ข้ามไปเนื้อหา

พิพิธภัณฑ์โบราณคดีอียิปต์พีทรี

พิกัด: 51°31′25″N 0°7′59″W / 51.52361°N 0.13306°W / 51.52361; -0.13306
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์โบราณคดีอียิปต์พีทรี
พิพิธภัณฑ์โบราณคดีอียิปต์พีทรี และห้องสมุดวิทยาศาสตร์, แมเลซแพลซ
แผนที่
ก่อตั้งค.ศ. 1892 (1892)
ที่ตั้งลอนดอน
พิกัดภูมิศาสตร์51°31′25″N 0°7′59″W / 51.52361°N 0.13306°W / 51.52361; -0.13306
ขนาดผลงานมากกว่า 80,000 ชิ้น
เว็บไซต์Official website

พิพิธภัณฑ์โบราณคดีอียิปต์พีทรี เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์และคอลเล็กชันของยูนิเวอร์ซิตีคอลลิจลันเดินในลอนดอน เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรักษาโบราณวัตถุมากกว่า 80,000 ชิ้นและจัดอยู่ในกลุ่มโบราณวัตถุชั้นนำของโลกจากอียิปต์และซูดาน[1]

ประวัติ

[แก้]
ส่วนบนของรูปสลักสตรีชาวอียิปต์และสามีของเธอจากช่วงสมัยราชวงศ์ที่สิบแปด จากชุดสะสมของอะมีเลีย เอดเวิดส์ ปัจจุบันตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์พีทรี

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์ทรัพยากรการสอนสำหรับภาควิชาโบราณคดีอียิปต์และนิรุกติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคอลเลจ ในเวลาเดียวกันกับที่แผนกนี้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1892[2] ชุดสะสมในช่วงแรกเริ่มต้นได้รับการบริจาคโดยนักเขียนอะมีเลีย เอดเวิดส์[3][4] วิลเลียม แมตทิว ฟลินเดอส์ พีทรี ซึ่งเป็นศาสตราจารย์คนแรกได้ทำการขุดค้นที่สำคัญหลายครั้ง และในปี ค.ศ. 1913 พีทรีได้ขายชุดสะสมโบราณวัตถุของอียิปต์ให้กับมหาวิทยาลัยคอลเลจ สร้างชุดสะสมโบราณวัตถุอียิปต์ของฟลินเดอส์ พีทรี และเปลี่ยนพิพิธภัณฑ์ให้เป็นหนึ่งในคอลเล็กชันชั้นนำนอกประเทศอียิปต์ โดยชุดสะสมดังกล่าวจัดแสดงครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1915[5] พีทรีได้ขุดค้นสถานที่สำคัญหลายสิบแห่งในเส้นทางอาชีพของเขา รวมถึงสุสานสมัยโรมันที่ฮาวารา[6] ซึ่งมีชื่อเสียงจากภาพเหมือนมัมมี่ที่สวยงามในรูปแบบโรมันคลาสสิก[7][8] อะมาร์นา ซึ่งเมืองของฟาโรห์อะเคนอาเตน[9] และพีระมิดแท้แห่งแรกที่ไมดุม ซึ่งเขาได้ค้นพบหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับการทำมัมมี่[10]

ของสะสมและห้องสมุดได้รับการจัดไว้ในห้องจัดแสดงภายในอาคารหลักของมหาวิทยาลัย และหนังสือนำเที่ยวได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1915 ในช่วงแรก ผู้เข้าชมคอลเลกชั่นเป็นนักศึกษาและนักวิชาการ ซึ่งไม่ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม พีทรีได้เกษียณจากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) ในปี ค.ศ. 1933[11] ถึงแม้ว่าผู้สืบทอดของเขาจะยังคงเพิ่มชุดสะสมต่างๆ ต่อไป โดยขุดในส่วนอื่นๆ ของอียิปต์และซูดาน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939–1945) ของสะสมได้รับการบรรจุและย้ายออกจากลอนดอนเพื่อความปลอดภัย และในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1950 ก็ได้มีการย้ายไปยังที่เป็นคอกม้าเก่า ซึ่งยังคงอยู่ติดกับห้องสมุดวิทยาศาสตร์ ดี.เอ็ม.เอส วัตสัน ของยูซีแอล

อ้างอิง

[แก้]
  1. "UCL Petrie Museum Online Catalogue". UCL Petrie Museum (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-20. สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
  2. "UCL: The Petrie Museum of Egyptian Archaeology". Museum Mile (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-02. สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
  3. Moon, Brenda E. (2006). More Usefully Employed: Amelia B. Edwards, Writer, Traveller and Campaigner for Ancient Egypt. London: Egypt Exploration Society. ISBN 9780856981692. OCLC 850990713.
  4. Willey, Russ. "Rehumanising the past. Petrie Museum, behind Gower Street, Bloomsbury". Hidden London. London, ENG. สืบค้นเมื่อ 24 November 2014.
  5. Stevenson 2015, p. 15.
  6. Stevenson 2015.
  7. "Ancient Faces: Mummy Portraits from Roman Egypt". The Met. February 8, 2000. สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
  8. Picton, Janet; Quirke, Stephen; Roberts, Paul C., บ.ก. (2007). Living Images: Egyptian Funerary Portraits in the Petrie Museum. Walnut Creek, CA: Left Coast Press. ISBN 9781598742510. OCLC 878764269.
  9. "The Central City - Amarna The Place". Amarna Project. สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
  10. UCL. "UCL – London's Global University". UCL CULTURE (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
  11. "Accessing Virtual Egypt".

บรรณานุกรม

[แก้]