พระองค์เจ้าทับทิม
พระองค์เจ้าทับทิม | |
---|---|
พระอัครมเหสี | |
พระสวามี | สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ |
ราชวงศ์ | บ้านพลูหลวง |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี |
พระมารดา | พระสนมไม่ปรากฏนาม |
ศาสนา | พุทธ |
พระองค์เจ้าทับทิม, เจ้าติ่ง[1] หรือออกพระนามว่า เจ้าครอกจันทบูร เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี และเป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดา พระองค์เจ้าทับทิมมีพระชนม์ชีพยาวนานจนถึงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระองค์เสด็จลี้ภัยไปเมืองจันทบุรี และได้รับการอนุเคราะห์จากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและประทับอยู่ในราชสำนักธนบุรี[2]
พระประวัติ
[แก้]พระองค์เจ้าทับทิม เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กจากทั้งหมดห้าพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี ประสูติแต่พระสนมไม่ปรากฏพระนาม[1][3][4] ทั้งนี้พระมารดาของพระองค์เป็นเครือญาติของพระยาจันทบุรี[5]
ต่อมาพระองค์เจ้าทับทิมได้ถวายตัวแก่สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดา เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในตำแหน่งพระอัครมเหสี[6] แต่ไม่ปรากฏพระนามพระราชโอรส-ธิดาด้วยกัน[7]
ในช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระองค์เจ้าทับทิมพาพวกข้าไทอพยพลี้ภัยสงครามไปเมืองจันทบุรี เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไปตีเมืองจันทบุรีก็ทรงพบพระองค์เจ้าทับทิม แล้วทรงรับมาไว้ในพระอุปการะ ดังปรากฏใน พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ความว่า[8]
"...ในเขตแดนแว่นแคว้นสยามประเทศ เหตุว่าหาเจ้าแผ่นดินจะปกครองบมิได้ เหมือนดุจสัตถันดรกัล์ปและทุพภิกขันดรกัล์ป และพระราชวงศานุวงศ์ ซึ่งเหลืออยู่พม่ามิได้เอาไปนั้น ตกอยู่ ณ ค่ายโพธิ์สามต้นก็มีบ้าง ที่หนีไปเมืองอื่นนั้นก็มีบ้าง และเจ้าฟ้าสุริยา 1 เจ้าฟ้าพินทวดี 1 เจ้าฟ้าจันทวดี 1 พระองค์เจ้าฟักทอง 1 ทั้ง 4 พระองค์นี้ เป็นราชบุตรีพระพุทธเจ้าหลวงในพระบรมโกศ และเจ้ามิตรบุตรีกรมพระราชวัง 1 หม่อมเจ้ากระจาดบุตรีกรมหมื่นจิตรสุนทร 1 หม่อมเจ้ามณีบุตรีกรมหมื่นเสพภักดี 1 หม่อมเจ้าฉิมบุตรีเจ้าฟ้าจีด 1 เจ้าทั้งนี้ตกอยู่กับพระนายกอง ณ ค่ายโพธิ์สามต้น อนึ่งพระองค์เจ้าทับทิมบุตรีสมเด็จพระอัยกานั้น พวกข้าไทพาหนีออกไป ณ เมืองจันทบูร เจ้าตากก็สงเคราะห์รับเลี้ยงดูไว้..."
ภายหลังสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพตีค่ายโพธิ์สามต้นแตก อันเป็นที่สิ้นสุดสงครามกู้กรุงศรีอยุธยา พระองค์ก็ทรงอุปการะเจ้าหญิงอยุธยามาไว้ในราชสำนักธนบุรี และมีรับสั่งให้จัดที่ประทับแก่เจ้านายตามสมควร[9] ดังปรากฏใน พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ความว่า[8]
"...อนึ่ง ซึ่งพระขัตติยวงศ์ครั้งกรุงเก่านั้น บรรดาเจ้าหญิงทรงพระกรุณาโปรดเลี้ยงไว้ในพระราชวัง และเจ้าฟ้าสุริยา เจ้าฟ้าจันทวดี สองพระองค์นั้นดับสูญสิ้นพระชนม์ ยังอยู่แต่เจ้าฟ้าพินทวดี พระองค์เจ้าฟักทอง พระองค์เจ้าทับทิม ซึ่งเรียกว่าเจ้าครอกจันทบูรนั้น และเจ้ามิตร บุตรีกรมพระราชวัง โปรดให้ชื่อ เจ้าประทุม หม่อมเจ้ากระจาด บุตรีกรมหมื่นจิตรสุนทร โปรดให้ชื่อ เจ้าบุปผา กับหม่อมเจ้าอุบล บุตรีกรมหมื่นเทพพิพิธ หม่อมเจ้าฉิม บุตรีเจ้าฟ้าจีด ทั้งสี่องค์นี้ทรงพระกรุณาเลี้ยงเป็นห้าม..."
พระองค์เจ้าทับทิมสิ้นพระชนม์ลงเมื่อใด ไม่ปรากฏหลักฐาน
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระองค์เจ้าทับทิม | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 คำให้การขุนหลวงหาวัด (ฉบับหลวง) ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 361
- ↑ "พระราชวงศ์และตระกูลอันเป็นเชื้อพระวงศ์". สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 622
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน, หน้า 420
- ↑ "สงครามกู้อิสรภาพจากพม่า". สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน, หน้า 421
- ↑ คำให้การขุนหลวง วัดประดู่ทรงธรรม, ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง, หน้า 280
- ↑ 8.0 8.1 ปรามินทร์ เครือทอง (7 มกราคม 2563). ""ท้องกับเจ๊ก" การเมืองราชสำนักฝ่ายใน เรื่องซุบซิบเจ้าหญิงอยุธยาในพระเจ้าตากสินฯ". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ กรุงเทพฯ มาจากไหน ?, หน้า 70
- บรรณานุกรม
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน ?. กรุงเทพฯ : มติชน, 2548. 216 หน้า. ISBN 974-323-436-5
- ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2553. 536 หน้า. ISBN 978-616-508-073-6
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563. 488 หน้า. ISBN 978-616-514-650-0