พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัด
พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัด (ญี่ปุ่น: 県立博物館; โรมาจิ: kenritsu hakubutsukan) คือ พิพิธภัณฑ์ที่เชี่ยวชาญในด้านสิ่งสะสมในท้องถิ่นของจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น
พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดถือกำเนิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นยุคหลังสงคราม และเนื่องจากพิพิธภัณฑ์เหล่านี้มีเพิ่งถือกำเนิดในยุคใกล้ สิ่งสะสมในพิพิธภัณฑ์จึงมักไม่มีศิลปะญี่ปุ่นยุคเก่า โดยเน้นไปที่ศิลปะยุคเมจิ ศิลปะศตวรรษที่ 20 และศิลปะร่วมสมัย เป็นหลัก พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดส่วนใหญ่จัดแสดงสิ่งสะสมเกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์โดยเน้นที่จังหวัดของตนเป็นหลัก แต่สามารถจัดแสดงผลงานและสิ่งสะสมจากนอกจังหวัดได้ควบคู่ไปกับสิ่งสะสมในท้องถิ่นของจังหวัด ซึ่งมักจะเป็นศิลปะร่วมสมัยจากศูนย์วัฒนธรรมเช่นที่โตเกียว และศิลปะต่างประเทศจากนอกประเทศญี่ปุ่น ตัวอย่างเช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะประจำจังหวัดนางาซากิ ที่เชี่ยวชาญด้านศิลปะที่เกี่ยวข้องกับนครนางาซากิ ก็เป็นแหล่งสะสมภาพจิตรกรรมจากประเทศสเปนที่เป็นของนักสะสมชาวญี่ปุ่น
พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดมักจะมีขนาดใหญ่ และบางแห่งมีความโดดเด่นในด้าน สถาปัตยกรรมของตัวพิพิธภัณฑ์เองมากกว่าสิ่งสะสมที่จัดแสดงไว้ คูนิโอะ มาเอกาวะสถาปนิกที่มีชื่อเสียงออกแบบทั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปะประจำจังหวัดคูมาโมโตะในนครคูมาโมโตะ และพิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดไซตามะที่เขตโอมิยะ นครไซตามะ[1] [2]
รายชื่อพิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัด
[แก้]ตัวอย่างของพิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดได้แก่:
- พิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นเผาประจำจังหวัดไอจิ
- พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดอาโอโมริ
- พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์จังหวัดฟูกูอิ
- พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจังหวัดฟูกูอิ
- พิพิธภัณฑ์ศิลปะประจำจังหวัดฟูกูโอกะ
- พิพิธภัณฑ์ศิลปะประจำจังหวัดฟูกูชิมะ
- พิพิธภัณฑ์ศิลปะประจำจังหวัดฮิโรชิมะ
- พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ประจำจังหวัดฮิโรชิมะ
- พิพิธภัณฑ์ศิลปะประจำจังหวัดเฮียวโงะ
- พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ประจำจังหวัดอิบารากิ
- พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ประจำจังหวัดอิชิกาวะ
- พิพิธภัณฑ์ศิลปะประจำจังหวัดอิชิกาวะ
- พิพิธภัณฑ์ศิลปะและหัตถกรรมดั้งเดิมประจำจังหวัดอิชิกาวะ
- พิพิธภัณฑ์ศิลปะประจำจังหวัดโคจิ
- พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ประจำจังหวัดโคจิ
- พิพิธภัณฑ์เนินฝังศพโบราณประจำจังหวัดคูมาโมโตะ
- พิพิธภัณฑ์ศิลปะประจำจังหวัดคูมาโมโตะ
- พิพิธภัณฑ์ศิลปะประจำจังหวัดมิยาซากิ
- พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติและประวัติศาสตร์ประจำจังหวัดมิยาซากิ
- พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ประจำจังหวัดโออิตะ
- พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดโอกายามะ
- พิพิธภัณฑ์ศิลปะจังหวัดโอกายามะ
- พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดโอกินาวะ
- พิพิธภัณฑ์ชิกัตสึ อาซูกะประจำจังหวัดโอซากะ
- เรเมคัง ศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ประจำจังหวัดคาโงชิมะ
- พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดซางะ
- พิพิธภัณฑ์ปราสาทนาโงยะประจำจังหวัดซางะ
- พิพิธภัณฑ์เนินฝังศพโบราณซากิตามะประจำจังหวัดไซตามะ
- พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดโทจิงิ
- พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ประจำจังหวัดโทจิงิ
- พิพิธภัณฑ์จังหวัดโทกูชิมะ
- พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดทตโตริ
- พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดวากายามะ
- พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดยามางาตะ
- พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดยามางูจิ
- พิพิธภัณฑ์ศิลปะประจำจังหวัดยามางูจิ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Reynolds, Jonathan M. (2001). Maekawa Kunio and the emergence of Japanese modernist architecture. Berkeley: University of California Press. ISBN 0-520-21495-1. OCLC 43751567.
- ↑ "Kunio Maekawa". Japan Bullet (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-06-16.[ลิงก์เสีย]