ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปูก้ามดาบ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Synthebot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต ลบ: zh:招潮蟹
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
[[หมวดหมู่:วงศ์ปูลม]]
[[หมวดหมู่:วงศ์ปูลม]]
[[หมวดหมู่:ครัสเตเชียนที่เป็นสัตว์เลี้ยง]]
[[หมวดหมู่:ครัสเตเชียนที่เป็นสัตว์เลี้ยง]]

[[zh-min-nan:Kóng-sian-á]]
[[ca:Cranc violinista]]
[[ca:Cranc violinista]]
[[de:Winkerkrabben]]
[[de:Winkerkrabben]]
บรรทัด 46: บรรทัด 46:
[[fa:خرچنگ ویولن‌زن]]
[[fa:خرچنگ ویولن‌زن]]
[[fr:Uca]]
[[fr:Uca]]
[[it:Uca (genere)]]
[[hu:Uca]]
[[hu:Uca]]
[[nl:Wenkkrabben]]
[[it:Uca (genere)]]
[[ja:シオマネキ]]
[[ja:シオマネキ]]
[[nl:Wenkkrabben]]
[[nn:Vinkekrabbe]]
[[nn:Vinkekrabbe]]
[[pl:Uca]]
[[pl:Uca]]
บรรทัด 55: บรรทัด 55:
[[simple:Fiddler crab]]
[[simple:Fiddler crab]]
[[sv:Vinkarkrabbor]]
[[sv:Vinkarkrabbor]]
[[zh:招潮蟹]]
[[zh-min-nan:Kóng-sian-á]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:42, 2 มกราคม 2556

ปูก้ามดาบ
ปูก้ามดาบไม่ทราบชนิด (Uca sp.) ตัวผู้
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ไฟลัมย่อย: Crustacea
ชั้น: Malacostraca
อันดับ: Decapoda
อันดับฐาน: Brachyura
วงศ์: Ocypodidae
สกุล: Uca
Leach, 1814
ชนิด
ประมาณ 100 ชนิด

ปูก้ามดาบ หรือ ปูเปี้ยว (อังกฤษ: Fiddler crab, Ghost crab) เป็นปูทะเลขนาดเล็กสกุลหนึ่ง อยู่ในสกุล Uca ในวงศ์ Ocypodidae

ลักษณะ

มีลักษณะโดยรวมคือ กระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู มีก้านตายาว กระดองมีสัสันสวยงามต่าง ๆ ตัวผู้มีลักษณะเด่นอันเป็นที่มาของชื่อเรียก คือ มีก้ามข้างใดข้างหนึ่ง ขึ้นอยู่กับชนิดใหญ่กว่าอีกข้างอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะใช้ก้ามข้างนี้ในการโบกไปมาเพื่อขู่ศัตรูและเรียกร้องความสนใจจากตัวเมีย อีกทั้งยังใช้เป็นอาวุธในการต่อสู้กันอีกด้วย ขณะที่ปูตัวเมียก้ามทั้ง 2 ข้างจะเล็กเท่ากัน

ถิ่นที่อยู่

ปูก้ามดาบอาศัยอยู่ในป่าชายเลนหรือหาดทรายริมทะเล พบได้ทั่วไปในเขตแอฟริกาตะวันตก, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรแปซิฟิก และอินโด-แปซิฟิก โดยใช้ก้ามข้างเล็กนั้นคีบหาอาหารและป้อนอาหารเข้าปาก อาศัยโดยการขุดรูอยู่ ต่อเมื่อน้ำลงก็จะออกมาหาอาหาร โดยเวลาจะลงรูจะใช้ข้างที่เล็กกว่าลงก่อน ซึ่งก้ามข้างที่ใหญ่ขึ้น เมื่อขาดไป ข้างที่เล็กกว่าจะใหญ่ขึ้นมาแทน และข้างที่เคยใหญ่ขึ้นอาจงอกมาเป็นเล็กกว่าหรือสลับกันไปก็ได้

ปูก้ามดาบ เป็นปูขนาดเล็กที่ไม่ใช้บริโภคกันเหมือนปูทะเลชนิดอื่น แต่ด้วยความที่มีสีสันสวยงาม และรูปลักษณ์ที่แปลก จึงนิยมนำมาเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง[1]

ปูก้ามดาบเวลาผสมพันธุ์ ตัวเมียอาจเลือกตัวผู้เป็นร้อยตัว เมื่อจับคู่ได้แล้ว ตัวผู้จะเป็นฝ่ายนำตัวเมียลงไปผสมพันธุ์ในรู และตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลตัวเมียและไข่ที่บริเวณปากรู รอจนกว่าให้ตัวเมียฟักไข่จนออกมาเป็นตัวสมบูรณ์[2]

สำหรับในประเทศไทยพบปูก้ามดาบทั้งได้หมด 11 ชนิด ทั้งด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จากทั้งหมดประมาณ 100 ชนิด ใน 9 สกุลย่อย ที่พบได้ทั่วโลก[3] เช่น ปูก้ามดาบก้ามยาว (Uca spingata) และปูก้ามดาบก้ามขาว (U. perplexa) เป็นต้น[4]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Uca ที่วิกิสปีชีส์