ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คุยเรื่องวิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล/กรุ 1"

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jung (คุย | ส่วนร่วม)
Jung (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
::: เรื่องเวลา ผมว่าอย่าเกิน 1 เดือนเลย ... อาจจะเป็นช่วงเวลาโหวต 4 อาทิตย์ นับจากวันเสนอชื่อ .. แล้วรอตอบรับอีก 1 อาทิตย์ นับจากวันปิดโหวต ถ้าตอบรับก็เป็นไปเลย ถ้ายังไม่ตอบในกำหนด ก็ตกไป รอถูกเสนอใหม่รอบหน้า
::: เรื่องเวลา ผมว่าอย่าเกิน 1 เดือนเลย ... อาจจะเป็นช่วงเวลาโหวต 4 อาทิตย์ นับจากวันเสนอชื่อ .. แล้วรอตอบรับอีก 1 อาทิตย์ นับจากวันปิดโหวต ถ้าตอบรับก็เป็นไปเลย ถ้ายังไม่ตอบในกำหนด ก็ตกไป รอถูกเสนอใหม่รอบหน้า
::: -- [[ผู้ใช้:172.176.189.246|172.176.189.246]] 01:41, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)
::: -- [[ผู้ใช้:172.176.189.246|172.176.189.246]] 01:41, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)

::: 1 month is ok. :) [[ผู้ใช้:Jung|จุง]] 13:06, 1 สิงหาคม 2006 (UTC)


อ้อ อีกเรื่องครับ เวลานับคะแนน จะนับเอาคะแนน สนับสนุน/เป็นกลาง/คัดค้าน มานับยังไง ?
อ้อ อีกเรื่องครับ เวลานับคะแนน จะนับเอาคะแนน สนับสนุน/เป็นกลาง/คัดค้าน มานับยังไง ?

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:06, 1 สิงหาคม 2549

ดูการพูดคุยเก่า ๆ ได้ที่ กรุ [[พูดคุย:วิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล/กรุ1|1]]


ช่วงเวลาการรับลงคะแนน และการนับคะแนน

What does it means by 75-80%? relatively or absolutely?

(If there have to be "absolutely" 75-80% users (of total users) to vote for a candidate, no one will successfully promote to an admin; but if there have to be just relatively 75-80% users (of current voting users), I think all candidates will be promoted... )

BTW, there is no response from both two candidates -___-' -- จุง 12:58, 3 กรกฎาคม 2006 (UTC)

ไม่แน่ใจเหมือนครับ ดูไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่
แต่ผมว่าคำว่า "มากกว่า 75-80%" มันแปลก ๆ ไปหน่อย
จะ "มากกว่า 75%" หรือ "มากกว่า 80%" ก็เอาซักอย่างดีกว่า -- 172.173.214.87 14:20, 15 กรกฎาคม 2006 (UTC)
แหะ ๆ อันนี้ลอกมาล้วน ๆ จะกำหนดต่างไปจากนี้ก็ได้ครับ คงต้องตกลงกันให้ดี แปลกเหมือนกันที่ที่ผ่่านมาไม่เคยวางกฎเกณฑ์มาก่อนเลยแต่ก็เลือกมาแล้วหลายคน --Pi@k 14:50, 15 กรกฎาคม 2006 (UTC)
ควรจะเป็น x% จากจำนวนผู้ออกเสียงครับ (เช่นเดียวกับการเลือกตั้งทั่วไป) -- 172.176.189.246 13:15, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)
น่าจะมีการกำหนดเวลาด้วยครับ ว่าให้โหวดนานแค่ไหน ใครโหวดได้บ้าง (admin หรือผู้ใช้ทั่วไป) ที่ผ่านมามติค่อนข้างเป็นเอกฉันท์เลยไม่มีปัญหา :) --Lerdsuwa 15:59, 15 กรกฎาคม 2006 (UTC)
ดูของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ผู้ใช้ทุกคนที่ล็อกอินโหวตได้ ส่วนภาษาไทยจะเป็นแบบไหนก็ลองคุยกันดูครับ
เรื่องเวลา ผมว่าอย่าเกิน 1 เดือนเลย ... อาจจะเป็นช่วงเวลาโหวต 4 อาทิตย์ นับจากวันเสนอชื่อ .. แล้วรอตอบรับอีก 1 อาทิตย์ นับจากวันปิดโหวต ถ้าตอบรับก็เป็นไปเลย ถ้ายังไม่ตอบในกำหนด ก็ตกไป รอถูกเสนอใหม่รอบหน้า
-- 172.176.189.246 01:41, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)
1 month is ok. :) จุง 13:06, 1 สิงหาคม 2006 (UTC)

อ้อ อีกเรื่องครับ เวลานับคะแนน จะนับเอาคะแนน สนับสนุน/เป็นกลาง/คัดค้าน มานับยังไง ? อย่างตอนนี้ เขียนว่า "การปรับสถานภาพเป็นผู้ดูแลจะมีขึ้นก็ต่อเมื่อได้รับเสียงสนับสนุนมากกว่า 75-80%" สมมติมีคะแนนทั้งหมด 100 มี สนับสนุน 49 เป็นกลาง 50 คัดค้าน 1

  1. ถ้าเกิดนับเฉพาะเสียง สนับสนุน ล้วน ๆ ก็ยังเป็นไม่ได้ ? (สนับสนุนแค่ 49% จาก 100)
  2. ถ้าเกิดตัดเสียงเป็นกลางออกไป เหลือ สนับสนุน 49 คัดค้าน 1 แบบนี้ก็เป็นได้ (สนันสนุน 98% จาก 50)

จะนับแบบไหนดี ? แบบไหนมีข้อดีข้อเสียยังไงบ้าง เห็นกันยังไงบ้างครับ ?

ความเห็นผมคือ

  • ถ้าเรานับแบบ (1) แสดงว่าคะแนน เป็นกลาง นั้นก็คือ ไม่สนับสนุน นั่นเอง (แต่ก็ไม่ถึงกับคัดค้าน เพียงแต่ไม่สนับสนุนเท่านั้น)
  • ถ้าเรานับแบบ (2) แสดงว่าคะแนน เป็นกลาง นั้นก็มีผลเท่ากับ งดออกเสียง (เพราะที่สุดแล้วคะแนนก็ถูกตัดทิ้งจากการพิจารณา ไม่เอามาเป็นตัวหารด้วย)

ถ้าจะเลือกนับแบบ (1) ก็จะเป็นผู้ดูแลได้ยากหน่อย ออกจะดูหิน ๆ แต่ถ้าจะเลือกนับแบบ (2) ก็ดูเป็นการไม่ให้เกียรติคนออกเสียงเป็นกลางรึเปล่า ? (เพราะเราก็ไม่รู้ว่า คนออกเสียงเค้าคิดยังไง ทำไมถึงออกเสียง เป็นกลาง)

หรือจะเอาแบบเลือกตั้งจริง ๆ ในเขตที่มีผู้สมัครรายเดียว ที่ใช้เป็น รับรอง/ไม่รับรอง ... ไม่ต้องมี เป็นกลาง ให้ปวดหัว - -" ฝากคิดด้วยครับ

-- 172.176.189.246 02:04, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)

ไปดูของภาษาอังกฤษมา en:Wikipedia:Requests for adminship อาจจะเป็นแนวได้

เรื่องแรกเลยคือ เท่าที่ผมเข้าใจ ในการตัดสินใจของเค้านั้น ออกจะเป็น republic มากว่า democratic คือเค้าไม่ได้ใช้จำนวนเสียงมาคิดตรง ๆ แต่พบว่าแต่ละเสียงอาจจะมีน้ำหนักต่างกันได้ ("Explain your opinion by including a short explanation of your reasoning. Your input will carry more weight if it is accompanied by supporting evidence.") นี่อาจจะเป็นที่มาของช่วง 75-80% คือมันไม่เป๊ะ เพราะมีเรื่องของการให้น้ำหนักมาเกี่ยวด้วย

ใครออกเสียงได้บ้าง ? เค้าให้ทุกคนออกเสียงได้นะครับ ยกเว้นกรณีต้องสงสัยว่าจะมีการสร้างบัญชีใหม่ขึ้นมาเพื่อออกเสียง อีกอันคือ เค้าไม่นับคะแนนจากผู้เสนอชื่อ ("Who may not vote: Editors who do not have an account and/or are not logged in ("anons"). Votes of very new editors may be discounted if there is suspicion of fraud such as sockpuppetry. Voting on one's own nomination is not allowed and will not be counted by the closing bureaucrat.")

เรื่องคะแนนเป็นกลาง อันนี้เค้าไม่นับแฮะ ("Neutral" comments are also permitted, but are not ordinarily counted in determining percentages, although they are considered by bureaucrats in borderline cases.)

และเรื่องการออกความเห็น อันนี้ชัดเจนเลยว่าต่างจากของเรา เพราะเค้าขอให้ทุกเสียงไม่ว่าจะ สนับสนุน เป็นกลาง หรือ คัดค้าน เขียนความเห็นลงมาด้วย ซึ่งต่างจากของเรา ที่ขอเหตุผลเฉพาะกรณีคัดค้าน ส่วนเสียงสนับสนุนกับเป็นกลางไม่ต้องบอกเหตุผล (แบบนี้เอนเอียงหรือเปล่า?) (อืม น่าจะเปลี่ยนคำว่า เหตุผล เป็น ความเห็น ด้วย)

ลองเข้าไปอ่าน ๆ ดูกันครับ en:Wikipedia:Requests for adminship เท่าที่ผมมอง กระบวนการของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเค้า มันค่อนข้างจะต่างจากการออกเสียงธรรมดาทีเดียว คือมันเหมือนเป็นกระบวนการ "แสดงผลงาน" / "ซักฟอก" / "ตีแผ่" ซะมากกว่า คือใครมีความเห็นอะไรก็เอาออกมาแสดง มีหลักฐานอะไรก็โชว์มาให้หมด อธิบายกันไปกันมา เสร็จแล้วค่อยพิจารณาจากหลักฐานประกอบพวกนั้น เพื่อตัดสินใจ (bureaucrats จะเป็นผู้ตัดสินใจ จากเสียงสนับสนุน/คัดค้าน และหลักฐาน ดูตรง Decision process) ซึ่งส่วนตัว ผมว่าแบบนี้มันก็ละเอียดดี หมดข้อสงสัย

-- 172.176.189.246 02:32, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)

การเปลี่ยนใจ

แล้วก็ ถ้าโหวตไปแล้ว แต่หีบยังไม่ปิด เปลี่ยนใจได้รึเปล่า ? แบบสมมติตอนนี้คัดค้านแล้วเห็นความเห็นต่าง ๆ แล้ว เกิดคล้อยตาม จะสนับสนุนขึ้นมา -- 172.176.189.246 02:34, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)

โหวตภาพคัดสรร (featured picture) ที่วิกิภาษาอังกฤษ เขาเปลี่ยนใจได้ครับ ใช้วิธีขีดชื่อตัวเองหรือความเห็นเก่าทิ้งแทนที่จะลบไปเฉย ๆ
ผมว่าการโหวตผู้ดูแลนี้ก็ควรจะเปลี่ยนความเห็นได้ คือเวลาเจอข้อมูลการโต้แย้งใหม่ ๆ ก็เอามาใช้ประกอบการตัดสินใจ ไม่ต้องไปยึดติดความเห็นเดิมที่อาจมองผิดหรือมองแค่ด้านเดียว -- Lerdsuwa 12:35, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)
เห็นด้วยเหมือนกันครับ ว่าควรเปลี่ยนได้ แต่ทั้งนี้ควรจะมีเวลากำหนด "ปิดหีบ" ที่ชัดเจนไปพร้อมกัน -- 172.176.189.246 13:11, 16 กรกฎาคม 2006 (UTC)
agree. we should allow members to change their decisions. จุง 13:04, 1 สิงหาคม 2006 (UTC)