ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรานบูรพ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
รุจ (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
นายจวงจันทร์ จันทร์คณา เป็นบุตรของหลวงราชสมบัติ(จันทร์) และนางสร้อย เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2444 ที่[[จังหวัดเพชรบุรี]] เนื่องจากบิดาเป็นข้าราชการ ซึ่งต้องโยกย้ายไปรับราชการตามต่างจังหวัดต่างๆ เข้าเรียนหนังสือที่[[จังหวัดราชบุรี]] ต่อมาจึงย้ายไปอยู่[[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]] และเข้าเรียนต่อที่[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] และ[[คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] แต่เรียนไม่สำเร็จเพราะสนใจในด้านการประพันธ์และดนตรีมากกว่า
นายจวงจันทร์ จันทร์คณา เป็นบุตรของหลวงราชสมบัติ(จันทร์) และนางสร้อย เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2444 ที่[[จังหวัดเพชรบุรี]] เนื่องจากบิดาเป็นข้าราชการ ซึ่งต้องโยกย้ายไปรับราชการตามต่างจังหวัดต่างๆ เข้าเรียนหนังสือที่[[จังหวัดราชบุรี]] ต่อมาจึงย้ายไปอยู่[[จังหวัดสุราษฎร์ธานี]] และเข้าเรียนต่อที่[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] และ[[คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] แต่เรียนไม่สำเร็จเพราะสนใจในด้านการประพันธ์และดนตรีมากกว่า


จวงจันทร์ จันทร์คณา สมรสกับนางน้อย จันทร์คณา มีบุตรชายคือ [[จงรัก จันทร์คณา]] เมื่อออกจากมหาวิทยาลัยได้ทำอาชีพบอกบทละครอยู่หลังฉาก และเริ่มแต่งบทละครเรื่อง "ทะแกล้วทหารสามเกลอ" ขึ้นเป็นเรื่องแรก ก็ได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี จนได้เป็นผู้แต่งบทละครเอง กำกับการแสดงเอง และได้ใช้นามปากกา "พรานบูรพ์" เป็นครั้งแรก เมื่อเขียนเรื่อง "เหยี่ยวทะเล"
จวงจันทร์ จันทร์คณา สมรสกับนางศรี จันทร์คณา มีบุตรและธิดา ดังนี้ นายจารุ จันทร์คณา(ถึงแก่กรรม) นางสาวจุไร จันทร์คณา(ถึงแก่กรรม) นางสาวจามรี จันทร์คณา และนางสาวจริยา จันทร์คณา ต่อมาได้รู้จักกับนางเทียมน้อย เนาวโชติ จึงมีบุตรชายคือ [[จงรัก จันทร์คณา]] เมื่อออกจากมหาวิทยาลัยได้ทำอาชีพบอกบทละครอยู่หลังฉาก และเริ่มแต่งบทละครเรื่อง "ทะแกล้วทหารสามเกลอ" ขึ้นเป็นเรื่องแรก ก็ได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี จนได้เป็นผู้แต่งบทละครเอง กำกับการแสดงเอง และได้ใช้นามปากกา "พรานบูรพ์" เป็นครั้งแรก เมื่อเขียนเรื่อง "เหยี่ยวทะเล"


[[ภาพ:จันทโรภาส.jpg|thumb|150px|คณะละครจันทโรภาส]]
[[ภาพ:จันทโรภาส.jpg|thumb|150px|คณะละครจันทโรภาส]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:34, 12 พฤษภาคม 2551

ไฟล์:Pranboon.jpg
หุ่นแสดงของพรานบูรพ์ ที่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย

พรานบูรพ์ หรือ นายจวงจันทร์ จันทร์คณา นักแต่งเพลงไทย เป็นคนแรกผู้ปฏิรูปรูปแบบเพลงไทย จากท่วงทำนองเพลงไทยเดิมที่มีลูกเอื้อนให้มีลักษณะสากลยิ่งขึ้น อาจกล่าวว่า พรานบูรพ์คือผู้ริเริ่มเพลงไทยสากลก็ได้ มีผลงานสร้างชื่อเสียงคือ ละครร้องเรื่อง "จันทร์เจ้าขา" และ "โรสิตา"

ประวัติ

นายจวงจันทร์ จันทร์คณา เป็นบุตรของหลวงราชสมบัติ(จันทร์) และนางสร้อย เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2444 ที่จังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากบิดาเป็นข้าราชการ ซึ่งต้องโยกย้ายไปรับราชการตามต่างจังหวัดต่างๆ เข้าเรียนหนังสือที่จังหวัดราชบุรี ต่อมาจึงย้ายไปอยู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เรียนไม่สำเร็จเพราะสนใจในด้านการประพันธ์และดนตรีมากกว่า

จวงจันทร์ จันทร์คณา สมรสกับนางศรี จันทร์คณา มีบุตรและธิดา ดังนี้ นายจารุ จันทร์คณา(ถึงแก่กรรม) นางสาวจุไร จันทร์คณา(ถึงแก่กรรม) นางสาวจามรี จันทร์คณา และนางสาวจริยา จันทร์คณา ต่อมาได้รู้จักกับนางเทียมน้อย เนาวโชติ จึงมีบุตรชายคือ จงรัก จันทร์คณา เมื่อออกจากมหาวิทยาลัยได้ทำอาชีพบอกบทละครอยู่หลังฉาก และเริ่มแต่งบทละครเรื่อง "ทะแกล้วทหารสามเกลอ" ขึ้นเป็นเรื่องแรก ก็ได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี จนได้เป็นผู้แต่งบทละครเอง กำกับการแสดงเอง และได้ใช้นามปากกา "พรานบูรพ์" เป็นครั้งแรก เมื่อเขียนเรื่อง "เหยี่ยวทะเล"

ไฟล์:จันทโรภาส.jpg
คณะละครจันทโรภาส

พรานบูรพ์ได้ดัดแปลงเพลงไทยเดิมที่มีลูกคู่ร้องรับ มาสู่แบบสากล โดยที่ทำนองเพลงที่ใช้กับบทละครร้องยุคนั้น มีลูกคู่ยืดยาดเกินควร จึงใส่เนื้อร้องเต็มหรือตัดให้กระชับแทนลูกคู่ใช้ดนตรีคลอ โดยใช้เครื่องดนตรีฝรั่งบรรเลงแทนเครื่องพิณพาทย์ลาดตะโพนฉับแกระ เป็นที่นิยมกันมาก ต่อมาได้จัดตั้งคณะละครชื่อ "ศรีโอภาส" ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "จันทโรภาส" ละครที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือเรื่อง "จันทร์เจ้าขา" ซึ่งต่อมาได้ถ่ายทำเป็นภาพยนตร์ เมื่อ พ.ศ. 2499 แสดงนำโดยเจือ จักษุรักษ์, สายสนม นางงามเพชรบุรี , น้อย จันทร์คณา

พรานบูรพ์ เป็นผู้ริเริ่มทำบทพากย์ภาพยนตร์ การพากย์ในยุคแรกเป็นการเล่าเรื่องหน้าจอให้คนฟังก่อนหนังฉาย ต่อมาเป็นการพากย์แบบโขน ให้แก่หนังเรื่องรามเกียรติ์ หนังอินเดีย และต่อมาก็เป็นการพากย์แบบปัจจุบัน มีดนตรีประกอบ ภาพยนตร์เรื่องแรกที่พากย์แบบปัจจุบัน คือเรื่อง"อาบูหะซัน" มีทิดเขียว (สิน สีบุญเรือง) เป็นผู้พากย์

พรานบูรพ์เสียชีวิต เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2519 อายุได้ 74 ปี พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย จังหวัดนครปฐม ได้ปั้นหุ่นของพรานบูรพ์จัดแสดงไว้เพื่อเป็นเกียรติ

ผลงาน

บทภาพยนตร์

พรานบูรพ์ (ซ้าย) ถ่ายภาพคู่กับแก้ว อัจฉริยะกุล

กำกับภาพยนตร์

ประพันธ์เพลง

แหล่งข้อมูลอื่น