ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาอีโต้มอญ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
FoxBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.6.5) (โรบอต เพิ่ม: ga:Dorád
บรรทัด 73: บรรทัด 73:
[[fi:Dolfiini]]
[[fi:Dolfiini]]
[[fr:Coryphaena hippurus]]
[[fr:Coryphaena hippurus]]
[[ga:Dorád]]
[[it:Coryphaena hippurus]]
[[it:Coryphaena hippurus]]
[[ja:シイラ]]
[[ja:シイラ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:36, 4 กุมภาพันธ์ 2555

ปลาอีโต้มอญ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Coryphaenidae
สกุล: Coryphaena
สปีชีส์: C.  hippurus
ชื่อทวินาม
Coryphaena hippurus
Linnaeus, 1758
ชื่อพ้อง
  • Corypaena hippurua Linnaeus, 1758
  • Coryphaena argyrurus Valenciennes, 1833
  • Coryphaena chrysurus Lacepède, 1801
  • Coryphaena dolfyn Valenciennes, 1833
  • Coryphaena dorado Valenciennes, 1833
  • Coryphaena fasciolata Pallas, 1770
  • Coryphaena hipporus Linnaeus, 1758
  • Coryphaena hyppurus Linnaeus, 1758
  • Coryphaena immaculata Agassiz, 1831
  • Coryphaena imperialis Rafinesque, 1810
  • Coryphaena japonica Temminck & Schlegel, 1845
  • Coryphaena margravii Valenciennes, 1833
  • Coryphaena nortoniana Lowe, 1839
  • Coryphaena scomberoides Valenciennes, 1833
  • Coryphaena suerii Valenciennes, 1833
  • Coryphaena virgata Valenciennes, 1833
  • Coryphaena vlamingii Valenciennes, 1833
  • Lampugus siculus Valenciennes, 1833
  • Lepimphis hippuroides Rafinesque, 1810
  • Scomber pelagicus Linnaeus, 1758

ปลาอีโต้มอญ (อังกฤษ: Common dolphinfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Percifoemes) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coryphaena hippurus จัดอยู่ในวงศ์ปลาอีโต้ (Coryphaenidae) ซึ่งมีอยู่ด้วยกันเพียง 2 ชนิดเท่านั้น [2]

ปลาอีโต้มอญ มีลำตัวยาวเรียว แต่เมื่อเจริญเติบโตขึ้นลำตัวจะกว้างขึ้นและแบนข้างเล็กน้อย หัวงุ้มลง ทำให้มีรูปร่างคล้ายมีดโต้ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีเกล็ดเล็กละเอียด ปากกว้างและเฉียงขึ้น ฟันเล็กละเอียด ครีบหลังยาวเริ่มตั้งแต่บริเวณโหนกหัวไปจนถึงโคนหาง ครีบหางใหญ่เว้าลึกรูปส้อม ตัวผู้มีโหนกหัวนูนออกไปข้างหน้าเป็นแนวตั้งฉากกับปากคล้ายกับโลมา อันเป็นที่มาของชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ ส่วนตัวเมียจะมีโหนกหัวลาดลง ปลาขนาดโตเต็มวัยลำตัวมีสีน้ำเงินปนเขียว ข้างตัวมีจุดดำเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วลำตัว

มีความยาวตั้งแต่ 40-100 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดมีความยาวถึง 150 เซนติเมตร เป็นปลาที่อยู่รวมตัวกันเป็นฝูงขนาดไม่ใหญ่ อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึก และมักขึ้นมาหากินและหาอาหารบริเวณผิวน้ำ มักพบอยู่บริเวณข้างเกาะแก่ง ตามต้นไม้หรือกิ่งไม้หรือซากอวนที่ลอยมาตามน้ำ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่ปราดเปรียวว่องไว ว่ายน้ำได้เร็วมาก กินปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร[3]

เป็นปลาที่เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในการตกปลาเป็นเกมกีฬา เช่นเดียวกับปลากระโทง (Istiophoridae) หรือปลาทูน่า (Scombridae) เนื่องจากเป็นปลาที่สู้เบ็ดและมีความสวยงามเมื่อเวลาตก และนิยมจับเพื่อการประมงเชิงพาณิชย์ด้วย ซึ่งประเทศในแถบแคริบเบียนเป็นกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากปลาอีโต้มอญกลุ่มใหญ่ของโลก ส่วนหลาย ๆ ประเทศที่พัฒนาแล้วในยุโรปมีปริมาณการบริโภคเพิ่มมากขึ้นทุกปี และญี่ปุ่นก็เป็นประเทศที่บริโภคปลาชนิดนี้เป็นปริมาณมากเช่นกัน

ปลาอีโต้มอญ ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก ในภาษาไทย เช่น หน้ามอม, อีโต้, มงเจ้าเลือด, โต้มอญ หรือ สีเสียดอินเดีย เป็นต้น ในขณะที่ภาษาฮาวายจะเรียกว่า "Mahi-mahi" ซึ่งเป็นชื่อที่เพิ่งใช้ไม่นานมานี้ โดยจะปรากฏบนเฉพาะบนเมนูอาหาร ในขณะที่ภาษาสเปนจะเรียกว่า "Dorado" ที่หมายถึง ทองคำ[4]

สถานะของปลาอีโต้มอญ ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List) ได้จัดให้อยู่สถานะสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (LC) [5]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น