ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไอซิส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MerlIwBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: sa:ईसिस
PixelBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต ลบ: sa:ईसिस
บรรทัด 100: บรรทัด 100:
[[ro:Isis]]
[[ro:Isis]]
[[ru:Исида]]
[[ru:Исида]]
[[sa:ईसिस]]
[[scn:Isidi]]
[[scn:Isidi]]
[[sh:Izida]]
[[sh:Izida]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:59, 9 ตุลาคม 2555

เทวีไอสิส

เทวีไอซิส (อังกฤษ: Isis) เป็นหนึ่งในเทพของ ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์

เทวีไอซิส

เทวีไอซิส บางตำราว่าเป็นธิดาของเทพเกบและเทพีนุต แต่ตำราที่จะเล่าต่อไปนี้ เทพีไอซิสเป็นธิดาของเทพรากับเทพีนุต (หรือ เทพีนัต) ซึ่งต้นกำเนิดของพระนางเริ่มมาจาก หลังจากที่เทพราได้อภิเษกกับเทพีนุตแล้ว เทพราปรารถนายิ่งนักที่จะได้โอรสธิดา แต่รอแล้วรอเล่าเทพีนุตก็ไม่ทรงครรภ์ เทพราทรงพิโรธ จึงได้สาปว่าเทพีนุตไม่มีวันที่จะตั้งครรภ์ได้อีก เทพีนุตเสียใจเป็นอันมากจึงได้ไปปรึกษาเทพธอทแห่งความรอบรู้ ซึ่งหลงรักเทพีนุตตลอดมา เทพธอทจึงแลกเปลี่ยนว่าถ้าเทพีนุตมีโอรสธิดาให้เทพราได้ พระนางต้องมอบความรักให้แก่เทพธอท ซึ่งเทพีนุตก็ตกลง

เทพธอทได้ไปท้าพนันกับเทพคอนชู เทพพระจันทร์ซึ่งโปรดปรานการพนัน โดยแสร้งเดินหมากกันจนหลงวันลืมคืน เทพคอนชูไม่รู้เท่าทันเล่ห์กลจึงเปล่งแสงอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งแสงมีมากพอเท่ากับแสงจากพระอาทิตย์จำนวน 5 วัน เทพธอทจึงเลิกเล่นหมากกับเทพคอนชู จากนั้นมาเพราะแสงมีไม่มากพอ เทพคอนชูจึงจำเป็นต้องลดแสงลงบ้างเวลาตอนกลางคืน กำเนิดเป็นข้างขึ้นข้างแรมแต่นั้นมา

เทพธอทนำแสงที่นอกเหนือจากแสงอาทิตย์ของเทพรามาสร้างเป็นวันจำนวน 5 วันพอให้เทพีนุตตั้งครรถ์ ทำให้เกิดเหล่าเทพเทพีจำนวน 5 องค์ คือ

1. วันที่หนึ่ง เทพีนุตให้กำเนิดเทพโอซีริส เทพกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ (การกำเนิดของพระองค์เลื่องลือไปทั่วทั้งสรวงสวรรค์ ด้วยเทพโอซิริสเป็นเทพที่ยิ่งใหญ่มาก)

2. วันที่สอง เทพีนุตให้กำเนิดเทพฮามาร์คิส เทพเจ้าแห่งรุ่งอรุณและเทพนักรบ หรือนัยหนึ่งคือ สฟิงซ์

3. วันที่สาม เทพีนุตให้กำเนิดเทพเซต เทพเจ้าแห่งความชั่วร้าย (เทพเซตกำเนิดในฤกษ์ร้าย และฉีกครรภ์ของพระมารดาออกมา)

4. วันที่สี่ เทพีนุตให้กำเนิดเทพีไอซิส เทพีแห่งความรักและไสยศาสตร์

5. วันที่ห้า เทพีนุตให้กำเนิดเทพีเนฟธิส เทพีผู้คุ้มครองวิญญาณคนตาย ต่อมาเป็นชายาเทพเซต

เทพีไอซิสกับเทพโอซิริสนั้นหลงรักกันตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของเทพีนุต ทั้งสองเติบโตมาด้วยกันและเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์ เทพโอซิริสทรงมีวิสัยผู้นำและเก่งกล้าสามารถ ส่วนเทพีไอซิสเก่งกาจด้านมนตราทั้งหลายและมีสติปัญญาเปรื่องปราดนัก กระทั่งครั้งหนึ่ง เทพีไอซิสคิดอยากให้เทพโอซิริสได้ขึ้นครองบัลลังก์ไอยคุปต์ จึงใช้สติปัญญาของพระนางลวงเทพรา จนเทพราหลงบอกพระนามจริงซึ่งผู้ใดรู้จะมีอิทธิฤทธิ์ยิ่งใหญ่ พระนางเลยมอบฤทธิ์ให้แก่เทพโอซิริส เพราะเหตุนั้นเทพราจึงสละบัลลังก์ให้แก่เทพโอซิริส เมื่อเทพโอซิริสขึ้นเป็นเทพราชา พระองค์จึงจัดอภิเษกสมรสกับเทพีไอซิสเป็นพระราชินีเคียงคู่กัน

อียิปต์รุ่งเรืองอย่างมากในยุคสมัยของเทพโอซิริสและเทพีไอซิส ทั้งสองสั่งสอนประชาชนให้รู้จักอารยธรรม และประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ จนเหล่าราษฏรต่างเคารพนับถือในเทพเทพีทั้งสองเป็นอย่างมาก แต่เรื่องราวต่างๆไม่รอดพ้นสายตาของเทพเซตผู้ริษยาเทพเชษฐามาตลอด เทพเซตต้องการเป็นพระราชา จึงสังหารเทพโอซิริสใส่โลงลอยตามแม่น้ำไนล์ไป ในขณะนั้นเทพีไอซิสมิได้อยู่ใกล้ชิดสวามี พระนางเศร้าโศกเสียใจเป็นอันมาก

เทพเซตยึดบัลลังก์และตั้งตัวเป็นใหญ่ แต่ทว่าเส้นทางของเทพผู้ชั่วร้ายไม่ราบรื่นเพราะเทพีไอซิสตั้งครรภ์ ด้วยความรักที่ยิ่งใหญ่ เทพีไอซิสสืบเสาะหาร่องรอยสวามีไปทั่วไอยคุปต์อย่างยากลำบากถึงขนาดต้องประสูติโอรส เทพโฮรัส หรือ เทพฮอรัส กลางเส้นทาง เทพีไอซิสมอบโอรสในปกครองของเทพีบูโตทั้งที่ห่วงหาเป็นยิ่งนัก แต่พระนางจำเป็นต้องนำพระศพมาประกอบตามพิธี ไม่เช่นนั้นเทพโอซิริสก็ไม่สามารถไปยังดินแดนแห่งความตายได้

เทพีไอซิสพบพระศพหลังจากตามหามาแสนนาน พระนางซบพระพักตร์ร่ำไห้กับโลงสวามีและจะนำพระศพไปประกอบพิธี แต่เทพเซตผู้ชั่วร้ายก็ตามหาพระศพเจอ จึงได้ฉีกศพเทพโอซิริสขาดวิ่นและโยนไปทั่วไอยคุปต์ เทพีไอซิสจึงต้องตามหาพระศพของสวามีอีกครั้งอย่างแสนเข็ญยิ่งกว่าเดิม

แต่โชคร้ายยังไม่จากเทพีไอซิสไป เมื่อเทพเซตต้องการล้างเสี้ยนหนามขวางทางสู่การเป็นราชา จึงได้ส่งงูไปสังหารเทพโฮรัสที่ยังเป็นแค่ทารกจนสิ้นใจในอกของพระนาง เทพีไอซิสต้องประสบเคราะห์กรรมสาหัส แต่เหล่าทวยเทพบอกพระนางว่า เทพโฮรัสจะฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีก แถมจะเก่งกล้าสามารถถึงขั้นสังหารเทพเซตลงได้ ขอให้พระนางติดตามพระศพต่อไปเถิด

เทพีไอซิสต้องการแก้เผ็ดเทพเซต จึงแปลงกายเป็นเทพีเนฟธิสขอคำสาบานจากเทพเซตว่า จะไม่ทำร้ายโอรสของพระนางจนกว่าโอรสของพระนางทำร้ายเทพเซตก่อน ซึ่งจะทำให้เทพโฮรัสฟื้นคืนชีพมาได้สำเร็จและปลอดภัยจนกว่าจะเติบใหญ่ เทพเซตนึกว่าเทพีเนฟธิสเป็นผู้พูดจึงตกปากรับสาบาน ทันใดนั้นเทพีไอซิสก็เผยร่างจริงออกมา ทำให้เทพเซตเดือดดาลเป็นอันมาก

หลังจากทุกข์ทรมาณกายใจมาตลอดหลายปี เทพีไอซิสก็ติดตามชิ้นส่วนของเทพโอซิริสจนครบและประกอบพิธีศพได้ โดยมีเทพอานูบิส เทพแห่งความตาย (โอรสที่เกิดแต่เทพีเนฟธิสผู้หลงรักเทพโอซิริส พระนางได้แปลงกายเป็นเทพีไอซิสและมอมสุราเทพโอซิริส จนมีเทพอานูบิส แต่บางที่ก็ว่าที่แท้จริงแล้วเทพอานูบิสเป็นโอรสเทพีเนฟธิสกับเทพเซตนั่นเอง) เป็นผู้ทำพิธีศพให้ มีการพันผ้ารอบศพและลงน้ำยา ก่อให้เกิดการทำมัมมี่ขึ้นมาตั้งแต่ตอนนั้น เมื่อเทพโอซิริสไปถึงดินแดนแห่งความตายแล้ว พระองค์ก็ยิ่งใหญ่ถึงขนาดเป็นราชาแห่งโลกของคนตาย

เวลาแห่งการล้างแค้นมาถึง เมื่อเทพโฮรัสได้ฟื้นขึ้นจากตาย (พระองค์มีสัญลักษณ์คือนกฟีนิกซ์ วิหคอมตะ) เทพบิดา เทพมารดา และเหล่าทวยเทพอีกมากมายได้สั่งสอนสิ่งต่างๆจนเทพโฮรัสเก่งกาจทั้งบู๊และบุ๋น ต่อมาเทพโฮรัสปราบเทพเซตลงได้ตามคำทำนาย และเป็นเทพกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งไอยคุปต์ ครอบครองบัลลังก์อย่างชอบธรรม

ท้ายสุด เทพครอบครัวนี้ก็ได้มาอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขอีกครั้งหนึ่ง ผู้คนในอียิปต์เมื่อบูชาเทพองค์ใดองค์หนึ่งในนี้ ก็จะบูชาเทพทั้งสององค์ร่วมด้วย และเป็นสัญลักษณ์ต่อกันมาว่า ฟาโรห์ที่สิ้นพระชนม์ไปแทนเทพโอซิริส องค์รานีคือเทพีไอซิส และฟาโรห์องค์ต่อมาคือเทพโฮรัส

ลักษณะของเทวีไอซิส

สัญลักษณ์ของเทวีไอซิสมีลักษณะเป็นเทพี บางครั้งมีปีก เครื่องทรงศิราภรณ์เป็นรูปบัลลังก์คล้ายขั้นบันได