ในอาหารเลี้ยงเชื้อได้ ปลานิล ที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมกับสารสกัดฟ้าทะลายโจร 4:36 (w/w) และ 5:35 (w/w) ตายเนื่องจากการติดเชื้อ S. agalactiae น้อยลง[4]

อ้างอิง

  1. "Andrographis paniculata information from NPGS/GRIN". www.ars-grin.gov. สืบค้นเมื่อ 2008-03-07.
  2. ภูมิพิชญ์ สุชาวรรณ. พืชสมุนไพรใช้เป็นยา. กทม. มปท. 2536
  3. สรรพคุณสมุนไพร ฟ้าทะลายโจร เรียกข้อมูลวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
  4. พงศ์ศักดิ์ รัตนชัยกุลโสภณ และ ปาริชาติ พุ่มขจร. 2553. การใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคในปลา วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่12 ฉบับที่4 กรกฎาคม 2553 63 -71