ผลต่างระหว่างรุ่นของ "Lithops"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
WikitanvirBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: fa:لیتوپس
บรรทัด 140: บรรทัด 140:
[[en:Lithops]]
[[en:Lithops]]
[[es:Lithops]]
[[es:Lithops]]
[[fa:لیتوپس]]
[[fi:Kivikukat]]
[[fi:Kivikukat]]
[[fr:Lithops]]
[[fr:Lithops]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:42, 8 พฤษภาคม 2555

Lithops
Lithops lesliei. สิ่งที่เจริญแทรกขึ้นมา
ระหว่างใบทั้งสองคู่ คือ ดอก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: พืช
หมวด: พืชมีดอก
ชั้น: พืชใบเลี้ยงคู่
อันดับ: ไม้วงศ์ดอกผีเสื้อ
วงศ์: Aizoaceae
สกุล: Lithops
N.E.Br.
สปีชีส์

ดูในบทความ

ภาพ Lithops
ภาพ การงอกใบใหม่ของ Lithops

Lithops เป็นพืชชนิดหนึ่งในกลุ่มของพืชอวบน้ำ ชื่อนี้มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ คำว่า "Lithos" ซึ่งแปลว่า "หิน" และ "-ops" ซึ่งแปลว่า "เหมือน" ดังนั้นคำว่า "Lithops" จึงแปลได้ว่า "เหมือนหิน" ซึ่งตรงกับลักษณะของพืชชนิดนี้ เพราะพืชชนิดนี้มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากพืชชนิดอื่นอย่างชัดเจน กล่าวคือทั้งรูปร่าง ลักษณะ สีสัน คล้ายคลึงกับ ก้อนหิน ก้อนกรวด จนมีผู้เรียก Lithops ว่า "หินมีชีวิต" เป็นพืชขนาดเล็ก ขึ้นอยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง และอากาศเย็นในเวลากลางคืน ส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศนามิเบีย และประเทศแถบแอฟริกาใต้

รายละเอียด

Lithops โดยปกติจะมีใบอยู่เป็นคู่ มีลักษณะคล้ายกระเปาะ เมื่อมองจากด้านบนจะเห็นเป็นลักษณะกลม และมีร่องตรงกลางคล้ายรอยฝ่าเป็น 2 ซีก บริเวณร่องตรงกลางภายใน จะเป็นส่วนของเนื้อเยื่อ ที่สามารถเจริญเติบโตได้ ดอก หรือใบใหม่ ก็จะงอกออกมาจากร่องระหว่างใบทั้งสอง ในช่วงฤดูหนาวจะเป็นช่วงเวลาที่ Lithops เริ่มสร้างใบคู่ใหม่ อยู่ภายในร่องดังกล่าว ซึ่งจะมีเพียง 1 คู่เท่านั้น แต่อาจมีกรณีที่ Lithops แตกหน่อ ที่ทำให้คล้ายกับว่ามีใบหลายคู่ แต่ที่จริงน่าจะเรียกว่ามีต้นเล็ก 2 ต้นอยู่ภายในร่องมากกว่า ใบใหม่จะค่อยๆเจริญออกมาให้เห็นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบใหม่ที่งอกออกมาจะมีลักษณะเป็นคู่เหมือนใบเก่า และใบเก่าที่มีอยู่จะค่อยๆเหี่ยวไป ซึ่งในช่วงเวลานี้ควรงดให้น้ำแก่ Lithops เพราะใบเก่าที่กำลังเสื่อมสภาพลงจะง่ายต่อการเข้าทำลายของเชื้อรา จนทำให้เกิดการเน่าของ Lithops ได้ง่าย

Lithops ส่วนใหญ่มักฝังตัวเองอยู่ในพื้นหรือวัสดุที่ใช้ปลูก และเหลือเพียงส่วนบนของใบที่โผล่ขึ้นมาเท่านั้น สำหรับบริเวณส่วนบนของใบทั้ง 2 จะมีส่วนที่ค่อนข้างโปร่งแสง เรียกกันว่า "หน้าต่าง"(window) เพื่อให้แสงสามารถส่องเข้าไปในเนื้อเยื่อภายใน ซึ่งเป็นบริเวณที่สังเคราะห์แสง

จุดที่เป็นจุดดึงดูดความสนใจ ของผู้ที่นิยมเพาะเลี้ยง Lithops ก็คือสีสันของใบ ที่ไม่ได้มีแค่สีเขียวเหมือนพืชอวบน้ำทั่วไป แต่กลับมีสีสันแตกต่างหลายหลาก เช่น สีน้ำตาล, เทา, ครีม, ม่วง และอื่นๆอีกมากมาย รวมทั้งรูปแบบและสีสันของลวดลายของสิ่งที่เรียกว่า "หน้าต่าง" ไม่ว่าจะเป็น ลายเส้น, ลายจุด, ลายกลม ฯลฯ

ดอกของ Lithops ส่วนใหญ่มีสีเหลืองหรือสีขาว มีเพียงบางพันธุ์ที่มีดอกสีชมพูหรือบานเย็น Lithops ดอกมักออกในช่วงปลายปี ประมาณช่วงฤดูใบไม้ร่วงถึงฤดูหนาว ตำแหน่งดอกของ Lithops จะงอกแทรกออกมาตรงกลางระหว่างใบทั้ง 2 ของมัน ช่วงเวลาที่ดอกบานมักจะเป็นเวลาหลังเที่ยงและหุบลงในเวลาเย็น Lithops เป็นพืชที่ต้องการการผสมเกสรข้ามต้นจึงจะติดเมล็ด

ฝักและเมล็ดของ Lithops

ฝักหรือผลของ Lithops เป็นส่วนของฐานดอกที่หลังจากกลีบดอกโรยไปแล้ว และฝักหรือผลของ Lithops ไม่ได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นผลให้เห็นชัดเจนเหมือนไม้อวบน้ำสายพันธุ์อื่น แต่มีลักษณะเป็นกระเปาะฐานดอกที่มีปลายแห้งๆ และในธรรมชาติกระเปาะดังกล่าวจะเปิดออกเมื่อโดนน้ำ พร้อมกับการดีดเมล็ดที่มีขนาดเล็กมากขนาดเท่าเม็ดทรายออกมาเพื่อขยายพันธุ์

การเพาะเลี้ยง

ไฟล์:Lithops dividing.JPG
กลุ่มของ Lithops sp. ที่กำลังแตกหน่อและใบเก่ากำลังเหี่ยวไป

ในต่างประเทศ Lithops เป็นที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย รวมทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญที่พัฒนาสายพันธุ์แปลกๆขึ้นมาอย่างมากมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งลวดลายและสีสันของใบที่สวยแปลกตา เรามักพบว่าเมล็ดและต้นก็มีการซื้อขายกันอย่างกว้างขวางใน Internet และจัดว่าเป็นไม้ที่เพาะเลี้ยงได้ง่าย ราคาไม่แพง สกุลหนึ่งเลยทีเดียว

แต่สำหรับในประเทศไทยนั้น Lithops เป็นพืชอวบน้ำที่ค่อนข้างเลี้ยงยากสกุลหนึ่ง อันเนื่องมาจากลักษณะดินฟ้าอากาศของประเทศไทย ที่เป็นแบบร้อนชื้น ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของ Lithops เท่าไหร่นัก มักเน่าตายเป็นส่วนใหญ่ เพราะ Lithops มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณที่แห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝนในช่วงหน้าฝนรวมกันไม่ถึง 2 นิ้วต่อเดือน และอยู่ท่ามกลางโขดหินซึ่งกักเก็บความชื้นไว้ได้น้อย อากาศหนาวเย็นในเวลากลางคืน

การเพาะเลี้ยง Lithops ในโรงเรือนสำหรับประเทศไทยนั้น เพื่อให้สามารถควบคุมเรื่องปริมาณน้ำและความชื้นซึ่งเป็นปัญหาหลักในการปลูกได้ดี ควรมีโรงเรือนแบบเปิดหลังคาพลาสติกใส ที่สามารถป้องกันฝนสาดใส่ Lithops ให้แสงแดดในช่วงเช้า (ตั้งแต่อาทิตย์ขึ้นถึงราว 11โมง) และแสงในช่วงเย็น (ตั้งแต่ 4โมงเย็นถึงอาทิตย์ตกดิน) ส่องตรงถึง Lithops ได้ ทำการพรางแสงในช่วงเที่ยงวันสัก 50% เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการไหม้จากแสงแดดที่แรงจนเกินไป ซึ่งอาจทำได้โดยการติดซาแลน เฉพาะส่วนใต้หลังคาโรงเรือนเท่านั้น (ไม่ต้องติดคลุมทั้งโรงเรือน)

ภาชนะสำหรับปลูก Lithops ต้องระบายน้ำได้ดี ในกรณีที่ปลูกเป็นจำนวนมาก สามารถนำตะกร้าที่มีช่องรู ประมาณ 0.5x0.5 ซม.มีความสูงสักประมาณ 3-4นิ้ว ซึ่งระบายน้ำได้ดี และประหยัดภาชนะที่ใช้ปลูกไปด้วย เพราะใบหนึ่งสามารถปลูกได้หลายต้น รองพื้นตะกร้าด้วยและรอบๆตะกร้าด้วยหินภูเขาไฟเบอร์ 1 เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุปลูกที่มีขนาดเล็กกว่าไหลออกไปตามรูของตะกร้า

การเตรียมวัสดุปลูก Lithops ซึ่งมีมากมายหลายสูตร เช่น ใช้หินภูเขาไฟเบอร์ 00 เพียงอย่างเดียว, หินภูเขาไฟเบอร์ 00 ผสม เวอร์มิคูไลท์, หินภูเขาไฟเบอร์ 00 2 ส่วน ผสมดินปลูกแคสตัส 1 ส่วน แต่โดยหลักการของวัสดุปลูกก็คือระบายน้ำได้ดีและแห้งได้เร็ว โดยเมื่อหลังจากรดน้ำแล้วทิ้งไว้สัก 1 วัน สังเกตที่หินภูเขาไฟจะเหลือแค่ร่องรอยของความชื้นเท่านั้น(สีเข้มว่าปกติเล็กน้อย) เอาไม้แหลมจิ้มลงไปในวัสดุปลูกไม่ควรมีอะไรติดขึ้นมาหรือติดขึ้นมาเพียงเล็กน้อย เหตุที่ต้องให้แห้งได้เร็วแบบนี้ ก็เพื่อเผื่อในกรณีช่วงฤดูฝนที่ฝนตกติดต่อกันทุกวัน อากาศมีความชื้นสูง ทำให้วัสดุปลูกแห้งช้าลง

การให้น้ำสำหรับ Lithops หลักเกณฑ์พื้นฐานก็คือ "ให้อดจนแสดงอาการ จึงให้กิน" กล่าวคือเราจะไม่รดน้ำจนกว่า Lithopsแสดงอาการว่าขาดน้ำ โดยอาการที่ว่าก็คือเกิดรอยย่นขึ้นบริเวณโคนต้น และตัววัสดุปลูกแห้งสนิท จึงจะรดน้ำให้ ในการปลูกจำนวนหลายต้นในภาชนะเดียวกัน เป็นไปได้ว่ามีบางต้นแสดงอาการ บางต้นไม่แสดงอาการ เพราะความต้องการน้ำของ Lithops แต่ละต้นย่อมแตกต่างกัน ไปตามสายพันธุ์ ขนาดต้น ฯลฯ ดังนั้นเราสามารถให้น้ำตรงบริเวณโคนต้นเฉพาะต้นที่แสดงอาการ หรืออาจรอให้ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเริ่มแสดงอาการ จึงค่อยรดพร้อมกันทีเดียวก็ได้

ในการขยายพันธุ์ของ Lithops มี 2 วิธีที่นิยมกัน คือการเพาะเมล็ด และการแยกหน่อ ในการเพาะเมล็ดนั้นสามารถทำได้โดยการเก็บฝักของ Lithops มาแกะด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากเมล็ดของ Lithops มีขนาดเล็กมาก

ประวัติ

รายละเอียดการศึกษา Lithops ในเชิงวิทยาศาสตร์ครั้งแรก บันทึกไว้ว่าเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1811 โดย William John Burchell จากการเดินทางไปสำรวจที่แอฟริกาใต้ เขาได้ตั้งชื่อให้กับสิ่งที่เขาพบว่า Mesembryanthemum turbiniforme การค้นพบของเขานั้นเกิดขึ้นจากความบังเอิญ จากการที่เขาคิดว่ามันเป็นก้อนกรวดรูปร่างสีสรรที่แปลกประหลาดและลองหยิบมันขึ้นมาดูจากพื้นดิน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า เขาไม่ได้บันทึกรายละเอียดของสิ่งที่เขาพบไว้มากพอที่จะใช้ระบุว่า Lithops ที่เขาพบเป็นสายพันธุ์ใด และคำว่า Lithops turbiniformis ก็ไม่ได้มีการถูกพูดถึงอีก จนกระทั่งหลายปีต่อมา คำว่า Lithops ก็ปรากฏขึ้นอีกครั้งในการใช้เรียก ไม้สายพันธุ์หนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันในเวลาต่อมาว่า Lithops hookeri

Lithops หลากหลายชนิดถูกตีพิมพ์ออกมาภายใต้ชื่อตระกูล(genus)ว่า Mesembryanthemum จนกระทั่งในปี ค.ศ.1922 N E Brown ได้เริ่มทำการแบ่งแยกตระกูล(genus)ดังกล่าวที่เริ่มมีขนาดใหญ่เกินไปออก และตระกูล Lithops จึงได้ถือกำเนิดขึ้นพร้อมๆกับไม้อื่นๆอีกหลายตระกูล โดยหลักเกณฑ์ในการแบ่งแยกตระกูลครั้งนั้น Brown, Gustav Schwantes, Kurt Dinter, Gert Nel, และ Louisa Bolus ได้ทำการสานต่อบันทึกและเอกสารต่างๆเกี่ยวกับ Lithops จากการศึกษาทั่วแอฟริกาใต้ แต่ก็ยังมีมติเป็นทางการเกี่ยวกับความสัมพันธ์และการกำหนดสายพันธุ์(species)ที่ชัดเจน จนกระทั่งปีค.ศ. 1950

ในปีค.ศ. 1950 Desmond และ Naureen Cole เริ่มทำการศึกษา Lithops โดยศึกษาไม้จากแหล่งกำเนิดต่างๆกว่า 400 ตัวอย่างทั่วโลก แล้วจำแนก Lithops ลงรายละเอียดแยกตามสายพันธุ์,แหล่งกำเนิด,รูปแบบลวดลายหน้าต่าง(เช่น C042 และ C043 ก็เป็นสายพันธุ์ Lithops bromfieldii v. insularis เดียวกัน แต่มีลวดลายหน้าต่างแตกต่างกัน) โดยการกำหนด Cole Number หรือที่เรียกว่า C Number เพื่อให้ง่ายในการอ้างอิงและศึกษา จนในปัจจุบันก็ยังมีการอ้างอิงชื่อสายพันธุ์กับ Cole Number อยู่ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก รายการชื่อ Lithops ตาม Cole Number (อังกฤษ)

สายพันธุ์

Lithops aucampiae

Lithops aucampiae ssp. aucampiae 'Jackson´s Jade'
  • C395 (อังกฤษ)
Lithops aucampiae ssp. aucampiae v. aucampiae
  • C002 (อังกฤษ)
  • C003 (อังกฤษ)
  • C004 (อังกฤษ)
  • C046 (อังกฤษ)
  • C061 (อังกฤษ)
  • C117 (อังกฤษ)
  • C172 (อังกฤษ)
  • C255 (อังกฤษ)
  • C257 (อังกฤษ)
  • C298 (อังกฤษ)
  • C333 (อังกฤษ)
  • C334 (อังกฤษ)
  • C366 (อังกฤษ)
Lithops aucampiae ssp. aucampiae v. aucampiae (Kuruman form)
  • C011 (อังกฤษ)
  • C012 (อังกฤษ)
  • C173 (อังกฤษ)
  • C325 (อังกฤษ)
  • C332 (อังกฤษ)
Lithops aucampiae ssp. aucampiae v. aucampiae 'Betty´s Beryl'
  • C389 (อังกฤษ)
Lithops aucampiae ssp. aucampiae v. aucampiae 'Storms´s Snowcap'
  • C392 (อังกฤษ)
Lithops aucampiae ssp. aucampiae v. koelemanii
  • C016 (อังกฤษ)
  • C256 (อังกฤษ)
Lithops aucampiae ssp. euniceae v. euniceae
  • C048 (อังกฤษ)
Lithops aucampiae ssp. euniceae v. fluminalis
  • C054 (อังกฤษ)

Lithops bromfieldii

Lithops bromfieldii v. bromfieldii
  • C040 (อังกฤษ)
  • C041 (อังกฤษ)
  • C279 (อังกฤษ)
  • C348 (อังกฤษ)
  • C368 (อังกฤษ)
Lithops bromfieldii v. glaudinae
  • C116 (อังกฤษ)
  • C382 (อังกฤษ)
  • C393 (อังกฤษ)
Lithops bromfieldii v. insularis
  • C042 (อังกฤษ)
  • C043 (อังกฤษ)
  • C057 (อังกฤษ)
Lithops bromfieldii v. insularis 'Sulphurea'
  • C362 (อังกฤษ)
Lithops bromfieldii v. mennellii
  • C044 (อังกฤษ)
  • C283 (อังกฤษ)

Lithops coleorum

Lithops coleorum
  • C396 (อังกฤษ)

Lithops comptonii

Lithops comptonii
  • C125 (อังกฤษ)
  • C126 (อังกฤษ)
  • C347 (อังกฤษ)
  • C377 (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น